ศปมผ.จมเรือประมง 8 ลำ ในทะเลเพชรบุรี เพื่อเป็นปะการังเทียม ฟื้นฟูจำนวนทรัพยากรสัตว์น้ำ หลังเยียวยา รับซื้อจากชาวประมงที่ใช้เครืองมือผิดกม.ที่ต้องการจะหันไปประกอบอาชีพอื่น 48 ลำ จมไปแล้ว32ลำ ที่ปัตตานี 2 ลำ สุราษฎร์ธานี 30 ลำ ในบริเวณเกาะเต่าและเกาะพะงัน และ สัปดาห์นี้ จมที่จังหวัดเพชรบุรี 16 ลำ

1

ศูนย์บัญชาการแก้ไขปัญหาการทำการประมงผิดกฎหมาย (ศปมผ.) ได้ทำการจมเรือประมงจำนวน 8 ลำ ในทะเลบริเวณ จ.เพชรบุรี(ห่างจากฝั่งประมาณ 12 ไมล์ทะเล)

ทั้งนี้เรือประมง 8 ลำนี้ เป็นเรือประมงที่รัฐบาลรับซื้อจากผู้ประกอบการประมงที่ใช้เครื่องมือประเภทอวนรุนที่นับเป็นเครื่องมือที่ มีประสิทธิภาพในการทำการประมงสูง ส่งผลให้ทรัพยากรสัตว์น้ำลดจำนวนลงเป็นอย่างมาก

6

ตามคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 24/2558 เรื่อง การแก้ไขปัญหาการทำการประมงผิดกฎหมายขาด การรายงานและรายการควบคุม เพิ่มเติม สั่ง ณ วันที่ 5 สิงหาคม 2558 กำหนดให้เครื่องมืออวนรุนเป็นอุปกรณ์เครื่องมือทำการประมงชนิดหนึ่งที่ผิดกฎหมาย เป็นผลให้เรืออวนรุนทั้งหมดต้องหยุดจับสัตว์น้ำตั้งแต่วันที่ 6 สิงหาคม 2558 เป็นต้นมา

5

ซึ่งแต่เดิมอวนรุนที่ได้รับอาชญาบัตรจากกรมประมง อย่างถูกต้อง จำนวน 341 ลำ ได้รับความเดือดร้อนจากคำสั่งดังกล่าว รัฐบาลจึงได้กำหนดมาตรการบรรเทาความเดือดร้อนใน 3 ทางเลือก ได้แก่

4

3

การช่วยเหลือที่ 1 ชดเชยค่าทำการประมงให้จำนวน 53 วัน รวมเป็นเงิน 47.7 ล้านบาท

การช่วยเหลือที่ 2 ช่วยเหลือสนับสนุน ให้มีการเปลี่ยนเครื่องมือทำการประมงให้ถูกกฎหมาย โดยมีมติคณะรัฐมนตรี ให้ ธนาคารออมสิน จัดทำโครงการ “ประมงไทยก้าวไกลสู่สากล” ปล่อยสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำในวงเงิน 500 ล้านบาท ให้ชาวประมงไปจัดซื้อเครื่องมือทำประมงที่ถูกกฎหมาย ซึ่งมีเรือที่เข้าร่วม มาตรการนี้ จำนวน 297 ลำ (แบ่งเป็นเรือที่ใช้เครื่องมือ อวนรุนเคย 192 ลำ , เรืออวนลาก 105 ลำ)

การช่วยเหลือที่ 3 สำหรับชาวประมงที่ต้องการจะหันไปประกอบอาชีพอื่น รัฐบาลมีการช่วยเหลือด้วยการรับซื้อเรือคืนจากชาวประมงที่ต้องการจะหันไปประกอบอาชีพอื่น รัฐบาลมีการช่วยเหลือด้วยการรับซื้อเรือคืนจากชาวประมง ในราคาร้อยละ 50 ของราคาประเมินเรือ ไม่คิดค่าเครื่องยนต์และอุปกรณ์อื่น ซึ่งมีเรือที่เข้าร่วมมาตรการนี้จำนวน 48 ลำ

จากแนวทางดังกล่าวมีเรือเข้าร่วมโครงการในมาตรการที่ 3 จำนวน 48

ลำ กรมประมงได้นำเรือที่จัดซื้อคืนจากชาวประมง ไปจัดทำปะการังเทียม ใช้วงเงินในการจัดซื้อเหลือ จำนวน 139 ล้านบาท จัดจ้างเอกชนมาทำความสะอาดและเทซีเมนต์เพื่อใช้เป็นน้ำหนักถ่วงเรือ จำนวน 5.7 ล้านบาท

โดยเริ่มทำการจมเรือประมงตั้งแต่วันที่ 15 ตุลาคม 2559 จนถึงวันที่ 31 ตุลาคม 2559

จมไปแล้วจำนวน 32 ลำ และจะทำการจมเรือเพิ่มเติมในระหว่างวันที่ 7 พฤศจิกายน 2559 จนถึง 15 พฤศจิกายน 2559 อีกจำนวน 16ลำ

แนวทางการจมเรือได้กำหนดพื้นที่ที่จัดวางปะการังเทียมและจมเรือ ได้แก่ จังหวัดปัตตานี 2 ลำ จังหวัดสุราษฎร์ธานี 30 ลำ ในบริเวณเกาะเต่าและเกาะพะงัน และจังหวัดเพชรบุรีจำนวน 16 ลำ

ขั้นตอนในการจมเรือประมงเพื่อนำไปจัดทำปะการังเทียม

– ดำเนินการถอดอุปกรณ์ เช่น เครื่องยนต์ ใบจักร พังงา ฯลฯ

– เทซีเมนต์ โดยคำนวณซีเมนต์ที่ใช้เป็นสัดส่วนต่อน้ำหนักของเรือ

– ลากเรือประมงเข้าสู่จุดจมเรือ

– ปล่อยน้ำเข้าเรือ

ทั้งนี้การลดจำนวนประเภทเรืออวนรุน คาดว่าจะทำให้จำนวนทรัพยากรสัตว์น้ำทางทะเลในน่านน้ำประเทศไทยจะมีความอุดมสมบูรณ์เพิ่มมากขึ้น เป็นการรักษาทรัพยากรสัตว์น้ำให้ยั่งยืนต่อไป อันเป็นแนวทางที่ ศปมผ. จะต้องเดินหน้าแก้ปัญหาการทำการประมงผิดกฎหมายอย่างเต็มที่ต่อไป

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน