ช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาได้มีกระแสข่าวลือหนาหูถึงการรัฐประหารในเมียนมา จนกระทั่งในช่วงเช้าวันนี้ 1 กุมภาพันธ์ โฆษกพรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย ได้แถลงว่านาง ซู จี และผู้นำของพรรคหลายคน รวมทั้งประธานาธิบดี ถูกทหารพาตัวจากบ้านพักไปตั้งแต่ช่วงรุ่งสาง

วันนี้ ทีมข่าวสด จะมาพาย้อนไทม์ไลน์ตั้งแต่วันที่ข่าวลือเริ่มแพร่สะพัดจนกระทั่งถึงการประกาศใช้สถานการณ์ฉุกเฉินเป็นเวลา 1 ปีในประเทศเมียนมาให้ทุกคนได้ทราบกัน

เมื่อเดือนพฤศจิกายน 63 พรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย (เอ็นแอลดี) ภายใต้การนำของนางออง ซาน ซูจี ได้รับชัยชนะในการเลือกตั้งอย่างถล่มทลาย

ผู้สนับสนุนนางซูจีและพรรคเอ็นแอลดีฉลองชัยชนะหลังทราบผลการเลือกตั้งเมื่อ 8 พ.ย. 2563

ทำให้พรรคยูเอสดีพีที่ได้รับการสนับสนุนของกองทัพ ออกมาประกาศไม่ยอมรับผลการเลือกตั้ง พร้อมเรียกร้องให้เจ้าหน้าที่จัดการเลือกตั้งอย่างบริสุทธิ์ยุติธรรม ซึ่งสอดคล้องกับท่าทีของผู้นำกองทัพเมียนมาที่กล่าวหาว่าพรรครัฐบาลร่วมมือกับคณะกรรมการการเลือกตั้งทุจริตการเลือกตั้ง

ทางพรรคยูเอสดีพีและกองทัพยังขอให้เปิดประชุมรัฐสภาสมัยวิสามัญเพื่อหาทางออกจากสิ่งที่พวกเขาเรียกว่า “ทางตันทางการเมือง” ก่อนที่สมาชิกรัฐสภาชุดปัจจุบันจะหมดวาระลงในวันที่ 31 ม.ค. ทว่าสภาปฏิเสธ เพราะเห็นว่าเป็นอำนาจของ กกต. อีกทั้งยังเดินหน้าเรียกประชุมสมาชิกรัฐสภาชุดใหม่ในวันที่ 1 ก.พ. นี้ สร้างความไม่พอใจให้แก่นายพลคนสำคัญของเมียนมา

กกต. ระบุว่ามีผู้ออกไปใช้สิทธิเลือกตั้งกว่า 27 ล้านคน แม้มีการแพร่ระบาดของโควิด-19 ก็ตาม

26 มกราคม โฆษกกองทัพเมียนมาไม่ปฏิเสธถึงความเป็นไปได้ที่กองทัพจะยึดอำนาจเด็ดขาดเพื่อจัดการกับสิ่งที่กองทัพเรียกว่า “วิกฤตทางการเมือง”

27 มกราคม พลเอกอาวุโส มิน อ่อง หล่าย ผู้บัญชาการทหารสูงสุดของเมียนมา กล่าวในงานให้โอวาทนักเรียนเตรียมทหารแห่งวิทยาลัยป้องกันประเทศของกระทรวงกลาโหม ถึงความเป็นไปได้ในการยกเลิกรัฐธรรมนูญของประเทศ

โดยกล่าวว่ารัฐธรรมนูญคือกฎหมายแม่ของกฎหมายทั้งปวง แต่ “คงจำเป็นต้องยกเลิกรัฐธรรมนูญ หากคนไม่ปฏิบัติตาม” ทั้งนี้ถ้อยแถลงของ พล.อ. อาวุโส มิน อ่อง หล่าย และถูกเผยแพร่ในหนังสือพิมพ์เมียวดีฉบับวันรุ่งขึ้น (28 มกราคม)

28 มกราคม พบบรรยากาศน่าสงสัย เมื่อรถถังหลายชนิดวิ่งออกมาบนท้องถนน ที่นครย่างกุ้ง อ้างว่าต้องการทดสอบเครื่องจักร และโฆษกพรรคเอ็นแอลดีกล่าวว่าสมาชิกพรรคเจรจากับผู้นำทหารแต่ไม่ประสบความสำเร็จ และว่าหากเกิดการรัฐประหาร พรรคเอ็นแอลดีจะไม่ตอบโต้ด้วยกำลังทัพพม่าประกาศ “สถานการณ์ฉุกเฉิน”

29 มกราคม สถานเอกอัครราชทูตชาติต่าง ๆ อย่างน้อย 16 ประเทศ รวมถึงสหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป พร้อมด้วย สหประชาชาติ หรือยูเอ็น ต่างออกแถลงการณ์แสดงความวิตกต่อข่าวความเป็นไปได้ที่กองทัพเมียนมาอาจก่อรัฐประหาร ระหว่างสถานการณ์การเมืองถึงทางตัน

และประชาชนผู้สนับสนุนพรรคยูเอสดีพีหลายร้อยคนชุมนุมประท้วง กกต. ทั้งที่กรุงเนปิดอว์และกรุงย่างกุ้ง แต่ยังไม่มีรายงานผู้ได้รับบาดเจ็บและไม่มีรายงานการใช้ความรุนแรง

30 มกราคม กลุ่มชาวเมียนมาผู้สนับสนุนกองทัพ ร่วมด้วยพระสงฆ์สายชาตินิยม ชุมนุมประท้วงต่อต้านคณะกรรมการการเลือกตั้งที่ด้านนอกเจดีย์ชะเวดากองในนครย่างกุ้ง

ในขณะที่กองทัพเมียนมาออกแถลงการณ์สยบความเป็นไปได้ในการรัฐประหารว่าข่าวที่ออกมาเป็นความเข้าใจผิด “ขอยืนยันว่ากองทัพให้คำมั่นที่จะปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญของประเทศ และจะทำงานภายใต้กรอบของกฎหมาย ขณะเดียวกันพิทักษ์กฎหมายด้วย”หลังกองทัพเพิ่งปัดรัฐประหาร

31 มกราคม กองทัพเมียนมาแถลงการณ์ เรียกร้องให้บรรดานักการทูตต่างชาติในเมียนมาอย่าเพิ่งคาดเดาอะไรเกี่ยวกับสถานการณ์การเมืองที่เกิดขึ้นในขณะนี้ และขอให้นานาชาติ “อย่ายอมรับ” ผลการเลือกตั้งที่ผ่านมาว่าเป็นเรื่องปกติ

1 กุมภาพันธ์ กองทัพพม่าบุกจับ นางออง ซาน ซู จี ที่ปรึกษาแห่งรัฐและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของพม่า รวมถึง ประธานาธิบดีวิน มินต์ และแกนนำพรรค เมื่อช่วงเช้าตรู่วันนี้ ก่อนที่สมาชิกรัฐสภาชุดใหม่จะเปิดประชุมครั้งแรกในวันนี้

และได้ประกาศใช้สถานการณ์ฉุกเฉินเป็นเวลา 1 ปี พร้อมแต่งตั้งนายทหารยศพลเอกขึ้นดำรงตำแหน่งเป็นรักษาการประธานาธิบดีทัพพม่าประกาศ “สถานการณ์ฉุกเฉิน” 1 ปี พร้อมตั้งนายพลรักษาการประธานาธิบดี

อ่าน ทัพพม่าประกาศ “สถานการณ์ฉุกเฉิน” 1 ปี พร้อมตั้งนายพลรักษาการประธานาธิบดี
อ่าน ทัพพม่าจับ “ซู จี” ประธานาธิบดี-แกนนำพรรคโดนด้วย หลังเพิ่งปัดลือรัฐประหาร
อ่าน กองทัพเมียนมาโต้จ้องรัฐประหาร ชี้สื่อตัดตอนวาทะผบ. ทำให้เข้าใจผิด

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน