ส่อง2ด่านหินแก้รธน.สะดุด?

แก้รธน.สะดุด – การแก้ไขรัฐธรรมนูญที่จะเข้าสู่การพิจารณาของรัฐสภา ในวาระ 3 กลางเดือนมี..นี้

ยังไม่รู้ว่าจะสะดุด เพราะ ส..โหวตคว่ำ ตามที่มีส..บางส่วนออกมาประกาศล่วงหน้า

หรือต้องไปนับหนึ่งกันใหม่ ตามคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญในวันที่ 11 มี..

ถือเป็น 2 ด่านหินที่ต้องเกาะติดว่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งนี้จะไปสุดทางที่ตรงไหน

อนุสรณ์อุณโณ

คณบดีคณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา

.ธรรมศาสตร์

ต้องถือว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญที่ผ่านวาระ 2 มาได้ เป็นแนวโน้มที่ดี ทั้งที่มาส... 200 คน ที่กมธ.หยิบยกของพรรคร่วมฝ่ายค้านมาพิจารณา การอภิปรายก็ไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงสาระสำคัญในสิ่งที่กมธ.เสนอมามากนัก เช่น สามารถแก้มาตรา 256 ได้ โดยใช้สัดส่วน 3 ใน 5 ซึ่งมองแง่ดีถือว่าเป็นส่วนหนึ่งในการปิดสวิตช์ ส..

รวมความแล้วการอภิปรายในวาระ 2 พอจะเป็นความหวังได้บ้างที่จะคลี่คลายปัญหาซึ่งส่วนสำคัญมาจากรัฐธรรมนูญที่เอื้อการสืบทอดอำนาจ

ส่วนที่ส..ประกาศชัดเตรียมคว่ำวาระ 3 นั้น ถ้า ส..เห็นแก่ประโยชน์ของประเทศชาติและสังคมเป็นตัวตั้งก็ควรคำนึงถึงบทบาทของตนเอง ในฐานะที่ได้รับการแต่งตั้งขึ้นมาอย่างไม่ชอบธรรม จึงไม่อยู่ในสถานะที่จะทำเช่นนี้ได้ ส..ควรใช้โอกาสนี้ทำสิ่งที่ไม่ถูกต้องชอบธรรมให้มีความชอบธรรมมากขึ้น โดยการให้วาระที่ 3 ผ่านไป

ที่ส..อ้าง 38 มาตรา มีเนื้อหาเกี่ยวกับพระราชอำนาจนั้น ไม่ได้อยู่ในหัวข้อการพิจารณาครั้งนี้ หมวด 1 กับหมวด 2 มีประเด็นอยู่แล้ว ถ้า ส..ยึดมั่นในหลักการประชาธิปไตยก็ควรเปิดโอกาสให้ ส...ชุดนี้เกิดขึ้นให้ได้ เก็บ 38 มาตรานี้ไว้ก่อนแล้วค่อยว่ากันต่อในอนาคตก็ยังได้

แต่ประเด็นสำคัญที่แทรกซ้อน คือ การที่ศาลรัฐธรรมนูญรับคำร้องให้วินิจฉัยว่ารัฐบาลมีอำนาจในการแก้รัฐธรรมนูญหรือไม่ ซึ่งน่าวิตกกังวล จะเห็นได้จาก คำสัมภาษณ์ของบุคคลที่เกี่ยวข้อง แนวโน้มดูจะไปในทิศทางที่มีการอภิปรายในวันที่ 24-25 .. ที่ผ่านมา โดยเฉพาะการแก้มาตรา 256 และการแต่งตั้ง ส... จะกลายเป็นโมฆะ

ถ้าหากแนวทางในการวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญออกมาว่าอำนาจหน้าที่ของรัฐสภาทำได้เฉพาะการแก้รายมาตรา สิ่งที่ทำมาก็จะไม่มีความหมาย วาระที่ 3 แทบจะไม่ต้องมีการลงคะแนนเลย หากเป็นเช่นนั้นจะเป็นการสร้างเงื่อนไขความขัดแย้งครั้งใหม่

ถ้าสภาแก้รัฐธรรมนูญไม่ได้ก็เหมือนการขัดขวางไม่ให้สังคมเดินหน้าไปได้ ทั้งที่ความเป็นจริงควรเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนกำหนดชะตากรรมหรืออนาคตของประเทศนี้ร่วมกันโดยให้มีการแต่งตั้ง ส... ขึ้นมา

หากรัฐสภาไม่มีอำนาจแก้รัฐธรรมนูญคงต้องอาศัยกระแสสังคมกดดันที่ผ่านมาที่เดินมาถึงชั้นนี้ได้ส่วนหนึ่งมาจากกระแสสังคมที่ตื่นตัวทำให้เราแก้ไขได้โดยเร็ว

ดังนั้น สังคมต้องผนึกกำลังกันอีกครั้งเพื่อชี้ให้เห็นว่าตรงนี้เป็นทางออกของประเทศ และไม่ควรจะมีใครมาขัดขวาง มิเช่นนั้นจะเกิดทางตันและเป็นวิกฤตระลอกใหม่ขึ้นอีกครั้ง

หากไม่สามารถแก้ไขรัฐธรรมนูญได้ ประเทศก็ยังคงต้องอยู่กับการเมืองแบบเก่า เราจะมีรัฐธรรมนูญฉบับ 2560 ที่วางองคาพยพซึ่งตอบรับกับการสืบทอดอำนาจของกลุ่มคนที่ฉีกรัฐธรรมนูญ กติกาที่ว่าด้วยการเข้าสู่อำนาจ เช่น การเลือกตั้ง ก็จะไม่มีการเปลี่ยน และจะยังคงได้เห็นรัฐบาลประยุทธ์ 3 อีกครั้งหนึ่ง

ขึ้นอยู่กับสังคมว่าต้องการจะเห็นความเปลี่ยนแปลงแบบไหน ถ้าคิดว่าสภาพตอนนี้มันเกินจะทนแล้ว ต้องการเห็นความเปลี่ยนแปลงภายใต้กติกาที่เราเขียนร่วมกันก็ต้องมาช่วยกันผลักดันให้วาระ 3 ผ่านไปให้ได้

ยิ่งชีพ อัชฌานนท์

ผู้จัดการโครงการ

อินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน (ไอลอว์)

การแก้ไขรัฐธรรมนูญคงต้องว่ากันในวาระ 3 ที่มีความน่ากังวลอยู่ว่า ส..จะโหวตให้หรือไม่ ซึ่งเสียงส.. 1 ใน 3 มีอำนาจคว่ำได้ อำนาจอยู่ในมือเขาที่จะโหวตอย่างไรก็เป็นเอกสิทธิ์เขาเอง ซึ่งไม่ว่าแต่ละคนจะโหวตอย่างไรก็ตาม ก็มีหน้าที่อธิบายต่อสังคมให้ได้ว่าการโหวตรับหรือไม่รับเพราะอะไร

ทั้งนี้ สิ่งที่กังวลมากที่สุดคือการที่ ส..พลังประชารัฐ และส.. ส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความปัญหาเกี่ยวกับหน้าที่และอำนาจของรัฐสภา ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 210 วรรคหนึ่ง (2)

ถ้าศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่ารัฐสภาไม่มีอำนาจหน้าที่ในการแต่งตั้ง ส...มาเขียนรัฐธรรมนูญใหม่จะมีผลร้ายต่อประเทศมากจะทำให้เราไม่มีโอกาสเปิดทางเพื่อเขียนรัฐธรรมนูญใหม่ทั้งฉบับด้วยระบบกติกากลไกของรัฐสภาที่มีอยู่ได้เลย

ไม่ว่าจะกี่ร้อยปีข้างหน้าไม่ว่าประเทศจะมีรัฐธรรมนูญแบบไหนสภาแบบไหนรัฐบาลแบบไหนเราจะไม่สามารถทำความตกลงพูดคุยกันได้ว่าเรามาเขียนรัฐธรรมนูญใหม่กันเถอะโดยตัวแทนที่มาจากประชาชนหรือด้วยความชอบธรรมอะไรก็แล้วแต่

จึงไม่เห็นเหตุผลเลยที่สภาไม่สามารถตั้ง ส...ได้ ด้วยเหตุผลอะไร เพราะการจะตั้ง ส...อย่างไรก็ต้องถามประชามติก่อนว่าจะให้ตั้งส...หรือไม่ และหลังร่างเสร็จแล้วก็ต้องถามว่าร่างของ ส...ที่ทำขึ้นประชาชนจะเห็นด้วยหรือไม่อยู่แล้ว

ดังนั้นไม่มีอำนาจอะไรใหญ่กว่าการให้ประชาชนออกเสียงประชามติอยู่แล้ว

หาก ส..พลังประชารัฐ หรือ ส..คนไหนเห็นว่ารัฐธรรมนูญฉบับที่ร่างอยู่นี้ ดีหรือไม่ดี อย่างไร มีข้อเสียที่ไม่ควรให้ผ่านอย่างไร ก็ควรใช้อำนาจเอกสิทธิ์ของตัวเองโหวตวาระที่ 3 อย่าไปยืมมือศาลรัฐธรรมนูญ มันจะผิดหลักการไปทั้งหมด

ส่วนประเด็นที่มาส...นั้นแปลก ระบบ 200 คน 200 เขตถูกเสนอในชั้นสุดท้ายวาระ 2 ไม่มีใครรู้มาก่อนว่าระบบนี้ใครคิดและมีข้อดีอย่างไรแต่ที่แน่ๆเห็นข้อเสีย

สมมติ กทม.มี 18 เขต คนที่บางกะปิ พระนคร ตลิ่งชัน จะเห็นต่างกันอย่างไรในการร่างรัฐธรรมนูญ ทำไมต้องมีตัวแทนเขตละคน เหตุผลที่พอเข้าใจได้คือ ทำไมส..โหวตแบบนี้เพราะเขาหาเสียงง่ายกว่าเขาชินเขตเล็ก

แต่การใช้ประเทศเป็นเขตเลือกตั้งคือการแข่งกันที่นโยบายไม่ใช่แข่งกันเคาะประตูบ้านและเรื่องรัฐธรรมนูญเป็นเรื่องระดับประเทศแต่เมื่อออกมาแบบนี้ขอให้ประชาชนดูที่นโยบาย

แต่แม้ระบบเลือกตั้งส...จะมีปัญหาหลายประการ อาจทำให้เสียงส่วนน้อยในเขตนั้นไม่มีพื้นที่ ไม่มีที่นั่งเลยก็เป็นไปได้

แต่เชื่อว่า ส...ที่มาจากการเลือกตั้งจะร่างรัฐธรรมนูญใหม่ได้ดีกว่าปี 2560 อย่างน้อยส.. 250 คน จะไม่มีพื้นที่อยู่ในรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ที่ร่างโดย ส...ที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชน

แต่ถามว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญจะไปสุดทางตรงไหน ส่วนตัวยังมองว่ายังไม่มีช่องทางที่จะได้รัฐธรรมนูญที่ดีและเป็นประชาธิปไตยในเร็วๆ นี้

จาตุรนต์ฉายแสง

อดีตรองนายกฯ

กรณี ส..บางส่วนประกาศจะคว่ำร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญวาระ 3 โดยอ้างเรื่องกระทบพระราชอำนาจนั้น เป็นเพียงข้ออ้างที่แปลกประหลาด ไม่เคยมีการนำเรื่องแบบนี้มาเป็นข้ออ้างมาก่อน รัฐธรรมนูญปัจจุบัน มาตรา 255 บังคับไว้อยู่แล้วว่าห้ามแก้เรื่องใดบ้างโดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการปกครองนอกเหนือจากนั้นไม่มีการห้าม

หรือถ้าจะแก้ไขเรื่องสำคัญอื่นๆ ก็จะมีบัญญัติไว้ว่าให้ไปทำประชามติสอบถามประชาชน หรือส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย ดังนั้น การอ้างเรื่องกระทบพระราชอำนาจจึงกลายเป็นการจำกัดการแก้ไขรัฐธรรมนูญ จนถึงขั้นใช้เป็นข้ออ้างคว่ำร่างรัฐธรรมนูญ

การแก้ 38 มาตราในอดีตก็เคยมีการแก้ไขเนื้อหาซึ่งก็มีเรื่องอื่นๆ รวมอยู่ด้วย ไม่ได้มีแค่เรื่องพระราชอำนาจอย่างเดียว ในเรื่องของพระราชอำนาจก็มีวิวัฒนาการมาโดยตลอด ไม่ใช่เขียนมาอย่างไรตั้งแต่ในปี 2475 ก็เขียนเป็นแบบเดิมอย่างนั้น จึงเป็นเรื่องจงใจหาเหตุ

ส่วนที่มี ส..พลังประชารัฐร่วมกับ ส..เสนอเรื่องต่อสภาจนมีมติส่งศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าสภามีอำนาจในการแก้ไขรัฐธรรมนูญหรือไม่นั้น ก็เป็นอีกช่องทางในการล้มการแก้ไขรัฐธรรมนูญ อธิบายเป็นอื่นไม่ได้ นอกจากต้องการรักษาระบบและอำนาจที่เป็นการสืบทอดอำนาจของ คสช. ของพล..ประยุทธ์จันทร์โอชาและพวกพ้องเอาไว้

ซึ่งเป็นเรื่องธรรมดา เพราะผู้คนเหล่านี้มีที่มาจากรัฐธรรมนูญที่ร่างมาเพื่อพวกเขา เมื่อถึงเวลาก็ต้องหาทางขัดขวางทั้งๆ ที่รัฐบาลพล..ประยุทธ์ประกาศต่อรัฐสภาว่าจะแก้ไขรัฐธรรมนูญและพรรคพลังประชารัฐก็เป็นแกนในการเสนอร่างแก้ไขครั้งนี้ด้วย

ทั้งหมดจึงเป็นเรื่องย้อนแย้ง แสดงให้เห็นว่า พล..ประยุทธ์ไม่มีความจริงใจในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ แสดงให้เห็นว่าสิ่งที่ พล..ประยุทธ์และพรรคพวกต้องการมากที่สุดคือการรักษาอำนาจไว้โดยไม่คำนึงว่ารัฐธรรมนูญฉบับนี้สร้างปัญหาร้ายแรงเป็นอุปสรรคขัดขวางการปรับตัวของประเทศให้เข้ากับโลกและสังคมที่ต้องวิวัฒนาการไปอย่างต่อเนื่อง

ขณะที่สังคมอยู่ระหว่างความขัดแย้งทางการเมืองจึงต้องการแก้โดยให้ประชาชนเป็นผู้กำหนดว่าใครควรจะเป็นรัฐบาล แต่ก็ทำไม่ได้ เพราะรัฐธรรมนูญฉบับนี้เป็นตัวปัญหา และสังคมไทยต้องอยู่กับความขัดแย้งที่ไม่มีทางออกต่อไป

จริงๆ แล้วไม่ควรมีการส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย หรือถ้าจะส่งต้องรู้ก่อนว่าสภามีมติอย่างไร การส่งเรื่องไปโดยไม่รู้ว่าท้ายที่สุดแล้วสภามีมติอย่างไร ในการแก้ไขรัฐธรรมนูญนั้น เป็นการเสนอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาเรื่องที่ยังไม่เสร็จ ซึ่งไม่มีเหตุไม่มีผลเพียงพอ

ที่สำคัญ คนเสนอเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญก็เป็นคนที่เสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญเสียเอง ทั้งหมดจึงกลายเป็นเพียงละครฉากใหญ่ที่ตบตาประชาชนไปสักพัก แล้วท้ายที่สุดคนเหล่านี้ก็ต้องการเพียงรักษาอำนาจของตนและพวกพ้อง โดยที่ประเทศชาติไม่ได้ประโยชน์อะไร

สุดท้ายแล้วแนวโน้มการแก้ไขรัฐธรรมนูญคงเป็นไปได้ยากมาก หากจะเกิดได้ พล..ประยุทธ์ต้องเกิดสำนึกได้เองว่าการรักษาอำนาจของตัวเองไว้มีแต่จะทำให้ประเทศเกิดความเสียหาย แล้วหันมาพูดกับ ส..พลังประชารัฐ และ ส..ให้เห็นแก่ประโยชน์ชาติบ้านเมืองกันบ้างเถิด

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน