‘ซีพีออลล์-ร.ร.ชาวนาฯ ไร่เชิญตะวัน’

มุ่งเป้าบูรณาการความรู้ใหม่สู่ชาวนา

‘ซีพีออลล์-ร.ร.ชาวนาฯ ไร่เชิญตะวัน’ – บมจ.ซีพี ออลล์ ร่วมกับโรงเรียนชาวนาพุทธเศรษฐศาสตร์ ไร่เชิญตะวัน .เชียงราย ซึ่งก่อตั้งโดย พระเมธีวชิโรดม (วุฒิชัย วชิรเมธี) หรือ .วชิรเมธี เดินหน้าโครงการเสริมสร้างทักษะและผสมผสานองค์ความรู้ให้กับชาวนาในรูปแบบต่างๆ เพื่อให้ชาวนาพึ่งตนเองได้ ดูแลชุมชนและสังคมได้

นายธานินทร์ บูรณมานิต กรรมการ ผู้จัดการและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.ซีพี ออลล์ ผู้ก่อตั้งร้านเซเว่น อีเลฟเว่น ในประเทศไทย กล่าวว่า ซีพี ออลล์ ดำเนินงานตามแผนยุทธศาสตร์สู่ความยั่งยืนมาตั้งแต่ปี 2560 ภายใต้กรอบการทำงาน 3 เสาหลัก คือ มุ่งมั่นทำธุรกิจด้วยใจที่เป็นธรรม โปร่งใสตรวจสอบได้ (Heart) มุ่งมั่นสร้างสังคมที่ยั่งยืน มีคุณภาพชีวิตที่ดี (Health) และเพื่อสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน (Home) ดังนั้นบริษัทจึงได้ดำเนินงานภายใต้ปณิธานร่วมสร้างสรรค์และแบ่งปันโอกาสให้ทุกคนมาอย่างต่อเนื่อง

‘ซีพีออลล์-ร.ร.ชาวนาฯ ไร่เชิญตะวัน’

ธานินทร์ บูรณมานิต

‘ซีพีออลล์-ร.ร.ชาวนาฯ ไร่เชิญตะวัน’

สำหรับพื้นที่ปฐมฤกษ์สำหรับโครงการนี้อย่างโรงเรียนชาวนาฯ ไร่เชิญตะวัน ก่อตั้งตั้งแต่ปีพ..2555 สร้างชาวนา คุณภาพมาแล้ว 7 รุ่น ตลอด 7 ปีโรงเรียนชาวนา มุ่งทำงานกับรากหญ้าโดยตรง เพราะประเทศนี้ไม่มีใครที่น่าสนใจยิ่งไปกว่าพี่น้องชาวไร่ชาวนา เพราะอยู่ในภาคเกษตรกรรมซึ่งเป็นภาคหลักๆ เลยที่เลี้ยงคนทั้งประเทศ คนกรุงเทพฯกินข้าวที่ไม่ได้ปลูกในกรุงเทพมหานคร กินผักที่ไม่ได้ปลูกในกรุงเทพมหานคร

จากปีแรกที่ทำอย่างไม่มีทักษะอะไรเลย หลักสูตรก็ไม่มี แต่เราพัฒนามาจนย่างเข้า ปีที่ 7 ตอนนี้ที่นี่กลายเป็นแหล่งเรียนรู้ดูงานเรื่องการพัฒนาอย่างยั่งยืน ไม่ใช่เฉพาะของเมืองไทย แต่ขององค์การสหประชาชาติด้วยพระเมธีวชิโรดมอธิบาย

‘ซีพีออลล์-ร.ร.ชาวนาฯ ไร่เชิญตะวัน’

หากข้าวคือผลผลิตของชาวนา ชาวนาคือผลผลิตของโรงเรียนแห่งนี้ ชื่อของ อ้ายลือ ถูกกล่าวถึงในฐานะนักเรียนดีเด่นของที่นี่ ไม่ใช่แค่ผลผลิตที่ผลิดอกออกผลดีงามเท่านั้น แต่ความพยายามและตั้งใจที่จะมาเรียนรู้การเป็นเกษตรกรคุณภาพ ควบคู่กับมีคุณธรรม ทั้งที่ร่างกายของเขาไม่สมบูรณ์เหมือนใครๆ เพราะเป็นโปลิโอ ขาลีบ ต้องคลานขึ้นมอเตอร์ไซค์พ่วงข้าง เดินทางกว่า 30 กิโลเมตรเพื่อมาเรียน

เมื่อก่อนเราคิดว่าเกษตรคือปลูกอย่างเดียว ปลูกแล้วก็เอามาขาย ส่วนมากเราจึงไม่ได้เงิน เพราะเราไม่รู้ความจริงว่าตลาดต้องการอะไร พอเรามาเรียนเราก็กลับไปปรับแผนการผลิต ทำให้เราได้ช่องทางการตลาด ได้เครือข่าย สมัยนั้นผมได้ปีละ 8,000 บาท แล้วต้องหารกับพ่อแม่ ผมก็เลยบอกแม่ว่าไม่ต้องขายให้พ่อค้าคนกลางแล้ว ผมไปขายเอง การมาเรียนที่โรงเรียนชาวนาเรียนตั้งแต่การวิเคราะห์ดิน วิเคราะห์ตลาด บริหารจัดการ การทำงานเป็นเครือข่าย ปัจจุบันนำความรู้มาปรับใช้ ต่อให้แห้งแล้งจัดเสียหาย 100 เปอร์เซ็นต์ แต่ผมมีรายได้ประมาณเดือนละหมื่นแน่นอนอ้ายลือกล่าว

‘ซีพีออลล์-ร.ร.ชาวนาฯ ไร่เชิญตะวัน’

‘ซีพีออลล์-ร.ร.ชาวนาฯ ไร่เชิญตะวัน’

อีกหนึ่งคนที่เป็นตัวอย่างของชาวนา ผู้ฟันฝ่าจนลืมตาอ้าปากได้คืออ้ายวิชัยนายวิชัยเจริญ แสนชัยรุ่ง เขาเริ่มต้นจากการถูกสบประมาทว่าทำเกษตรอินทรีย์ไม่มีทางรวย แต่ครอบครัวคือแรงสนับสนุน เขาจึงเดินหน้าสุดตัวด้วยการขายบ้าน เพื่อนำเงินมาทำเกษตรอินทรีย์

สิ่งที่ผมได้เรียนรู้จากโรงเรียนชาวนา ผมได้กลับมาสร้างศูนย์เรียนรู้ของตัวเอง ได้นำความรู้มาสอนให้ชาวบ้านที่สนใจเกษตรอินทรีย์ เราเน้นให้รู้จริง เข้าใจจริง และปฏิบัติได้จริงๆ ยกตัวอย่างเช่นแม่กับน้าผมไม่รู้หนังสือ แต่ทุกวันนี้สูตรปุ๋ยทั้งหมดในศูนย์แม่กับน้าคือคนดูแลอ้ายวิชัยกล่าว

การสร้างสรรค์ และแบ่งปันโอกาสโดยเข้าไปมีส่วนร่วมในการทำให้เกษตรกรและชุมชนมีโอกาสเรียนรู้จากความรู้ภายนอกและ เพิ่มทักษะความรู้ดั้งเดิมมาบริหารจัดการไร่ นาอย่างบูรณาการ เกิดระบบการเกษตรที่ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม อนุรักษ์และฟื้นฟู ตามธรรมชาติ สามารถพึ่งพาตนเองได้มากขึ้น ถือเป็นอีกแนวทางในการพัฒนาวิถีชีวิตของคนในท้องถิ่นให้มีความสุขและอยู่ร่วมกันอย่างยั่งยืน

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน