โลกยุคปัจจุบันที่ปัญญาประดิษฐ์หรือเอไอ (AI) เข้ามามีบทบาทในการทำงานในหลายองค์กร มีงานวิจัยของหลายหน่วยงานยืนยันว่า AI เป็นเครื่องมือที่ช่วยเสริมประสิทธิภาพการทำงาน ยังไม่สามารถแทนที่แรงงานมนุษย์ได้อย่างสมบูรณ์ โดยเฉพาะ Soft Skills ที่จะช่วยให้มนุษย์ยังคงเป็นที่ต้องการในตลาดแรงงาน

สดจากเยาวชน

จากการจัดอันดับท็อป 50 องค์กรในฝันของคนรุ่นใหม่ที่อยากร่วมงานด้วยมากที่สุดในปี 2025 โดย WorkVenture บริษัทที่ทำด้านกลยุทธ์การพัฒนาทรัพยากรบุคคล พบว่าองค์กรชั้นนำหลายแห่ง อาทิ Google, บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) หรือ SCG, บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) หรือไทยเบฟ และอีกหลายๆ องค์กรต้องการพนักงานที่นอกจากความเก่ง มี Hard Skills ในสายงานที่รับผิดชอบแล้วยังต้องการพนักงานที่มี Soft Skills

มูลนิธิเอสซีจีสนับสนุนเยาวชนไทยให้มีแนวคิด Learn to Earn เรียนรู้ เพื่ออยู่รอด เน้นการพัฒนาทักษะและประสบการณ์ในสายอาชีพซึ่งเป็นที่ต้องการของประเทศ พร้อมกับการพัฒนาทักษะด้าน Soft Skills โดย มูลนิธิ ร่วมกับบริษัท ฟาร์อีสท์ เฟมไลน์ ดีดีบี จำกัด (มหาชน) และสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย ค้นหาทักษะที่สำคัญและจำเป็นที่ตรงกับความต้องการของตลาดแรงงาน ผ่านการจัดทำสำรวจกลุ่ม New Gen พบว่าทักษะชีวิต หรือ Soft Skills ที่สำคัญและจำเป็นจะมี Skill Set สำคัญที่เรียกว่า 3C ได้แก่

สดจากเยาวชน

ทักษะด้านการสื่อสารและภาษา ได้แก่ ทักษะการสื่อสารที่สั้นและตรงประเด็น ทักษะการรับฟังอย่างตั้งใจ ทักษะการแสดงความคิดเห็นอย่างตรงไปตรงมา ทักษะการสื่อสารด้วยวาจา ทักษะการสื่อสารด้วยภาษากาย ทักษะการเล่าเรื่อง และทักษะด้านการปรับตัว

 

ทักษะด้านการทำงานร่วมกัน ได้แก่ ทักษะด้านการรับฟังอย่างตั้งใจ ทักษะการให้และรับความคิดเห็นอย่างสร้างสรรค์ ทักษะด้านการสร้างความเท่าเทียม ทักษะด้านความสามารถในการใช้คำพูดที่มีประสิทธิภาพในการสื่อสาร และทักษะด้านความสามารถในการเขียนที่ชัดเจน

ทักษะด้านการคิดอย่างสร้างสรรค์ ได้แก่ ทักษะการแก้ไขปัญหา ทักษะการเขียนอย่างสร้างสรรค์ ทักษะการเปิดใจยอมรับมุมมองที่แตกต่างจากตัวเอง ทักษะการวิเคราะห์ และทักษะการรับฟังอย่างตั้งใจ

สดจากเยาวชน

นอกจากทักษะในกลุ่ม 3C แล้ว ยังควรต้องมี Soft Skills สำหรับการทำงานร่วมกับ AI เพื่อช่วยส่งเสริมให้เราอยู่เหนือ AI ทักษะเหล่านี้ ได้แก่ ทักษะ Problem-Solving & Decision Making เป็นทักษะการแก้ปัญหาและการตัดสินใจด้วยการใช้ข้อมูลจาก AI ประกอบการตัดสินใจเชิงกลยุทธ์ ทักษะ Creativity การคิดเชิงสร้างสรรค์ที่จะทำให้มนุษย์ยังเป็นผู้ควบคุม AI และทักษะ Emotional Intelligence & Collaboration ความฉลาดทางอารมณ์และการทำงานร่วมกับคนอื่น ฯลฯ

น้องน้ำผึ้ง ภัชราภรณ์ กาลเขว้า นักเรียนทุนมูลนิธิเอสซีจี หลักสูตรผู้ช่วยพยาบาล คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล เล่าถึงประสบการณ์ตรงของการทำงานในสายอาชีพนี้ว่า ไม่เพียงต้องดูแลผู้ป่วย แต่ยังต้องสื่อสารและประสานงานกับทีมแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์จากหลากหลายแผนก การสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ การทำงานเป็นทีม และความสามารถในการปรับตัว จึงเป็นทักษะที่มีบทบาทสำคัญต่อความสำเร็จในการทำงานและการดูแลผู้ป่วยอย่างมีคุณภาพ

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน