ยูเนสโก รับเรื่องแล้ว กะเหรี่ยงบางกลอย ยื่นชะลอ มรดกโลกแก่งกระจาน จี้แก้ปัญหาที่ดินทำกิน คืนยุติธรรม คดี บิลลี่ พอละจี หายตัว
เกาะติดข่าว กดติดตามไลน์ ข่าวสด
จากกรณี มูลนิธิผสานวัฒนธรรม จัดแปลหนังสือร้องเรียนของชาวบ้านบางกลอย ฉบับวันที่ 22 ม.ค.64 ส่งไปถึงคณะกรรมการมรดกโลกแห่งองค์การสหประชาชาติ
ปรากฎว่า เมื่อวันที่ 15 มี.ค.64 ทางยูเนสโกโดยผู้อำนวยการ Mechtild Rossler ได้ระบุในหนังสือฉบับนี้ว่า “ ข้าพเจ้าได้รับหนังสือของท่านลงวันที่ 22 ม.ค.64 แล้ว เกี่ยวกับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกทางธรรมชาติของพื้นที่ป่าแก่งกระจาน เราได้รับข้อมูลความห่วงใยในจดหมายของท่าน พร้อมกับหนังสือร้องเรียนของชาวบางกลอย (ใจแผ่นดิน)ที่แนบมาด้วยแล้ว เราได้ส่งข้อมูลต่อไปยังคณะกรรมการ IUCN คณะกรรมการที่ปรึกษาของเรา ที่มีหน้าที่ประเมินการเสนอชื่อการขึ้นทะเบียนฯ และได้รวบรวมเป็นข้อเสนอให้กับคณะกรรมการมรดกโลกไปแล้วด้วยนั้น
- กะเหรี่ยงแก่งกระจาน ยื่นหนังสือ ขอชะลอ มรดกโลก จี้แก้ปัญหาที่ดิน-บิลลี่ หาย
- ชาวบางกลอย หนีโควิด กลับ “ใจแผ่นดิน” เพิ่มอีก ลั่นอยู่ก็อดตาย เผยสภาพใช้ชีวิต
- สะท้อนรัฐจัดการเหลว ชาวบางกลอย หนีกลับใจแผ่นดิน สุดทนอยู่มา 25 ปี ไร้ที่ทำกิน
อยากให้ท่านทราบเรามีมาตราฐานในการทำงานที่รัฐสมาชิกจะต้องเตรียมการในการชึ้นทะเบียนฯโดยสนับสนุนให้ประเทศสมาชิกจัดให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมีส่วนร่วมให้ได้มากที่สุด ดังนั้น เราได้ส่งข้อมูลไปยังตัวแทนรัฐบาลไทย รวมทั้งแถลงการณ์ของ NGO COD และหนังสือร้องเรียนของชาวบ้านบางกลอยไปให้ทางรัฐบาลไทยพิจารณาด้วยแล้ว
การเสนอชื่อพื้นป่าแก่งกระจานเป็นมรดกโลกทางธรรมชาติจะถูกพิจารณาอีกครั้งในการประชุมครั้งที่ 44 ในระหว่างเดือนมิถุนายน/กรกฎาคม 2564 ขอขอบคุณที่ท่านให้ความสนใจในการทำงานของคณะกรรมการมรดกโลก มา ณ โอกาสนี้”
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับหนังสือที่ชาวบ้านยื่นไปนั้น มีใจความระบุว่า ชาวบ้านกว่า 107 ครอบครัว ประสบความยากลำบากขาดแคลนที่ดินทำกิน เกิดความไม่มั่นคงในที่อยู่อาศัย นอกจากนี้ยังต้องเผชิญปัญหาสุขภาพ รายได้ การเลี้ยงชีพ และด้านอื่นๆ หลังจากถูกบังคับให้อพยพจากหมู่บ้านดั้งเดิม ที่อยู่กันมาหลายร้อยปีและหลายชั่วอายุคน
ประกอบกับ นายพอละจี รักจงเจริญ หรือบิลลี่ ผู้นำในการเรียกร้องความเป็นธรรม ได้ถูกบังคับอุ้มหาย แม้ทางดีเอสไอจะพบหลักฐานสำคัญ แต่จนปัจจุบันการดำเนินคดีกับผู้กระทำผิดก็ยังไม่มีความคืบหน้า
เมื่อวันที่ 6 พ.ย.63 รัฐบาลไทยได้เชิญคณะทูตานุฑูตรัฐภาคี สมาชิกคณะกรรมการมรดกโลก 8 ประเทศ ลงพื้นที่กลุ่มป่าแก่งกระจาน ตัวแทนชาวบ้านได้รับเชิญเพียงร่วมสังเกตการณ์ แต่ไม่มีโอกาสอธิบายข้อเท็จจริงให้คณะทูตานุทูตทราบ
ชาวบ้านกะเหรี่ยงบางกลอย-ใจแผ่นดินจำนวน 110 คน นำโดย นายน่อแอะ มีมิ บุตรชายของปู่คออี้ มีมิ เสนอต่อกระบวนการขึ้นทะเบียนมรดกโลก คือ ขอให้แก้ไขที่ดินทำกินให้กับชาวบ้านเสร็จสิ้นก่อน เพราะปัจจุบันการแก้ไขปัญหาแทบตกอยู่ในสภาวะชะงักงัน ทั้งต้องการสืบทอดวิถีการทำไร่หมุนเวียน ซึ่งเป็นมรดกทางวัฒนธรรม ตลอดจนต้องการกลับไปอยู่ในพื้นที่เดิม ซึ่งเคยเป็นหมู่บ้านที่ขึ้นทะเบียนไว้กับกระทรวงมหาดไทย