ครัวเรือนระวังใช้จ่าย

คอลัมน์ วงล้อเศรษฐกิจ

ดัชนีภาวะเศรษฐกิจและการครองชีพของครัว เรือนไทย (KR-ECI) ในเขตกรุงเทพฯ ปริมณฑล และพื้นที่ ต่างจังหวัด ปรับตัวเพิ่มขึ้นติดต่อกันเป็นเดือนที่ 2 จากระดับ 45.7 ในเดือนก.พ. 2562 มาอยู่ที่ระดับ 45.9 ในเดือนมี.ค. 2562 โดยได้อานิสงส์จากกิจกรรมการหาเสียงในช่วงก่อนการ เลือกตั้งที่จัดขึ้นในวันที่ 24 มี.ค. 2562 ซึ่งช่วยหนุนการใช้จ่ายภายในประเทศให้เพิ่มขึ้น ส่งผลดีทำให้ครัวเรือนผู้ประกอบการขายสินค้าและบริการได้มากขึ้น

อย่างไรก็ตาม ครัวเรือนไทยกลับมีความกังวลเพิ่มขึ้น ต่อประเด็นเรื่องสถานการณ์ราคาสินค้าและบริการภายในประเทศ หลังราคาอาหารสดและราคาพลังงานปรับตัวสูงขึ้นในเดือนมี.ค.

ในขณะที่ดัชนีภาวะเศรษฐกิจและการครองชีพของครัวเรือน ช่วงอีก 3 เดือนข้างหน้า (3-month Expected KR-ECI) ปรับตัว ลดลงจากระดับ 47.4 ในการสำรวจช่วงเดือนก.พ. 2562 มาอยู่ที่ ระดับ 47.0 ในการสำรวจช่วงเดือนมี.ค. 2562

สะท้อนให้เห็นว่า ครัวเรือนไทยมีความกังวลเพิ่มขึ้น ต่อสภาวะเศรษฐกิจและการครองชีพของตนเองในช่วงไตรมาส ที่ 2/2562 หลังทิศทางการเมืองภายในประเทศมีความไม่แน่นอนมากยิ่งขึ้น โดยประเด็นที่ครัวเรือนมีความกังวลเพิ่มขึ้น คือ เรื่องค่าใช้จ่าย (ไม่รวมหนี้)

และในประเด็นเรื่องสถานการณ์ราคาสินค้าและ บริการภายในประเทศที่ครัวเรือนไทยมองว่า สินค้าหลายรายการน่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะราคาอาหารและเครื่องดื่ม รวมถึงราคาพลังงานและบริการพื้นฐานในชีวิตประจำวัน ส่วนหนึ่งเนื่องมาจากสถานการณ์ปัจจุบันที่ระดับราคาสินค้าและบริการภายในประเทศปรับตัวเร่งขึ้นในเดือนมี.ค. 2562 ประกอบกับการปรับขึ้นค่าโดยสารถประจำทางจะมีผลบังคับใช้ ในวันที่ 22 เม.ย. 2562 หลังจากเลื่อนเวลาการปรับขึ้นค่าโดยสารออกไปอีก 3 เดือน (จากวันที่ 21 ม.ค. 2562)

มองว่า ภาวะเศรษฐกิจและการครองชีพของครัวเรือนไทยในช่วงไตรมาสที่ 2/2562 ยังเผชิญหลายปัจจัยกดดัน ทั้งในเรื่องสถานการณ์ภัยแล้งที่คาดว่าจะกระทบต่อรายได้ครัวเรือนเกษตร โดยเฉพาะครัวเรือนเกษตรในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ นอกจากนี้ ประเด็นทางการเมืองที่ยังคลุมเครืออาจส่งผลให้ครัวเรือนระมัดระวังการใช้จ่ายเพิ่มขึ้น

อย่างไรก็ตาม ยังต้องติดตามมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐในระยะข้างหน้า

โดย บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน