ปิยบุตรซักฟอกเข้มปมถวายสัตย์

ปิยบุตรซักฟอกเข้มปมถวายสัตย์ : เมื่อวันที่ 18 .. ที่รัฐสภา ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎรได้พิจารณาญัตติของฝ่ายค้าน เพื่ออภิปรายทั่วไปแบบไม่ลงมติตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 152 ในประเด็นการถวายสัตย์ปฏิญาณไม่ครบถ้วนตามรัฐธรรมนูญของพล..ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม และคณะรัฐมนตรี (ครม.) และการแถลงนโยบายของรัฐบาลต่อรัฐสภาโดยไม่แจ้งที่มาในการใช้จ่ายงบประมาณ

นายปิยบุตร แสงกนกกุล ส..บัญชีรายชื่อ พรรคอนาคตใหม่ (อนค.) ได้อภิปราย ดังนี้

ในการประชุมร่วมกันของรัฐสภาเพื่อให้ครม.ได้แถลงนโยบายเมื่อวันที่ 25 ..ที่ผ่านมา ผมเป็นผู้หยิบยกประเด็นเรื่องการถวายสัตย์ปฏิญาณของพล..ประยุทธ์ ขึ้นมาหารือ เพราะเห็นว่าเป็นประเด็นที่สำคัญ และส่งผล ต่อความสมบูรณ์ของการถวายสัตย์ อันอาจทำให้ครม. ยังไม่สามารถเข้ารับหน้าที่ได้

โดยขอยืนยันว่าพร้อมรับผิดชอบในการพูดประเด็นนี้ แต่ ไม่มั่นใจว่า พล..ประยุทธ์ซึ่งเป็นผู้กล่าวนำถวายสัตย์ไม่ครบถ้วนตามรัฐธรรมนูญจะกล้ารับผิดชอบการกระทำของตัวเองบ้างหรือไม่ หากวันนั้นพล.. ประยุทธ์ยอมรับ ปัญหาจะทุเลาลงกว่านี้ สามารถแก้ไขได้ทันท่วงที แต่เมื่อนายกฯนิ่งเงียบปล่อยให้ผ่านไป 2 สัปดาห์ จึงเริ่มออกมายอมรับอย่างชัดแจ้ง และมีปัญหาทางกฎหมายพัวพันอีนุงตุงนังไปหมด เพราะครม.ชุดปัจจุบันเข้ารับหน้าที่แล้ว มีการประชุมทุกวันอังคาร และมีการออกมติ ครม. จำนวนมาก

ผมศึกษาวิชากฎหมายรัฐธรรมนูญ มาค่อนชีวิต เรียนและประกอบอาชีพ ด้านนี้มา ทราบดีว่าองค์กรตามรัฐธรรมนูญทั้งหลายต้องถวายสัตย์ และถ้อยคำในการถวายสัตย์ต้องมีประโยคทั้งจะรักษาไว้และปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยทุกประการทุกครั้ง ผมพยายามตรวจสอบข้อมูล หลายทาง แต่สุดท้ายก็เก็บความสงสัยไว้ ตั้งใจมาถามในที่ประชุมสภา ตั้งกระทู้ถามสดเพื่อหาทางแก้ไขร่วมกัน ไม่ได้คิดจะล้มรัฐบาล แต่น่าเสียดายที่นายกฯหลบเลี่ยงไปมา

ด้วยเหตุนี้ 7 พรรคฝ่ายค้านจึงจำเป็นต้องเข้าชื่อเพื่อเสนอญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไปตามมาตรา 152 ในวันนี้

ขอชื่นชมและแสดงความเห็นด้วยกับประธานสภาที่ได้วินิจฉัยชัดแจ้งแล้วว่า คำสั่งของศาลรัฐธรรมนูญเมื่อวันที่ 11 ..ที่ผ่านมา ที่ไม่รับคำร้องกรณีที่ผู้ตรวจการแผ่นดินส่งไปนั้น ไม่ได้เกี่ยวข้องกับการอภิปรายในวันนี้ เนื่องจากศาลรัฐธรรมนูญไม่ได้ทำเป็นคำวินิจฉัย จึงไม่ได้ผูกพันกับพวกเรา ดังนั้นขอให้เพื่อนสมาชิกตระหนักให้ดีว่าเมื่อศาลรัฐธรรมนูญตัดสินแล้ว ไม่ได้แปลว่าสภาทำอะไรไม่ได้เลย

ในเรื่องการถวายสัตย์นั้น ขออภิปราย 4 ประเด็น ประเด็นแรกคือ องค์กรสำคัญระดับรัฐธรรมนูญต้องถวายสัตย์ก่อนเข้ารับหน้าที่ เพราะ 1.การถวายสัตย์ของครม.เป็นเงื่อนไขบังคับก่อนเข้ารับหน้าที่ เมื่อมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งแล้ว จะรับหน้าที่ได้ต่อเมื่อมีการถวายสัตย์ มีข้อยกเว้นเดียวตามรัฐธรรมนูญ 2560 มาตรา 24 วรรคสอง ที่ระบุกรณีที่พระมหากษัตริย์ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ผู้ซึ่งต้องถวายสัตย์ปฏิบัติหน้าที่ไปพลางก่อน พูดง่ายๆ คือหากไม่มีการปฏิญาณก็ไม่มีการเข้ารับหน้าที่ ดังนั้น การถวายสัตย์จึงเป็นแบบพิธีสำคัญ เป็นเงื่อนไขบังคับ ที่กำหนดแบบนี้เพราะจะได้มีเส้นแบ่งให้ชัดว่าครม.ชุดที่แล้วจะสิ้นสุดการรักษาการลงเมื่อไหร่ และครม.ชุดใหม่จะเข้ารับหน้าที่วันไหน

2.การถวายสัตย์คือการยืนยันหลักความเป็นกฎหมายสูงสุดของรัฐธรรมนูญ ถ้อยคำทั้งจะรักษาไว้และปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยทุกประการเป็นหัวใจสำคัญของการปฏิญาณเพื่อยืนยันว่าผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรตามรัฐธรรมนูญ จะอยู่ภายใต้ เคารพ รักษา และปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญ

3.การถวายสัตย์ของครม.เป็นการให้คำสัตย์ปฏิญาณต่อพระมหากษัตริย์และประชาชน ซึ่งเริ่มเขียนไว้ในรัฐธรรมนูญตั้งแต่ปี 2492 และเหตุผลที่ต้องเขียนถ้อยคำถวายสัตย์ลงไป เพื่อให้เกิดความสม่ำเสมอเหมือนกัน อีกทั้งเพื่อทำให้ผู้ถวายสัตย์รู้ตัวล่วงหน้าว่าจะให้คำสัตย์ว่าอะไร ถ้ารู้ตัวว่าทำตามคำสัตย์ไม่ได้ อย่ามาเป็น ถ้ารู้ว่าชีวิตนี้ท่านปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญไม่ได้ ถ้ารู้อยู่แล้วว่าอีกไม่กี่เดือนท่านจะละเมิดหรือฉีกรัฐธรรมนูญอีก อย่ามาเป็นรัฐมนตรี จะได้ไม่ต้องถวายสัตย์

ส่วนความสำคัญของการปฏิญาณเกี่ยวข้องอะไรต่อการให้คำสัตย์ต่อพระมหากษัตริย์และประชาชนนั้น อยู่ที่ระบบรัฐธรรมนูญของไทย เพราะรัฐธรรมนูญไทยเกือบทุกฉบับ ส่วนใหญ่ในมาตรา 3 จะเขียนไว้ว่า อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย พระมหากษัตริย์ ผู้ทรงเป็นประมุข ทรงใช้อำนาจนั้นทางรัฐสภา ครม. และศาล

นี่คือศิลปะในการเขียนรัฐธรรมนูญของประเทศไทยที่แยบคายที่สุด คือการหลวมรวม 2 องค์กรที่สำคัญที่สุดในราชอาณาจักรไทยคือพระมหากษัตริย์กับประชาชนเข้าไว้ด้วยกัน โดยให้พระมหากษัตริย์เป็นผู้ใช้อำนาจอธิปไตยแทนประชาชน และประชาชนเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย กลายเป็นอัตลักษณ์ทางรัฐธรรมนูญของประเทศไทย ดังนั้น เหตุที่ครม.ก่อนเข้ารับหน้าที่ต้องถวายสัตย์ เพื่อจะให้คำมั่นสัญญาต่อผู้ทรงเป็นประมุขแห่งรัฐซึ่งเป็นศูนย์รวมจิตใจและใช้อำนาจแทนประชาชน รวมถึงให้คำมั่นสืบทอดไปยังประชาชนผู้เป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตยซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงใช้อำนาจนี้แทน

อย่างไรก็ตาม ขอให้ความเป็นธรรมกับพล..ประยุทธ์ จึงลองย้อนไปถึงการรัฐประหารปี 2557 พล..ประยุทธ์เข้าดำรงตำแหน่งนายกฯเมื่อวันที่ 30 ..2557 จนถึง 9 มิ..2562 พอไปดูครม.ประยุทธ์ 1 ท่านมีโอกาสนำรัฐมนตรีเข้าถวายสัตย์ต่อพระมหากษัตริย์ทั้งสิ้น 5 ครั้ง ครั้งหลังสุดคือวันที่ 30 ..2560 พบว่าทุกครั้งกล่าวนำถวายสัตย์ครบถ้วนตามรัฐธรรมนูญกำหนด โดย 4 ครั้งแรกกล่าวตามรัฐธรรมนูญปี 2557 และครั้งที่ 5 กล่าวตามรัฐธรรมนูญปี 2560 มาตรา 161

นอกจากนั้น ยังสังเกตได้ว่าทุกครั้งพล..ประยุทธ์อ่านถ้อยคำถวายสัตย์จากบัตรแข็งซึ่งเสียบไว้ในแฟ้มสีน้ำเงินที่สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี (สลค.) เตรียมไว้ให้ แต่ในวันที่ 16 ..2562 กลับปรากฏว่านายกฯกล่าวถ้อยคำไม่ครบและไม่ได้มาจากเอกสารบัตรแข็งที่สลค.เตรียมไว้ แต่ได้หยิบกระดาษแข็งขึ้นมาจากกระเป๋าด้านข้างของเสื้อ ผมจึงไม่แน่ใจว่านายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ได้สะกิดเตือนนายกฯหรือไม่ว่าควรต้องกล่าวให้ครบ เพราะดีไม่ดีจะกลายเป็นเรื่อง ตามที่ท่านเขียนไว้ในหนังสือหลังม่านการเมือง หน้า 50-51

ที่ผ่านมาประเทศไทยไม่เคยมีปัญหานี้ แต่ในต่างประเทศเคยมีแล้ว คือกรณีนายบารัก โอบามา อดีตประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาคนที่ 44 ซึ่งกล่าวสลับคำว่า Faithfully ที่ควรอยู่กลางประโยคไปอยู่ท้ายประโยค โดยเนื้อความไม่เสียหายเลย แต่ปรากฏว่าเช้าต่อมานายโอบามาได้กล่าวปฏิญาณใหม่เพื่อแก้ไข

ขณะที่ประเทศไทย มีความเห็นต่อเรื่องนี้เป็น 2 ทาง ทางหนึ่งยืนยันว่า ในเมื่อการถวายสัตย์ไม่ครบถ้วน ก็ทำให้การถวายสัตย์ไม่สมบูรณ์ เสมือนไม่มีการถวายสัตย์ เท่ากับครม.เข้ารับหน้าที่ไม่ได้ การใช้อำนาจต่างๆ จึงไม่มีผลในทางกฎหมาย

ส่วนความเห็นอีกทางบอกว่า ครม.เข้ารับหน้าที่ได้ เพราะมีการถวายสัตย์เกิดขึ้นจริง เพียงแค่ไม่ครบ ครม.ต้องไปหาทางเยียวยาแก้ไขต่อไป แต่ไม่ว่าเราจะเห็นอย่างไร การปล่อยให้ปัญหาคาราคาซังโดยไม่จัดการ จะส่งผลประหลาดในอนาคต เช่น หากนายกฯมีโอกาสนำรัฐมนตรีคนใหม่เข้าถวายสัตย์อีกครั้ง นายกฯจะกล่าว ไม่ครบหรือตัดเสริมเติมแต่งก็ได้อย่างนั้นหรือ

การถวายสัตย์ไม่ครบถ้วนเป็นส่วนหนึ่งในอาการของโรคที่ผมให้ชื่อว่าโรคไม่แยแสรัฐธรรมนูญหลายคนสงสัยทำไมฝ่ายค้านจึงตามจิกกัดเรื่องนี้ นั่นเพราะการถวายสัตย์เป็นแบบพิธีที่สำคัญที่สุดในรัฐธรรมนูญ เพราะรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ กำหนดอำนาจหน้าที่ขององค์กรต่างๆ การที่พล..ประยุทธ์กล่าวถวายสัตย์ไม่ครบ จึงเป็นธรรมดาที่จะทำให้ประชาชนเคลือบแคลงสงสัยว่านายกฯจะเข้ารับหน้าที่โดยไม่รักษาไว้และไม่ปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญใช่หรือไม่

จริงอยู่ที่วันนี้ท่านเป็นนายกฯที่มาจากการเลือกตั้งตามระบบเลือกตั้งในรัฐธรรมนูญปี 2560 แต่สังคมรับรู้ดีว่าก่อนหน้านั้นท่านเข้าสู่อำนาจด้วยการรัฐประหาร ฉีกรัฐธรรมนูญ ตั้งตนเป็นรัฏฐาธิปัตย์ ทำอะไรหลายอย่างที่ไม่แยแสรัฐธรรมนูญ พฤติกรรมนี้ทำให้เห็นว่าท่านมองรัฐธรรมนูญเป็นเพียงแหล่งที่มาของอำนาจ วันนี้ท่านพอใจก็ใช้มัน ท่านเข้ามาตามรัฐธรรมนูญปี 2550 ไม่ได้ ท่านก็ยกเลิกมัน แล้วออกรัฐธรรมนูญปี 2557 เพื่อให้ท่านมีอำนาจพิเศษ ท่านอยากเข้ามามีอำนาจอีก จึงออกแบบรัฐธรรมนูญปี 2560 แต่กลับปฏิบัติตามไม่ได้หลายเรื่อง

ท่านอยากป้องกันตัวเองว่าประกาศ คสช.ถูกต้องตามรัฐธรรมนูญชั่วกัลปาวสาน ท่านอยากจะนิรโทษกรรมการยึดอำนาจของตัวเองซึ่งมีความผิดฐานกบฏ ท่านก็เขียนลงไปในรัฐธรรมนูญ แต่พอรัฐธรรมนูญมาตีกรอบ ท่านกลับไม่แยแส

ผมอยากเตือนสติว่าท่านเป็นนายกฯคนใหม่ที่มาตามรัฐธรรมนูญปี 2560 ดังนั้นต้องเคารพรัฐธรรมนูญ พฤติกรรมที่ท่านเคยชินเคยใช้ในอดีต ขอให้ยุติลง ในทางปรัชญาการเมืองมีตำแหน่งหนึ่งที่เรียกว่าองค์อธิปัตย์ ซึ่งท่านเคยเป็นมาแล้ว และบอกว่าตัวเองอยู่เหนือ 3 อำนาจ องค์ อธิปัตย์คือคนที่บอกได้ว่าอะไรคือข้อยกเว้น วันนี้ นายกฯและรองนายกฯมักมีเหตุผลอธิบายให้พวกท่านได้เป็นข้อยกเว้นของรัฐธรรมนูญเสมอ ในขณะที่คนอื่นต้องปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญ จนโซเชี่ยลมีเดียเริ่มตั้งฉายาให้ท่านว่าเป็นบิดาแห่งข้อยกเว้น

การถวายสัตย์ไม่ครบยังเป็นอาการของอีกโรคคือโรคไม่รับผิดชอบ ขาดความเป็นผู้นำ เพราะภายหลังประเด็นนี้ถูกเปิดเผย พล..ประยุทธ์ได้ออกมายอมรับ ขอโทษต่อครม. และประกาศขอรับผิดชอบแต่เพียงผู้เดียว ซึ่งต้องถามว่ารับผิดชอบอย่างไร การรับผิดชอบของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองมี 2 แบบ คือ ความรับผิดชอบทางกฎหมาย และความรับผิดชอบทาง การเมือง ซึ่งสำคัญกว่า เช่น การขอโทษ ต่อประชาชนและลาออกจากตำแหน่ง

สำหรับคำถามของผมต่อนายกฯคือ 1.นายกฯได้อ่านคำถวายสัตย์ที่เตรียมมาเองใช่หรือไม่ เหตุใดไม่อ่านจากกระดาษแข็งในแฟ้มสีน้ำเงินที่สลค.เตรียมให้

2.หากมีรัฐมนตรีคนหนึ่งลาออก ท่านตั้ง คนใหม่มาเป็นรัฐมนตรีแทน ท่านจะนำถวายสัตย์ปฏิญาณอย่างไร

3.ขอถามนายกฯและนายวิษณุ ว่าหากนายกฯคนต่อไป มีโอกาสเข้าเฝ้าฯแล้วกล่าวถวายสัตย์ไม่ครบถ้วน ท่านเห็นว่าสามารถทำได้หรือไม่

และ 4.ขอถามนายวิษณุ ที่ทำงานในทำเนียบรัฐบาลเกือบ 2 ทศวรรษ ท่านเคยเห็นนายกฯคนใดทำแบบพล..ประยุทธ์ หรือไม่

ขอเสนอให้นายกฯขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตถวายสัตย์ใหม่อีกครั้งให้ครบถ้วน ส่วนการกระทำต่างๆที่ได้ทำไปแล้ว จะเป็นไปได้หรือไม่ที่จะมีมติครม.อีกครั้งเพื่อชุบชีวิตรับรองมันให้สมบูรณ์ทั้งหมด

นอกจากนั้น ขอเรียกร้องให้นายวิษณุ กลับมาเป็นนายวิษณุ คนเดิม ยุติการให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายแก่นายกฯ ออกจากเรือแป๊ะมาอยู่ในเรือยุติธรรม

อย่างไรก็ตาม จากข้อเท็จจริงในวันที่ 16 ..แสดงให้เห็นว่าพล..ประยุทธ์ จงใจละเมิดรัฐธรรมนูญ ท่านได้ทำลายความเชื่อถือของประชาชนลงไปหมดสิ้น ผมไม่ต้องการทั้งพล..ประยุทธ์คนเก่าและคนใหม่ ผมไม่ต้องการให้พล..ประยุทธ์เป็นนายกฯต่อไป เพื่อแสดงความรับผิดชอบทางการเมืองต่อการถวายสัตย์ไม่ครบถ้วน เพื่อรักษาไว้ซึ่งระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

ขอเรียกร้องให้พล..ประยุทธ์ ลาออกจากตำแหน่งนายกฯ

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน