ดุลยภาค ชี้การเมืองผสมโซนสีเทา ทหารแปลงกายสวมบทประชาธิปไตย กองทัพเซนซิทีฟจนได้กลิ่นอายการเมืองซ้ายขวา เตือนอนาคตใหม่ลดอีโก้ ระวังตอบโต้ระดับใหญ่

วันที่ 21 มิ.ย. ที่ร้านเบรนเวก มติชนอคาเดมี จัดเสวนา “ประชาธิปไตยเมื่อไหร่จะตั้งมั่น” โดยมีผู้ร่วมเสวนา ได้แก่ นายประจักษ์ ก้องกีรติ อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และนาย ดุลยภาค ปรีชารัชช อาจารย์ประจำโครงการเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

นายดุลยภาค กล่าวว่า มองการเมืองแบบผสม โซนสีเทา แยกย่อยกันออกไป เช่น เผด็จการที่จัดให้มีการเลือกตั้ง และมีการควบคุมทรัพยากรต่างๆ เช่นเดียวกับสิงคโปร์ กัมพูชา อีกหนึ่งเผด็จการที่มีการแข่งขัน ซึ่งกรณีของไทยเผด็จการกึ่งแข่งขันกึ่งครอบงำ ฉะนั้นก็ตาม การก่อตัวของเพื่อไทย คะแนนของอนาคตใหม่มีมากขึ้น และทำให้พปชร.ไม่สามารถครอบคลุมได้ แต่มีการแข่งขันกันมากขึ้น

พปชร.ถือกำเนิดขึ้นไม่นาน แต่มีความผูกมัดในรัฐสภามาก ยังมองว่า ส.ว.ไม่ใช่พรรคการเมือง พรรคคือต้องผ่านมาจากการเลือกตั้ง แต่ส.ว.ที่มานั้นมีการจำแลงขึ้นมาเท่านั้น เป็นอำนาจอภิสิทธิ์ มันเป็นสิ่งสำคัญ ในเชิงสถานบันการเมือง ใช้อำนาจของทหารเข้ามา

นายดุลยภาค กล่าวว่า ขอชมเชยพล.อ.ประยุทธ์ก่อนเลยที่เปลี่ยน มีการแปลงรูปทรงเครื่องให้มีการแข่งขันกันมากขึ้น แต่เราน่าจะได้คิดมากขึ้นคือ เราพยายามที่จะผ่านคลื่นที่จะออกจากเผด็จการมาหลายรอบแล้ว ตั้งแต่ปี 2475 จนมาถึงยุคพล.อ.ประยุทธ์ที่มาเปลี่ยน แต่คงมีเพียงสิ่งที่มีความก้าวหน้าขึ้น คือ ให้ชุดทหารแปลงมาเป็นประชาธิปไตย

ตนแบ่งให้เป็น 5 ห้องปริมณฑลคนคสช. คือ 1.ชนชั้นนำ 2.พลังของทหารสูง 3.นโยบายภายใน 4.การรักษาความมั่นคงภายใน และ5.จัดทำแผนยุทธ์ศาสตร์แบบองค์กรทหารพลเรือนอย่ามายุ่ง เชื่อว่าอำนาจ คสช.แน่นพลังทหารมีสูงอยู่

อย่างไรก็ตามมองกองทัพเซนซิทีฟจนทำให้กลิ่นอายของการเมืองขวา ซ้าย ไขว้กัน แต่ถ้ามองเรื่องพลเรือนจะเข้ามาจัดการกับกองทัพได้นั้นคงยังไม่ได้ เพราะพลเรือนยังมีอำนาจอะไรบางอย่างอยู่ ลักษณะที่กัมพูชา นายทักษิณ ชินวัตรมีหลายอย่างที่ใช้กลยุทธ์พลเรือนอย่างพอเหมาะพอควร แต่ก็ถูกรัฐประหารอยู่ดี อย่างไรก็ตามจะไปบอกให้กองทัพเปลี่ยนก็คงยาก แต่กลยุทธ์พลเรือนเองก็ต้องเลือกระดับใช้ให้ถูกระดับมันก็น่าจะไปกันได้

เสวนา “ประชาธิปไตยเมื่อไหร่จะตั้งมั่น” @Brainwake Matichon Academy

เราจะเทียบพล.อ.ประยุทธ์ จอมพลถนอมก็ไม่ได้ เพราะจอมพลถนอมเขาพ้นไปเพราะปัญหาด้านสุขภาพ แต่อย่างไรคงต้องขึ้นอยู่ที่ตัวผู้นำด้วย ซึ่งมี 2 ตัว คือ รัฐบาล และกองทัพ อีกอย่างที่เพิ่มมาคือพรรคพลังประชารัฐและพันธมิตรด้วย เมื่อเช่นนี้แล้วมองว่าพรรคยังมีปัญหาอยู่ ดังนั้นคงต้องมาดูการเปลี่ยนแปลงประชาธิปไตยได้หรือไม่ และดูอายุของคนของพล.อ.ประยุทธ์ด้วย

นายดุลยภาค กล่าวแนะนำพรรคอนาคตใหม่ไม่ให้ถูกยุบว่า ที่ผ่านมาตนสังเกตุความเคลื่อนไหวของพรรคทั้ง นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ หัวหน้าพรรค นายปิยบุตร แสงกนกกุล เลขาธิการพรรค หรือแม้แต่น.ส.พรรณิการ์ วานิช โฆษกพรรค ที่มีลักษณะที่โดดเด่น มีบทบาท มันเหมือนกับว่าเป็นตัวแทนภาคประชาธิปไตย

แต่บางครั้งก็มีอธิปไตยคือมีอีโก้สูงมาก เชื่อว่ามีกระแสไม่พอใจ และต่อต้านอยู่พอสมควร พึงระวังการตอบโต้ระดับใหญ่ ยุบพรรคนั้นมีความเป็นไปได้สูงอยู่แล้ว ซึ่งพรรคอนาคตใหม่จะต้องปรับตัว

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน