ข้าวแช่ (ตอนแรก) : รู้ไปโม้ด

โดย น้าชาติ ประชาชื่น

ข้าวแช่ – น้าชาติ อยากรู้ข้าวแช่มีความเป็นมาจากที่ไหน สงสัยว่า กินหน้าอื่นได้ไหม ทำไมต้องแค่หน้าร้อน

ป้อมแป้ง

ตอบ ป้อมแป้ง

ถามมาเข้ากับหน้าร้อน (มาก ไก่ ล้านตัว) ที่มีอาหารยอดนิยมประจำฤดู เรียกชื่อว่า ข้าวแช่

เว็บไซต์ศิลปวัฒนธรรม www.silpa-mag.com ปรากฏบทความข้าวแช่ อาหารมอญของติดสินบนเทวดาเพื่อขอพรให้ได้ลูก ก่อนมาเป็นอาหารชาววังอ้างอิงหนังสือ ข้างสำรับมอญ โดย องค์ บรรจุน ว่า ข้าวแช่มักเป็นที่รู้จักกันว่าเป็นตำรับอาหารชาววัง

ข้าวแช่

เจ้าจอมมารดากลิ่น ในรัชกาลที่ 4

ซึ่งปัจจุบันหากินได้ไม่ยากตามตลาดทั่วไป ต่างจากในอดีตที่มักจะมีให้กินกันเฉพาะช่วงเทศกาลสงกรานต์ และมีความเป็นมาเกี่ยวเนื่องกับความเชื่อของชาวมอญว่าด้วยการมีทายาทสืบสกุล ก่อนจะมาเป็นที่นิยมในรั้วในวัง

องค์ บรรจุน ผู้รู้เรื่องมอญเล่าว่า ข้าวแช่เป็นอาหารมอญที่ไม่ได้ทำกินกันทั่วไป แต่เริ่มจากการปรุงขึ้นเป็นพิเศษเพื่อบูชาเทวดา ขอพรให้มีทายาทสืบสกุล ต่อมาได้ยึดถือเป็นประเพณี แต่ทำกันเฉพาะเทศกาลสงกรานต์ ตามตำนานที่ผูกพันกับวันมหาสงกรานต์

เรื่องราวของตำนานดังกล่าวมีอยู่ว่า เศรษฐีผู้หนึ่งไม่มีบุตร รู้สึกอับอายชาวบ้านและทุกข์ใจด้วยยังขาดผู้สืบทอดมรดก ได้บวงสรวงพระอาทิตย์และพระจันทร์แต่ก็ไม่ได้ผล อยู่มาวันหนึ่งในหน้าร้อน ผู้คนทั่วทั้งชมพูทวีปพากันเฉลิมฉลองเทศกาลวันปีใหม่

ข้าวแช่

อันถือเป็นวันมหาสงกรานต์ เศรษฐีได้พาบริวารไปยังต้นไทรใหญ่ริมน้ำซึ่งเป็นที่อยู่ของรุกขเทวดาทั้งหลาย นำข้าวสารล้างน้ำ 7 ครั้ง แล้วหุงบูชารุกขเทวดาประจำต้นไทร ตั้งจิตอธิษฐานขอบุตร รุกขเทวดาจึงไปทูลขอต่อพระอินทร์ พระอินทร์จึงให้เทพบุตรจุติลงมาเป็นบุตรของเศรษฐี ชื่อว่า ธรรมบาลกุมาร

และด้วยเหตุที่การทำข้าวแช่เป็นพิธีกรรมเพื่อบูชาเทวดา การหุงข้าวจึงเต็มไปด้วยพิธีรีตอง ตั้งแต่การต้องซาวน้ำ 7 ครั้ง ต้องตั้งไฟหุงกลางลานโล่งนอกชายคาบ้าน หุงแล้วก็ต้องเอาข้าวมา ขัดเอายางข้าวออก เพื่อให้น้ำข้าวแช่ไม่ขุ่น เช่นเดียวกับน้ำที่ต้องผ่านกรรมวิธีที่พิถีพิถันอยู่หลายขั้นตอน เพื่อให้ได้น้ำที่หอมน่ารับประทาน สมกับเป็นเครื่องบูชาเทวดา

ส่วนการที่อาหารมอญเข้ามาเป็นที่นิยมในบรรดาชาววังได้นั้น องค์เล่าว่า เป็นเหตุมาจากการที่สตรีมอญเข้ามารับราชการฝ่ายใน เป็นพระมเหสี เจ้าจอมหม่อมห้ามของเจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดิน ได้นำ ข้าวแช่ขึ้นถวายเป็นเครื่องต้น ต่อมาจึงได้แพร่หลายเป็นวงกว้าง อย่างที่ องค์ได้กล่าวไว้ว่า

โดยเฉพาะอย่างยิ่งข้าวแช่ตระกูลเมืองเพชรบุรี สืบเนื่องมาจากการแปรพระราชฐานของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ไปยังพระราชวังพระนครคีรี (เขาวัง) ครั้งนั้นมีเจ้าจอมมารดาซ่อนกลิ่น เหลนเจ้าพระยามหาโยธา (เจ่ง คชเสนี) ที่หลบหนีพม่าเข้ามาสมัยธนบุรี

ได้ติดตามไปถวายงานที่พระราชวังพระนครคีรีด้วย และคาดว่าในครั้งนั้นข้าวแช่ได้รับการถ่ายทอดไปยังห้องเครื่อง บ่าวไพร่สนมกำนัลได้เรียนรู้ และแพร่หลายไปสู่สามัญชนย่านเมืองเพชรบุรีในที่สุด

เว็บไซต์เดียวกันยังมีข้อเขียนเรื่องข้าวแช่ (เปิงสงกรานต์) ของชาวรามัญ กับวิธีการกว่าจะได้ข้าวแช่คัดจากกระยานิยาย โดย .พลายน้อย ว่า ชาวรามัญเขาเรียกว่าทำบุญเปิงซงกราน คำว่าเปิงแปลว่าข้าว คำซงกรานคือสงกรานต์เรานี่เอง รวมความว่าข้าวสงกรานต์

ข้าวแช่

คำว่าข้าวสงกรานต์นี้เป็นคำที่ใช้เรียกข้าวแช่ที่จะนำไปทำบุญ ที่วัด ข้าวสงกรานต์หรือเปิงซงกรานไม่เหมือนกับข้าวแช่ที่คนทำขายตามตลาดข้าวแช่ที่ทำขายไม่ต้องมีพิธีรีตองอะไรมาก หุงข้าวตามธรรมดานี่เอง แต่ข้าวแช่ที่ทำสำหรับถวายพระในวันสงกรานต์นั้นพิธีมาก เท่าที่สอบถามจากผู้เฒ่าผู้แก่และผู้ที่เคยทำเปิงซงกราน กล่าวว่า ข้าวที่ทำเปิงซงกรานหรือข้าวแช่นี้จะต้องถึงพร้อมด้วยลักษณะเจ็ด

คือ ข้าวที่จะใช้หุงทำข้าวแช่จะต้องใช้ข้าวเปลือก 7 กำ ซ้อมถึง 7 ครั้ง เมื่อจะหุงก็ต้องซาวน้ำที่สะอาดหมดจดจนครบ 7 ครั้งด้วย และเวลาหุงถ้าจะให้บริสุทธิ์ถูกต้องตามตำรากันจริงๆ แล้วก็ต้องหุงกันกลางแจ้ง ไม่ใช่หุงกันในครัว ได้ยินมาว่าในสมัยโบราณถึงกับปักราชวัติฉัตรธงกันทีเดียว เพราะเขาถือว่าข้าวนี้เป็นข้าวสิริมงคล

ฉบับพรุ่งนี้ (1 ..) อ่านคำเฉลย ทำไมข้าวแช่มาคู่กับฤดูร้อน

[email protected]

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน