3 ผู้เชี่ยวชาญจาก UN – วันที่ 22 ต.ค. สำนักงานด้านสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติในภูมิภาคเอเชีย หรือ โอเอชซีเอชอาร์ เอเชีย ออกแถลงการณ์กรณีที่คณะผู้เชี่ยวชาญสหประชาชาติเรียกร้องให้รัฐบาลไทยยินยอมให้การชุมนุมที่สันติและปล่อยตัวผู้ถูกควบคุมตัวโดยพลการโดยปราศจากเงื่อนไข

คณะผู้เชี่ยวชาญแห่งสหประชาชาติเรียกร้องให้รัฐบาลไทยรับรองสิทธิขั้นพื้นฐานในการชุมนุมที่สันติและเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น และเรียกร้องให้ยุติการสลายการชุมนุมที่สันติ

“การประกาศใช้สถานการณ์ฉุกเฉินถือเป็นมาตรการล่าสุดมีมาตรการร้ายแรงมาก่อนหน้านี้ เพื่อมุ่งปราบปรามการชุมนุมที่สันติ และดำเนินคดีกับผู้มีความเห็นต่าง” คณะผู้เชี่ยวชาญกล่าว

“เราขอให้รัฐบาลไทยยินยอมให้นักศึกษา นักปกป้องสิทธิมนุษยชน และคนอื่นๆ สามารถชุมนุมที่สันติได้ ประชาชนคนไทยควรสามารถแสดงความคิดเห็น รวมถึงความคิดเห็นทางการเมืองได้อย่างเสรี ทั้งออฟไลน์และออนไลน์ โดยไม่ถูกดำเนินคดี”

คนหลายพันคนเข้าร่วมการชุมนุมเพื่อเรียกร้องประชาธิปไตยในกรุงเทพมหานคร เรียกร้องการปฏิรูปรัฐบาลและสถาบันพระมหากษัตริย์

2 แนว การต่อสู้ ระหว่าง อดีต กับ ปัจจุบัน ต่อสู้ ทางการเมือง

ตั้งแต่วันที่ 13 ต.ค. 2563 จำนวนผู้ถูกจับกุมอย่างน้อย 80 คน ในจำนวนนี้ 27 คน ยังถูกควบคุมด้วย บางคนถูกตั้งข้อหายุยงปลุกปั่นและชุมนุมอย่างผิดกฎหมายตามกฎหมายอาญา บางคนถูกตั้งข้อหาตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทําความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์จากการใช้บัญชีสื่อสังคมออนไลน์เพื่อให้คนทั่วไปมาร่วมชุมนุม สองคนระวางโทษจำคุกตลอดชีวิตจากการถูกกล่าวหาว่าประทุษร้ายสถาบันพระมหากษัตริย์

“เรามีความกังวลเป็นอย่างยิ่งว่าผู้เข้าร่วมกับชุมนุมที่สันติจะถูกดำเนินคดีตามกฎหมายเนื้อหาซึ่งเราเคยแสดงความห่วงกังวลไปแล้ว”

คณะผู้เชี่ยวชาญเรียกร้องให้เจ้าหน้าที่ปล่อยตัวผู้ถูกควบคุมตัวเพียงเพราะแสดงออกซึ่งเสรีภาพขั้นพื้นฐานโดยปราศจากเงื่อนไขในทันที

 

เมื่อวันที่ 15 ต.ค. มีการประกาศ “สถานการณ์การฉุกเฉินร้ายแรง” ในเขตท้องที่กรุงเทพมหานคร เพื่อห้ามมิให้มีการชุมนุมตั้งแต่ 5 คนขึ้นไป ต่อมา ตำรวจมีการใช้กำลัง รวมถึงใช้รถน้ำเพื่อสลายการชุมนุมโดยสงบ

“เจ้าหน้าฝ่ายความมั่นคงใช้กำลังอย่างไม่จำเป็นกับผู้ชุมนุมโดยสงบ” ผู้เชี่ยวชาญกล่าว “ความรุนแรงนี้มีแต่สร้างความเสี่ยงให้สถานการณ์บานปลาย เราขอให้รัฐบาลไทยหาทางเจรจาอย่างเปิดเผยและจริงใจกับผู้ชุมนุมที่สันติแทนการพยายามปิดปากพวกเขา”

ผู้เชี่ยวชาญในที่นี้ประกอบด้วย:

นายเคลมอนต์ วูเล่ ผู้รายงานพิเศษว่าด้วยสิทธิการชุมนุมและรวมกลุ่มโดยสงบ

ไอรีน คาน ผู้รายงานพิเศษว่าด้วยการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิในเสรีภาพการแสดงออก

แมรี่ ลอว์ลอร์ ผู้รายงานพิเศษว่าด้วยสถานการณ์นักปกป้องสิทธิมนุษยชน

 

ก่อนหน้านี้ นายธานี แสงรัตน์ อธิบดีกรมสารนิเทศและโฆษกกระทรวงการต่างประเทศ ตอบคำถามผู้สื่อข่าวหลังแถลงผลการบรรยายสรุปเกี่ยวกับสถานการณ์การชุมนุมทางการเมืองในไทยเมื่อวันที่ 20 ต.ค. ในประเด็นการขอสังเกตการณ์การชุมนุมว่า ที่จริงเจ้าหน้าที่สถานทูตสามารถไปสังเกตการณ์การชุมนุมได้ แต่ควรแจ้งกระทรวงการต่างประเทศ ปัจจุบัน สถานทูตบางแห่ง และหน่วยงานต่างประเทศบางแห่งแจ้งแล้ว เช่น สถานทูตแคนาดา และสำนักงานสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ เป็นต้น

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน