อดีตนักวิจัยยูเอ็น ขานรับแนวคิด‘ทวี สอดส่อง’ ลดดอกเบี้ย-เบี้ยปรับกยศ. ชี้ตั้งกองทุน กยศ.คุ้มค่า เสริมเศรษฐกิจมั่นคง ประชาธิปไตยแข็งแกร่ง

กองทุนกยศ. – วันที่ 25 พ.ย. ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ดร.มีชัย ออสุวรรณ นักปฏิรูปการศึกษารุ่นใหม่ อดีตอาจารย์มหาวิทยาลัยในประเทศสหรัฐอเมริกาและสิงคโปร์ อดีตนักวิจัยองค์การสหประชาชาติ(ยูเอ็น) โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊ก ระบุว่า เห็นด้วยกับแนวทางที่พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง เลขาธิการพรรคประชาชาติ เสนอในเรื่องการแก้ไขปัญหาดอกเบี้ยและเบี้ยปรับ กยศ. จึงขอเสนอความเห็นเพิ่มเติม “ใครเป็นลูกหนี้กยศ.(ที่แท้จริง) ยกมือขึ้น…

เศรษฐกิจการศึกษา(Economics of Education) กล่าวไว้ว่าทุนมนุษย์ หรือตัวตน เป็นทรัพยากรที่ล้ำค่าที่สุดในการพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจของชาติ ทุนมนุษย์มีความหัศจรรย์เหนือกว่าทุนประเภทอื่นๆ มากกว่า ตึก เครื่องจักร รถ ต้นไม้และแร่ธาตุ เพราะทุนมนุษย์ไม่มีวันใช้หมด ไม่มีค่าเสื่อม ยิ่งใช้งานยิ่งมีประสิทธิภาพ ยิ่งมีคุณค่า

ดังนั้น การที่รัฐลงทุนในการศึกษา การจัดตั้งกองทุนให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) จึงเป็นการลงทุนที่คุ้มยิ่งกว่าคุ้ม งานวิจัยขององค์การ UNESCO ระบุว่าประเทศที่มีประชากรที่มีการศึกษาอยู่เป็นจำนวนมาก จะเป็นประเทศที่มีลักษณะดังนี้

-มีระบบเศรษฐกิจที่มั่นคง
-มีคดีอาชญากรรมต่ำ ไม่ต้องสูญเสียงบประมาณไปกับค่าใช้จ่ายในการจับโจรผู้ร้าย หรือ ดูแลผู้ต้องขังในเรือนจำ
-มีประชาชนที่มีระเบียบวินัย มีความรู้ มีความภาคภูมิใจ เข้าใจพหุวัฒนธรรม อยู่ร่วมกันได้บนความต่างของวัฒนธรรม
-มีประชาชนที่มีคุณภาพและสุขภาพที่ดี ช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในด้านสวัสดิการประกันและค่ารักษาพยาบาลจากรัฐ
-ประชาชนมีความเท่าเทียมกันด้านรายได้ คนมีงานทำ
-มีผู้สูงวัยที่มีคุณภาพ สามารถประกอบอาชีพสร้างรายได้ให้กับตนเองได้ในวันเกษียณ ประหยัดงบอุ้มสังคมสูงวัย
ที่สำคัญที่สุดคือ มีความเป็นประชาธิปไตยแข็งแกร่ง!

ดังนั้น ผู้ที่ได้รับประโยชน์จากหนี้กยศ. จึงไม่ใช่แค่ผู้เรียนเท่านั้น แต่รวมถึงรัฐบาลกลาง รัฐบาลท้องถิ่น สถาบันการศึกษา และภาคเอกชน แต่สถานการณ์ของประเทศไทยในปัจจุบัน ภาครัฐกลับมมาตรการในการผลักภาระทางการเงินจากภาครัฐไปสู่ผู้เรียน ผู้ปกครอง และผู้ค้ำประกัน…

ทั้งๆที่ภาครัฐเองก็เป็นผู้รับประโยชน์จากหนี้สิน กยศ. ทั้งทางตรงและทางอ้อม ทั้งที่เป็นตัวเงินและที่ไม่อาจตีค่าเป็นตัวเงินได้

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน