เมนูสูญหาย

คอลัมน์ เจ๊าะแจ๊ะวิทยาศาสตร์

เมนูสูญหายดร.ไซม่อน มอร์เลย์ ผู้เชี่ยวชาญด้านสรีรวิทยาระบบนิเวศ จากคณะวิจัยบริติช แอนตาร์กติก เซอร์เวย์ (บีเอเอส) ร่วมด้วย จอห์น สไปเซอร์ ศาสตราจารย์สัตววิทยาทางทะเล มหาวิทยาลัยพลิมัธ ประเทศอังกฤษ เปิดเผยผลวิจัยภัยคุกคามของสภาพอากาศเปลี่ยนแปลง และภาวะโลกร้อน

โดยวิเคราะห์จากข้อมูลการศึกษาความเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศที่มีต่อสิ่งมีชีวิตในทะเลในช่วง 30 ปีที่ผ่านมาพบว่าอุณหภูมิที่อุ่นขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้ปริมาณออกซิเจนในน้ำลดลง ไม่เว้นแม้แต่มหาสมุทรใต้ หรือที่คุ้นเคยกันในชื่อมหาสมุทรแอนตาร์กติก เป็นเหตุให้ปลาหลายสายพันธุ์มีขนาดเล็กลง ซึ่งข้อมูลย้อนกลับไปตั้งแต่ 50 ปีก่อนจนถึงปัจจุบัน

เมนูสูญหาย

ปรากฏว่าออกซิเจนในมหาสมุทรที่สำรวจมีปริมาณออกซิเจนลดลงร้อยละ 2-5 และคาดว่าปลาค็อด กับปลาแฮดด็อก ปลา 2 ชนิดที่ชาวอังกฤษนิยมนำไปทำเป็นปลาทอดในเมนูฟิชแอนด์ชิปส์ อาหารประจำชาติของอังกฤษ จะลดขนาดลงถึง 1 ใน 5 ของขนาดในปัจจุบัน ภายในปี 2593 หรืออีก 31 ปีข้างหน้า นั่นหมายความว่าเมนูที่เป็นสัญลักษณ์ของอังกฤษอาจหายไปด้วย

ทั้งนี้ หลายคนมองว่าปลามีขนาดเล็กลงไม่น่าจะกระทบต่อสายพันธุ์ แต่จริงๆ แล้วถือเป็นวิกฤตที่น่าเป็นห่วง เพราะไม่ใช่แค่ปลาที่ได้รับผลกระทบจากระดับออกซิเจนต่ำลง แต่ยังทำให้พืชและสัตว์น้ำอื่นๆ ไม่สมบูรณ์ไปด้วย เมื่อแหล่งอาหารไม่ดี การใช้ชีวิตของปลาใหญ่หลายชนิดก็แย่ลงไปด้วย จนไม่สามารถดำรงเผ่าพันธุ์ได้ในที่สุด

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน