ผลกระทบหลายอย่างของการอดนอนที่รู้กันดีก็คือ รู้สึกไม่พอใจและไม่ได้ทำงานอย่างเต็ม แต่รู้หรือไม่ว่าการอดนอนอาจส่งผลร้ายแรงต่อสุขภาพร่างกายได้เช่นกัน

ตามกฎทั่วไป หากตื่นขึ้นมาด้วยความเหนื่อยล้าและใช้เวลาทั้งวัน แต่ยังต้องการงีบสักนิด เป็นไปได้ว่าคุณนอนหลับไม่เพียงพอ

ดร.รีเบคกา ร็อบบินส์ ผู้สอนด้านการแพทย์ที่ Harvard Medical Schoo ให้สัมภาษณ์กับ Telegraph ว่าการเปลี่ยนแปลงการนอนหลับเพียงหนึ่งชั่วโมงก็เพียงพอที่จะสร้างความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ

“เมื่อเราเปลี่ยนตารางการนอนให้เพิ่มขึ้น 1 ชั่วโมงหรือนานกว่านั้นในวันถัดไป เรากำลังส่งสัญญาณไปยังสมองว่าเรากำลังพยายามปรับเปลี่ยนไปใช้เวลาใหม่ ทำให้การนอนหลับในคืนถัดไปมีความท้าทายยิ่งขึ้น”

ดร.รีเบคกายังเป็นนักวิทยาศาสตร์ร่วมที่ Division of Sleep and Circadian Disorders ที่ Brigham and Women’s Hospital เธอกล่าวว่าสารพิษที่ปล่อยออกมาจากสมองอาจนำไปสู่ผลลัพธ์ที่ร้ายแรง

“เราค้นพบว่าตลอดทั้งวัน สมองผลิตสารพิษ ซึ่งการสะสมของมันนั้นสัมพันธ์กับความเสื่อมของระบบประสาท เช่น โรคอัลไซเมอร์และภาวะสมองเสื่อม”

“อีกทั้งยังมีงานวิจัยที่น่าสนใจชิ้นหนึ่งที่ศึกษาเกี่ยวกับไรโนไวรัส ซึ่งเป็นเชื้อก่อโรคซาร์ส-โคฟ-2 นักวิจัยพบว่าผู้ที่อดนอนมีความเสี่ยงที่จะเป็นหวัดและไข้หวัดใหญ่มากกว่าถึง 2 เท่า”

“ผู้ที่ได้รับการฉีดวัคซีนจะสามารถเห็นการพัฒนาที่เพิ่มขึ้นของแอนติบอดี เพื่อต่อสู้กับเชื้อโรคไวรัส และมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น เมื่อควบคู่ไปกับระยะเวลาการนอนหลับที่ดีต่อสุขภาพ”

ทางด้าน NHS รายงานว่า การนอนหลับน้อยเป็นประจำ ทำให้คุณเสี่ยงต่อการเกิดภาวะทางการแพทย์ที่ร้ายแรง เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง รวมไปถึงผลกระทบทางจิตก็รุนแรงขึ้นและทำให้อายุขัยสั้นลง

จากการศึกษาพบว่าคนที่นอนน้อยกว่า 7 ชั่วโมงต่อวัน มีแนวโน้มที่จะมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นและมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคอ้วน โดยเชื่อกันว่า การอดนอนทำให้ระดับเลปตินลดลง (สารเคมีที่ทำให้รู้สึกอิ่ม) และเพิ่มระดับของเกรลิน (ฮอร์โมนกระตุ้นความหิว)

การนอนหลับช่วยเพิ่มแรงขับทางเพศ การวิจัยชี้ให้เห็นว่าผู้ชายและผู้หญิงที่ไม่ได้นอนหลับอย่างมีคุณภาพเพียงพอจะสูญเสียความใคร่ ความต้องการทางเพศลดลง และเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ

วารสาร Nature Communications เผยว่า การศึกษาระยะยาวพบว่าการนอนน้อยกว่า 6 ชั่วโมงต่อคืนในวัยกลางคนสามารถเพิ่มความเสี่ยงต่อภาวะสมองเสื่อมได้

หลังจากผู้เข้ารับการวิจัย 8,000 คนเป็นเวลา 25 ปี ระยะเวลาการนอนหลับน้อยอย่างต่อเนื่องระหว่างอายุ 50 60 และ 70 ปี นั้นสัมพันธ์กับความเสี่ยงภาวะสมองเสื่อมเพิ่มขึ้น 30% ดังนั้น การนอนหลับสนิทตลอดคืนเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับชีวิตที่ยืนยาวและมีสุขภาพที่ดี


ต้องการนอนมากแค่ไหน การนอนหลับที่มีคุณภาพดีอยู่ที่ 8 ชั่วโมง ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่าการตั้งเวลานอนให้สม่ำเสมอเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้นอนหลับได้ดีขึ้น โดยพยายามเพิ่มเวลานอนเพิ่มอีก 1 ชั่วโมงหรือ 2 ชั่วโมงต่อคืน

สำหรับใครที่รู้สึกว่ายากที่จะกลับไปนอนอีกครั้งหลังจากถูกรบกวนในตอนกลางคืน ดร.รีเบคกาแนะนำว่า อย่ามองหรือเล่นโทรศัพท์ จากนั้นลุกจากเตียง

ลองนั่งบนเก้าอี้นวมหรือนั่งขัดสมาธิบนพื้นแล้วทำสมาธิหรือฝึกจินตนาการ เพื่อช่วยให้หลับไปในทันที อีกทั้งการนอนในห้องที่มีอากาศเย็นประมาณ 18 องศาเซลเซียส ยังสามารถช่วยให้นอนหลับสบายยิ่งขึ้น

งีบหลับวันละ 20 นาที ดร.รีเบคกา กล่าวว่า การงีบหลับเป็นส่วนหนึ่งของกิจวัตรการนอนหลับที่ดีต่อสุขภาพได้อย่างแน่นอน โดยขอแนะนำให้ใช้ 20 นาที เว้นแต่มีการนอนน้อยมาก ทำให้สามารถยืดเวลาได้ถึง 90 นาที เพื่อให้สมองตื่นตัว”

ขอบคุณที่มาจาก Ladbible CNN NHS

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน