พบอนุภาคไมโครพลาสติกในรกของทารกที่ยังอยู่ภายในครรภ์ของมารดา ปัจจุบันยังไม่ทราบถึงผลที่อาจกระทบต่อสุขภาพแม่ และทารก แต่นักวิทยาศาสตร์แสดงความเป็นกังวลว่าอนุภาคดังกล่าวอาจก่อให้เกิดความเสียหายในระยะยาวต่อทารกที่ยังอยู่ภายในครรภ์

สำหรับผลกระทบของไมโครพลาสติกของร่างกายในตอนนี้ยังไม่ทราบผลกระทบที่แน่ชัด แต่นักวิทยาศาสตร์ได้กล่าวว่าไมโครพลาสติกอาจจะมีสารเคมีบางอย่างที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายในระยะยาวหรืออาจทำให้ระบบภูมิคุ้มกันของทารกในครรภ์แย่ลง ซึ่งอนุภาคเหล่านี้อาจเกิดจากการที่มารดาได้บริโภค หรือหายใจ จนนำไมโครพลาสติกเข้าสู่ร่างกาย

ทั้งนี้พบอนุภาคในรกจากผู้หญิงที่มีสุขภาพดี 4 คนที่ตั้งครรภ์ และคลอดตามปกติ โดยไมโครพลาสติกถูกพบทั้งในรกของฝั่งตัวเด็ก และฝั่งของมารดา รวมถึงพังผืดที่พัฒนาของทารกตอนที่ยังอยู่ในครรภ์

ภาพอัลตราซาวนด์ของทารกในครรภ์มารดา

นักวิจัยพบอนุภาคพลาสติกจำนวนหนึ่ง และได้ทำการศึกษาวิเคราะห์เพียง 4% ของแต่ละรกเท่านั้น อย่างไรก็ตามนักวิจัยคาดว่าจำนวนไมโครพลาสติกทั้งหมดอาจอยู่ในปริมาณที่สูงกว่านั้น โดยอนุภาคทั้งหมดที่วิเคราะห์ พบว่าเป็นพลาสติกที่ย้อมสีน้ำเงิน แดง ส้ม หรือชมพู คาดได้ว่าอาจมาจากบรรจุภัฑ์ สีชนิดต่างๆ เครื่องสำอาง หรือผลิตภัณฑ์ดูแลส่วนบุคคล

และไมโครพลาสติกส่วนใหญ่มีขนาด 10 ไมครอน (0.01 มม.) ซึ่งหมายความว่ามีขนาดเล็กพอที่จะนำเข้าสู่กระแสเลือดได้ ทำให้อนุภาคอาจเข้าสู่ในร่างกายของทารกได้ แต่นักวิจัยยังไม่สามารถประเมินได้

งานวิจัยดังกล่าวได้สรุปว่า “เนื่องจากรกมีบทบาทสำคัญ ในการสนับสนุนการพัฒนาของทารกในครรภ์และยังทำหน้าที่เชื่อมต่อทารกกับสิ่งแวดล้อมภายนอก การค้นพบอนุภาคพลาสติกที่อาจก่อให้เกิดอันตรายนี้จึงเป็นเรื่องที่น่ากังวลเป็นอย่างมาก ทำให้ต้องศึกษาเพิ่มเติมเพื่อประเมินว่าการมีไมโครพลาสติก อาจกระตุ้นการตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกัน หรืออาจนำไปสู่การปล่อยสารปนเปื้อนที่เป็นพิษซึ่งส่งผลให้เกิดอันตรายได้”

petition: Tiny shards of plastics are most likely in your organs, and their toxic effects could be beyond our wildest nightmares

ผลกระทบจากไมโครพลาสติกที่เกิดขึ้นอาจส่งผลกระทบต่อทารกในครรภ์ ได้แก่ การเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ที่ช้าลง แต่ในรกของมารดาบางรายกลับไม่พบอนุภาคไมโครพลาสติก ซึ่งอาจเป็นผลมาจากสรีรวิทยา อาหาร หรือวิถีชีวิตที่แตกต่างกัน

ทั้งนี้ที่ผลมานั้นมลพิษจากไมโครพลาสติก ได้เข้าไปถึงทุกส่วนของโลกตั้งแต่ยอดเขาเอเวอร์เรสยันมหาสมุทรที่ลึกที่สุด ผู้คนมากมายต่างบริโภคอนุภาคเล็ก ๆ ผ่านทางอาหารและน้ำ รวมถึงหายใจเข้าไป แม้ว่าจะยังไม่ทราบชัดถึงผลกระทบที่มีต่อร่างกาย

แต่นักวิทยาศาสตร์กล่าวว่ามีความจำเป็นเร่งด่วนในการประเมินปัญหานี้โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับทารก หลังจากมีการเปิดเผยว่า ทารกได้รับไมโครพลาสติกมหาศาลจากขวดนม

10 สิ่งที่ควรรู้หากต้องให้ลูกกินนมจากขวด

ที่มา : theguardian

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน