ดูแลโรคหัวใจอย่างถูกต้อง

ผ่านคลิปวิดีโอซีรีส์ 10 ตอน

ดูแลโรคหัวใจอย่างถูกต้อง – ‘หัวใจเป็นอวัยวะที่สำคัญที่สุดในการมีชีวิต เมื่อหลอดเลือดของหัวใจมีความผิดปกติ จะส่งผลให้หัวใจทำงานหนักมากขึ้น จนก่อให้เกิดปัญหาหัวใจวายหรือที่เรียกกันว่า ภาวะหัวใจล้มเหลว และเสียชีวิตในที่สุด

โครงการ Every Beat Matters ‘เพราะทุกจังหวะมีความหมายจึงจุดประกายร่วมรณรงค์ให้ตระหนักถึงความสำคัญในการรับรู้ข้อมูล การสังเกตสัญญาณเตือน และการปฏิบัติตัวในการดูแลผู้ป่วยโรคหัวใจอย่างถูกต้อง โดยจัดทำวิดีโอชุดทีมสหสาขาวิชาชีพ (Multidisciplinary Team Video Series) เพื่อส่งเสริมและให้ความรู้แก่ผู้ป่วยในการดูแลและรักษาที่ถูกต้อง โดยได้รับความร่วมมือจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญและทีมสหสาขาวิชาชีพทั้ง 10 ท่าน ผ่านวิดีโอซีรีส์ 10 ตอน ได้แก่

Medical Expert Video – Episode 1 ภาวะหัวใจล้มเหลวกับผลกระทบในด้านต่างๆ ซึ่งเป็นที่ทราบกันดีว่าอัตราการเสียชีวิตจากภาวะหัวใจล้มเหลวนั้นสูงขึ้นๆ อย่างต่อเนื่องและมากกว่าการเสียชีวิตจากโรคมะเร็งบางชนิด ซึ่ง 1% ของประชากรทั้งหมดมีภาวะหัวใจล้มเหลว

Medical Expert Video – Episode 2 ภาวะหัวใจล้มเหลวในผู้สูงอายุและคนวัยทำงาน ส่วนใหญ่มักจะเกิดในกลุ่มผู้สูงอายุเกิน 65 ปี แต่ปัจจุบันสามารถเกิดได้ในกลุ่มคนวัยทำงานหรือมีอายุน้อยลงได้ โดยมีปัจจัยต่างๆ เข้ามาเกี่ยวข้อง ซึ่งต้องหมั่นสังเกตกลุ่มอาการเสี่ยงที่ทำให้เกิดภาวะหัวใจล้มเหลว อย่างหอบเหนื่อยตอนออกแรง ข้อเท้าบวม หอบขณะหลับ ฯลฯ

ดูแลโรคหัวใจอย่างถูกต้อง ดูแลโรคหัวใจอย่างถูกต้อง ดูแลโรคหัวใจอย่างถูกต้อง

ดูแลโรคหัวใจอย่างถูกต้อง ดูแลโรคหัวใจอย่างถูกต้อง

ดูแลโรคหัวใจอย่างถูกต้อง

ดูแลโรคหัวใจอย่างถูกต้อง ดูแลโรคหัวใจอย่างถูกต้อง

ดูแลโรคหัวใจอย่างถูกต้อง ดูแลโรคหัวใจอย่างถูกต้อง

Medical Expert Video – Episode 3 สาเหตุและอาการสำคัญของภาวะหัวใจล้มเหลว เกิดจากกล้ามเนื้อหัวใจอ่อนแรงลง หรือ กล้ามเนื้อหัวใจมีการแข็งตัวเป็นระยะเวลานาน ซึ่งภาวะหัวใจล้มเหลวสามารถพบบ่อยได้ในผู้ป่วยที่เป็นโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ โรคความดันโลหิตสูง โรคลิ้นหัวใจ โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด หรือกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ

Medical Expert Video – Episode 4 การวินิจฉัยและแนวทางการรักษาภาวะหัวใจล้มเหลว ซึ่งจะมาเผยเคล็ดลับในการดูแลหัวใจและรับมือกับภาวะหัวใจล้มเหลวให้ได้ดียิ่งขึ้นโดยเริ่มจากวิธีง่ายๆ อย่างการสำรวจอาการและสัญญาณบ่งชี้ของภาวะฯ ด้วยตัวเอง

Medical Expert Video – Episode 5 ภาวะแทรกซ้อนและปัจจัยเสี่ยงต่างๆ สู่ภาวะหัวใจล้มเหลว สามารถเกิดขึ้นในผู้ป่วยบางราย แต่ผู้ป่วยควรจะตระหนักรู้เกี่ยวกับอาการแทรกซ้อนที่มากับโรค เพื่อที่จะได้เฝ้าระวังและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยงของการเกิดอาการแทรกซ้อนรวมไปถึงสามารถสำรวจอาการได้ด้วยตนเอง

Medical Expert Video – Episode 6 การดูแลตัวเองสำหรับผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลว ที่มาช่วยสรุปเกี่ยวกับวิธีการดูแลตัวเองเพื่อให้ผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลวมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ทั้งการเลือกรับประทานอาการ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

Nurse Videoการสังเกตอาการเบื้องต้นของภาวะหัวใจล้มเหลว หากผู้ป่วยรู้แนวทางการสังเกตอาการเบื้องต้นของภาวะหัวใจล้มเหลวเองได้นั้นจะช่วยให้การเข้ารักษากับบุคลากรทางการแพทย์เป็นไปได้ตั้งแต่เนิ่นๆ เพื่อชะลอความรุนแรงของโรค และลดอัตราการเสียชีวิตแบบเฉียบพลันได้อีกด้วย

Pharmacist Videoการใช้ยาอย่างปลอดภัยในผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลว ซึ่งปริมาณการใช้ยาจะขึ้นอยู่กับลักษณะอาการของผู้ป่วย อาการร่วมที่เกิดขึ้น โดยหลักการใช้ยารักษาผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลวจะใช้ยาหลายกลุ่มในการรักษา

Nutritionist Videoอาหารที่เหมาะสมสำหรับผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลว ถือเป็นอีกส่วนหนึ่งที่มีความสำคัญ ในการป้องกันไม่ให้เกิดอาการแทรกซ้อน หรือ โรคร่วมได้เป็นอย่างดี

Cardiac Rehabilitationistการออกกำลังกายที่เหมาะสำหรับ ผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลว เพราะมีส่วนช่วยทำให้อาการเหนื่อยของ ผู้ป่วยลดลง มีคุณภาพชีวิตดีขึ้น ส่งผลให้การทำงานของหัวใจดียิ่งขึ้น รวมไปถึงการทำงานของเยื่อบุผนังหัวใจดีขึ้น ซึ่งการออกกำลังกายต้องอยู่ภายในการแนะนำ กำกับดูแล จากบุคลากรทางการแพทย์

ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของโครงการได้ โดยเข้าไปรับชมข้อมูลที่www.everybeatmatters.in.th หรือหากต้องการความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับภาวะหัวใจล้มเหลวแก่ผู้ป่วย รวมถึงผู้ดูแล เพิ่มเติมสามารถเข้าไปร่วมแบ่งปันประสบการณ์ได้ที่ เพจเฟซบุ๊ก และ ยูทูบ

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน