“ทีนี้ข้อสังเกตในการนั่งสมาธิ ในการภาวนานี่ ในบางครั้งระหว่างหัวเลี้ยวหัวต่อ ที่จิตจะเข้าสู่สมาธิ ทุกขเวทนาต่างๆ บังเกิดขึ้น มันปวดแข้งปวดขา มันปวดหลัง ปวดเอว ศีรษะมึนงง นั่น ขันธมาร มันกำลังบังเกิดขึ้น เมื่อ ขันธมารบังเกิดขึ้น กิเลสมาร ก็บังเกิด” สารธรรมมงคล พระราชสังวรญาณ (พุธ ฐานิโย) วัดป่าสาลวัน จ.นครราชสีมา

“หลวงปู่ทวง ธัมมโชโต” อดีต เจ้าอาวาสวัดบ้านยาง อ.บรบือ จ.มหาสารคาม หลังจากมรณภาพครบ 18 ปี เมื่อพ.ศ.2512 คณะศิษยานุศิษย์ญาติโยมชาวบ้านยาง ร่วมกันจัดสร้างเหรียญรูปเหมือน หารายได้สมทบทุนนำไปพัฒนา

ลักษณะเป็นเหรียญรูปไข่มีหูห่วง ยกขอบมีจุดไข่ปลารอบ ด้านหน้าเหรียญ ตรงกลางเหรียญเป็นรูปเหมือนหน้าตรงครึ่งองค์ ที่ใต้รูปเหมือนมีอักษร สองแถว แถวแรกเขียนว่า “หลวงพ่อทวง” แถวที่สองเขียนว่า “บรบือ” จากด้านขวาของเหรียญขึ้นไปด้านบนถึงใต้ห่วงมีอักขระยันต์ เป็นคาถาไตรสรณคม ส่วนซีกซ้ายเริ่มจากใต้ห่วงโค้งลงมามีอักขระยันต์ เป็นคาถาหัวใจปาติโมกข์

ด้านหลังเหรียญ ด้านขวาเป็นอักขระยันต์โค้งขึ้นไปตามขอบเหรียญด้านบน วกลงไปทางด้านซ้ายเป็นอักขระยันต์เหมือนกับด้านหน้าเหรียญตรงกลางเหรียญเป็นรูปพระพุทธรูปปางนั่งสมาธิ แต่ใช้มือ ปิดหน้า ใต้ฐานพระพุทธรูปมีตัวอักษรเขียนว่า “หลวงพ่อกกกอก ๒๕๑๒” เป็นปีพุทธศักราชที่สร้าง เหรียญรุ่นนี้จัดสร้างสองเนื้อ คือ ทองแดงรมดำ สร้างไม่เกิน 3,000 เหรียญ และกะไหล่เงินอีกจำนวนหนึ่ง แจกคณะกรรมการจัดสร้าง จัดเป็นเหรียญดีราคาถูกที่ค่อนข้างหายาก

พระพุทธชินสีห์ เป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมือง หรือเรียกว่า “ปู่เหรียญ” สร้างปี พ.ศ.2440 เป็นเหรียญพระพุทธที่สร้างขึ้นเหรียญแรกของประเทศไทย จัดสร้างโดยวัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพฯ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ที่ระลึกในโอกาสที่เสด็จฯ กลับจากประพาสยุโรป

เหรียญรุ่นนี้มี 2 ลักษณะคือ ทรงกลม หูเชื่อม มีรูปใบโพธิ์อยู่ตรงกลาง กับรูปใบโพธิ์ ซึ่งพบเห็นกันค่อนข้างมาก ได้รับความนิยมอย่างสูง ลักษณะเป็นเหรียญรูปทรงใบโพธิ์ ไม่มีก้าน ไม่มีรูคล้องเหรียญ ขอบข้างเลื่อย นับเป็นเหรียญพระพุทธปฏิมากรที่เก่าแก่ ที่สุด งดงามทางพุทธศิลปะและด้านจิตใจ

ย้อนหลัง กลับไปปี พ.ศ.2557 “หลวงพ่อเมียน กัลยาโณ” พระเกจิอาจารย์แห่งวัดจะเนียงวนาราม ต.สูงเนิน อ.กระสัง จ.บุรีรัมย์ จัดสร้างวัตถุมงคล “พระกริ่งชินบัญชร ชนะมาร” เพื่อหารายได้ ทำนุบำรุงถาวรวัตถุในวัดจะเนียงวนาราม จัดสร้างเป็นหลายเนื้อด้วยกัน ลักษณะองค์พระเหมือนพระกริ่งทั่วไป ทุกเนื้อมีโค้ดและหมายเลขกำกับองค์พระประกอบพิธีพุทธาภิเษก เมื่อวันที่ 28 ต.ค.2557 เป็นที่นิยมและมีความต้องการสูง

อริยะ เผดียงธรรม

[email protected]

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน