มข.หนุนนศ.บริการชุมชนสอนน้องวาดภาพนกกระเรียน

คอลัมน์ : ไอคิวทะลุฟ้า

มข.หนุนนศ.บริการชุมชนสอนน้องวาดภาพนกกระเรียน – สถาปัตย์ มข. จัดเวิร์กช็อป “เส้น สีน้ำ และปราสาทหิน” วาดรูปนกกระเรียนเพิ่มอัตลักษณ์หมู่บ้านส่งเสริมท่องเที่ยวชุมชนโอท็อปนวัตวิถี

ผศ.ดร.พรณรงค์ ชาญนุวงศ์ อาจารย์คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น หัวหน้าโครงการทัศนศึกษา “เส้น…สีน้ำ…และปราสาทหิน” เปิดเผยว่าการบูรณาการการเรียนการสอนเข้ากับการบริการวิชาการแก่สังคม เป็นกิจกรรมหนึ่งที่คณะสถาปัตยกรรม ศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น นำมาใช้เป็นกลยุทธ์ขับเคลื่อนความเป็นสถาบันที่อุทิศตนด้วยการออกแบบ (Devotion by Design)

มข.หนุนนศ.บริการชุมชนสอนน้องวาดภาพนกกระเรียน

โอกาสนี้จัดทำโครงการทัศนศึกษา “เส้น…สีน้ำ…และปราสาทหิน” ที่บ้านสวายสอ ต.สะแกโพรง อ.เมือง จ.บุรีรัมย์ หมู่บ้านชุมชนท่องเที่ยวโอท็อปนวัตวิถี ภายใต้โครงการไทยนิยมยั่งยืน เพื่อให้นักศึกษาฝึกบริการชุมชนทำงานเพื่อผู้อื่น และใช้ความสามารถของนักศึกษาสถาปัตยกรรมทำงานเพื่อชุมชนและฝึกการทำงานเป็นทีม โดยการทำกิจกรรมเวิร์กช็อปวาดภาพนกกระเรียนทำป้ายสัญลักษณ์ต่างๆ เช่น ป้ายชื่อคุ้ม ป้ายชื่อโฮมสเตย์

มข.หนุนนศ.บริการชุมชนสอนน้องวาดภาพนกกระเรียน

มข.หนุนนศ.บริการชุมชนสอนน้องวาดภาพนกกระเรียน

ผศ.ดร.พรณรงค์กล่าวด้วยว่าทางเราเคยทำโครงการศึกษาการพัฒนาทางกายภาพและผลิตภัณฑ์ชุมชนเพื่อการเป็น Eco-Tourism Village: บ้านสวายสอ ริมอ่างเก็บน้ำห้วยจระเข้มาก ต.สะแกโพรง อ.เมือง จ.บุรีรัมย์ เมื่อวันที่ 27-30 มิ.ย. 2562 โดยการสนับสนุนจากสถาบันวิจัยยุทธศาสตร์และประสานความร่วมมือเพื่อพัฒนาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มหาวิทยาลัยขอนแก่นและหมู่บ้านสวายสอนั้นพิกัดตั้งอยู่ใกล้อ่างเก็บน้ำห้วยจระเข้มาก เป็นหมู่บ้านชุมชนท่องเที่ยวโอท็อปนวัตวิถีซึ่งโดดเด่นและมีความพร้อมบนอัตลักษณ์ของหมู่บ้านชุมชนท่องเที่ยวโอท็อป นวัตวิถี ทางชุมชนมีการทอผ้าพื้นบ้าน ทอเสื่อกก จักสาน ทำขนมไทย แปลงนาสาธิต โดมปลูกผักอินทรีย์ และกลุ่มวิสาหกิจข้าวอินทรีย์ อีกทั้งยังมีผลิตภัณฑ์ในชุมชน อาทิ ข้าวอินทรีย์ ผ้าทอมือพื้นบ้าน กระปุกออมสินจากไม้ไผ่ เสื่อปูนั่งกันยุง เครื่องจักสาน จึงเหมาะสมที่จะพานักศึกษาและอาจารย์ในคณะมาลงพื้นที่บริการชุมชน

มข.หนุนนศ.บริการชุมชนสอนน้องวาดภาพนกกระเรียน

ส่วนที่ต้องเป็นภาพนกกระเรียนเนื่องจากองค์การสวนสัตว์ในพระบรมราชูปถัมภ์ และกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ร่วมกันนำพ่อพันธุ์แม่พันธุ์นกกระเรียนพันธุ์ไทยที่หายากมาเพาะในกรงเลี้ยงแล้วนำมาทดลองปล่อยในพื้นที่ชุ่มน้ำเขตห้ามล่าสัตว์ป่าอ่างเก็บน้ำห้วยจระเข้มาก อ.เมืองบุรีรัมย์ และเขตห้ามล่าสัตว์ป่าอ่างเก็บน้ำสนามบินในเขตพื้นที่ อ.ประโคนชัย เพื่อปล่อยคืนสู่ธรรมชาติตั้งแต่ปี 2554-2560 รวมจำนวน 82 ตัว ทำให้บ้านสวายสอมีกิจกรรมการชมแหล่งที่อยู่อาศัยของนกกระเรียนพันธุ์ไทย หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า นกเขียน เป็นนก ที่บ่งบอกถึงความอุดมสมบูรณ์ของธรรมชาติ โดยหมู่บ้านทำนา ระบบเกษตรอินทรีย์และช่วยดูแลนกกระเรียนพันธุ์ไทยอีกทางหนึ่งนั่นเอง

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน