ไขความลับถ่านไฟฉายสร้างนักประดิษฐ์รุ่นใหม่

คอลัมน์ ไอคิวทะลุฟ้า

นักประดิษฐ์รุ่นใหม่ถ่านไฟฉาย แหล่งกำเนิดพลังงานขนาดเล็กที่หาซื้อง่าย เพื่อนำมาใส่อุปกรณ์ต่างๆ แต่ยังมีหลายคนที่ไม่รู้ว่า ในถ่านไฟฉายนั้นมีส่วนประกอบอะไร และเมื่อถ่านนั้นหมดพลังงานควรมีวิธีจัดการอย่างไร เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาต่อสิ่งแวดล้อม

บริษัท พานาโซนิค ซิว เซลส์ (ประเทศไทย) จำกัด จัดกิจกรรมส่งเสริมความรู้ความเข้าใจเพื่อให้เยาวชนรู้จักใช้และเข้าใจวิธีการทิ้งถ่านไฟฉาย ที่โรงเรียนบ้านคลองสิบแปด อ.หนองใหญ่ จ.ชลบุรี ส่วนหนึ่งของโครงการพานาโซนิค มอบ 10,000 หลอดไฟทั่วไทย ปันรอยยิ้มสู่ชุมชนจัดขึ้นในโอกาสครบรอบการก่อตั้ง 100 ปี ของพานาโซนิคในประเทศญี่ปุ่น

โดยมี มร.ฮิเดคาสึ อิโตะ กรรมการผู้จัดการบริษัท เข้าร่วมกิจกรรม มุ่งเน้นให้เยาวชนเรียนรู้เรื่องถ่านไฟฉาย ตั้งแต่ส่วนประกอบ ขั้นตอนการทำงานเพื่อให้เกิดพลังงาน การกำจัดที่ถูกวิธีเป็นมิตร ต่อสิ่งแวดล้อม รวมไปถึงเพื่อสร้างแรงบันดาลใจในการเป็นนักประดิษฐ์รุ่นใหม่

..เนาวรัตน์ หิงห้อยทอง ครูชำนาญการพิเศษ บอกเล่าว่ากิจกรรมในวันนี้ทำให้เด็กๆ รู้จักและเห็นคุณค่าของถ่านไฟฉายมากยิ่งขึ้นจากการได้ลองประกอบถ่านไฟฉายเอง โดยใช้ชุดอุปกรณ์ของพานาโซนิค ซึ่งพี่ๆ ทีมงานเล่าถึงกระบวนการ

ขั้นตอนวิธีทำ การใช้และทิ้งอย่างถูกต้อง อาทิ ถ่านไฟฉายนั้นเป็นอุปกรณ์เปลี่ยนพลังงานเคมีเป็นพลังงานไฟฟ้าที่มีพัฒนาการมาตั้งแต่ศตวรรษที่ 18 วิธีทิ้งที่ถูกต้องควรเก็บรวบรวมถ่านไฟฉายใช้แล้วไว้ในถุงพลาสติกหรือถุงดำ พร้อมเขียนข้อความว่าขยะพิษหรือถ่านไฟฉาย ไว้ข้างถุง เจ้าหน้าที่จะจัดเก็บอย่างถูกต้อง หรือนำไปทิ้งในภาชนะรองรับขยะอันตราย

น้องกำปั้น ด..พรเทพ นายางเจริญ เล่าว่าปกติใช้ถ่านไฟฉายเป็นประจำส่วนใหญ่จะนำมาใส่ไฟฉายเพื่อส่องในเวลากลางคืนตอนเดินไปห้องน้ำ หรือนำมาใส่โคมไฟเพื่อใช้อ่านหนังสือแต่ไม่เคยรู้ว่าในถ่านไฟฉายประกอบด้วยอะไรบ้างที่ทำให้เกิดพลังงาน

กิจกรรมครั้งนี้ช่วยสอนให้รู้ว่าในถ่านไฟฉายนั้นประกอบไปด้วยสารประกอบอย่าง แมงกานีสไดออกไซด์ ดังนั้นการใช้ถ่านไฟฉายแต่ละครั้ง ควรใช้เมื่อยามจำเป็นและถอดถ่านไฟฉายออกเสมอเมื่อไม่ใช้ เพื่อช่วยประหยัดพลังงาน หรือถ้าพลังงานหมดก็ควรถอดออกทันที เพื่อป้องกันไม่ให้อุปกรณ์ที่ใช้ถ่านไฟฉายนั้นเสียหาย

ด้าน น้องพัทร ด..ปภิญญา พร้อมญาติ เล่าว่าสิ่งที่ได้จากการเรียนรู้ครั้งนี้คืออุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆ ที่เคยเห็นในชีวิตประจำวันนั้นมีถ่านไฟฉายเป็นแหล่งพลังงานเกือบทั้งหมด รวมถึงอันตรายของสารเคมีที่อยู่ภายในถ่าน หากกำจัดไม่ถูกวิธีอาจทำให้เกิดการปนเปื้อนทำลายสิ่งแวดล้อม และเกิดอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตต่างๆ เมื่อมีการสะสมเป็นเวลานาน

ส่วน น้องมิก ด..ณัฏฐากร เหล่าหวายนอก เผยว่าชอบประดิษฐ์สิ่งต่างๆ อยู่แล้ว กิจกรรมครั้งนี้ช่วย สร้างแรงบันดาลใจให้ตัวเองที่ใฝ่ฝันอยากจะเป็น นักวิทยาศาสตร์ เพราะจะได้ช่วยคิดค้นนวัตกรรมมา สร้างให้ทุกคนบนโลกอยู่อย่างสะดวกสบายมากขึ้น

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน