ทิ้งหมัดเข้ามุม : แนวทางเลือกพรรคการเมือง

ทิ้งหมัดเข้ามุม : แนวทางเลือกพรรคการเมือง : ใกล้เข้าสู่ฤดูกาลเลือกตั้ง บรรยากาศก็จะดูคึกคักหน่อยๆ

ทิ้งหมัดเข้ามุม

แนวทางเลือกพรรคการเมือง

แม้จะยังไม่กำหนดวันชัดเจน แต่จากถ้อย คำของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ที่ยืนยันว่าน่าจะมีการเลือกตั้งในช่วงเดือนก.พ.2562

แม้ที่ผ่านมาจะเปลี่ยนคำพูดมาแล้วหลายต่อหลายครั้ง แต่ด้วยองค์ประกอบทุกอย่างที่กำลังสุกงอม

ก็คงจะพอเชื่อถือได้ไม่มากก็น้อย

และด้วยเงื่อนไขของรัฐธรรมนูญปี 2560 ที่บรรจงร่างกันขึ้นมาภายใต้เสียงวิพากษ์วิจารณ์ว่ามีความพยายามสืบทอดอำนาจ

และพยายามที่จะจำกัดไม่ให้มีพรรค การเมืองขนาดใหญ่ กวาดที่นั่งในสภา

ดังจะเห็นได้จากการกำหนดให้การเลือกตั้ง 2 ระบบ ทั้งแบบบัญชีรายชื่อและแบบแบ่งเขตใช้บัตรเลือกตั้งเพียงใบเดียว

การคำนวณส.ส.บัญชีรายชื่อ ก็ต้องนำมาหักลบจากส.ส.เขตเสียก่อน

ซึ่งเป็นระบบการเลือกตั้งที่ดูแปลกและน่ามึนงง จนน่ากังวลว่าเสียงของประชาชนจะสามารถสะท้อนความต้องการที่แท้จริงออกมาได้หรือไม่

จึงไม่แปลกที่พรรคการเมืองต่างๆ จะต้องแก้เกมกันให้วุ่นวาย ด้วยการเกิดพรรคเครือข่ายขึ้นมาจำนวนมาก เพื่อรับกับกติกาที่แสนแปลกเช่นนี้

มีการตั้งเป้ากันทีเดียวว่าพรรคไหนจะเน้นเรื่องระบบส.ส.เขต พรรคไหนจะเน้นระบบบัญชีรายชื่อ พรรคไหนเน้นภาคไหน พื้นที่ไหน

แต่กระนั้นก็ยังมีความกังวลว่าจะทำให้ประชาชนสับสนหรือไม่!??

จึงเป็นเรื่องที่จำเป็นจะต้องประชาสัมพันธ์กันให้ชัด ซึ่งจริงๆแล้วก็ไม่ใช่เรื่องยาก

เพราะพรรคการเมืองที่มีอยู่ และกำลังจะเกิดขึ้น ก็แบ่งได้ออกเป็น 3 กลุ่มหลักๆ

กลุ่มแรก ก็คือพรรคการเมือง ที่สนับสนุนประชาธิปไตย ไม่เอาเผด็จการทุกรูปแบบ

กลุ่มที่ 2 ก็คือกลุ่มที่สนับสนุนการสืบทอดอำนาจ หรือจะเรียกได้ว่าเป็นไม้ค้ำยันให้กลุ่มเผด็จการได้ฟอกตัว และกลับเข้ามามีอำนาจอีก

กลุ่มที่ 3 ก็คือพวกแทงกั๊ก คือสามารถอยู่ร่วมกับทั้ง 2 ขั้วได้ทั้งหมด หากฟากประชาธิปไตยมีแนวโน้มที่ดี ก็พร้อมร่วมงาน หากฝั่งเผด็จการมีภาษีดีกว่า ก็พร้อมเป็นไม้ค้ำยัน

เอาผลประโยชน์มาเป็นที่ตั้ง อุดมการณ์วางขึ้นหิ้ง

เมื่อแยกกลุ่มพรรคการเมืองได้แล้ว ที่เหลือก็เป็นหน้าที่ของประชาชน ว่าจะสนับสนุนใคร

โดย “รุก กลางกระดาน”

อ่านข่าวย้อนหลัง : ทิ้งหมัดเข้ามุม : แพ้ทาง ‘เพลงแร็พ-ปฏิทิน’

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน