ใบไม้เทียมรักษ์โลก

คอลัมน์ เจ๊าะแจ๊ะวิทยาศาสตร์

ใบไม้เทียมรักษ์โลกผศ.มีเนศ ซิงห์ หัวหน้าทีมวิจัยจากมหาวิทยาลัยอิลลินอยส์ สหรัฐอเมริกา เปิดเผยโครงการออกแบบและพัฒนาเทคโนโลยีด้านสิ่งแวดล้อม มาในรูปแบบใบไม้สังเคราะห์ กว้าง 20 เซนติเมตร และยาว 170 เซนติเมตร

สามารถดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และเปลี่ยนเป็นพลังงาน โดยคาดว่าจะดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ได้มากกว่าพืชธรรมชาติถึง 10 เท่า และใบไม้เทียม 360 ใบ จะผลิตก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์เกือบครึ่งตัน ต่อวัน ซึ่งนำไปสร้างเป็นพลังงานสังเคราะห์ได้

ใบไม้เทียมรักษ์โลก

โครงการใบไม้สังเคราะห์นี้ยังอยู่ระหว่างการพัฒนา และทดสอบ โดยใช้ถังอัดความดันบรรจุก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ เพื่อตรวจสอบ ความสามารถในการดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ว่าทำได้ดีหรือไม่ หากประสบความสำเร็จ ใบไม้สังเคราะห์จะทำงานดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์จากแหล่ง ที่เบาบางกว่า เช่น อากาศ และก๊าซจากปล่องควัน ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

สำหรับกลไกการทำงานนั้น ภายในใบไม้เทียมมีแคปซูล ที่ทำจากเยื่อเลือกผ่านของสารประกอบควอเตอร์นารีแอมโมเนียม และน้ำ กระบวนการเมมเบรนจะทำให้น้ำด้าน ในระเหยออกไปเมื่อได้รับความร้อนจากแสงแดด

เมื่อน้ำไหลผ่านเมมเบรนก็จะดึงก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากอากาศ หน่วยสังเคราะห์แสงสังเคราะห์ในแคปซูลที่ เคลือบด้วยตัวเร่งปฏิกิริยาจะแปลงก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ เป็นก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ นำไปใช้สร้างเชื้อเพลิงสังเคราะห์ต่างๆ

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน