แพทย์ไต้หวันเตือน 6 เครื่องดื่มที่มีกรดออกซาลิกสูง สาเหตุหลักของนิ่วในปัสสาวะ ย้ำต้องดื่มน้ำให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย เกิน 2 ลิตรยิ่งดี
ในฤดูร้อน การดื่มเครื่องดื่มเพิ่มความสดชื่นในช่วงบ่ายเป็นหนึ่งในตัวช่วยเรื่องการคลายเครียดอย่างหนึ่งที่หลาย ๆ คนชอบกระทำ แต่ระวัง! เครื่องดื่มบางประเภทอาจก่อให้เกิดโทษมากกว่าที่คิด ทั้งน้ำหนักขึ้น ไขมันพอกตับ น้ำตาลให้เลือดสูง รวมถึงนิ่วในกระเพาะปัสสาวะ
ผู้เชี่ยวชาญด้านระบบทางเดินปัสสาวะเตือนว่า แคลเซียมออกซาเลตเป็นส่วนประกอบหลักของการเกิดนิ่ว โดยออกซาเลต (Oxalates) สามารถป้องกันไม่ให้ร่างกายดูดซึมแคลเซียมได้ ดังนั้น ระดับแคลเซียมในปัสสาวะก็จะเพิ่มขึ้น แล้วนำไปสู่นิ่วในไต
นพ. เฉิน หยู่ซิน แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านระบบทางเดินปัสสาวะจากไต้หวัน เผย แคลเซียมออกซาเลตเป็นองค์ประกอบหลักของนิ่วในไต้หวันประมาณ 10% ถึง 15% ดังนั้น ควรให้ความสำคัญกับการลดการบริโภคกรดออกซาลิกในอาหาร แม้กระทั่งผู้ที่ชอบดื่มเครื่องดื่มต่าง ๆ นอกจากน้ำเปล่า ทุกคนควรใส่ใจ โดยเครื่องดื่ม 6 ชนิดที่มีกรดออกซาลิกสูง (Oxalic acid) ได้แก่
- ชา เช่น ชามะนาว ชาคาโมไมล์ ชามิ้นต์
- กาแฟ
- น้ำแครนเบอร์รี่
- เครื่องดื่มอัดลม
- เบียร์
- โกโก้
อย่างไรก็ตาม สาเหตุหลักของนิ่วในทางเดินปัสสาวะ คือ การดื่มน้ำน้อยเกินไป มักพบในผู้ป่วยจำนวนมากที่ไม่ดื่มน้ำได้ถึง 1,000 มล. ต่อวัน ดังนั้น แพทย์จึงชี้ให้เห็นว่า เป้าหมายการดื่มน้ำในแต่ละวันแนะนำให้ผู้ใหญ่บริโภคมากกว่า 2,000 มล.
หากเป็นพนักงานออฟฟิศที่อยู่ห้องปรับอากาศเป็นเวลานาน แพทย์แนะนำให้ตั้งเตือนให้ดื่มน้ำและพัฒนานิสัยที่ดีในการดื่มน้ำอย่างสม่ำเสมอ
นพ. เฉิน หยู่ซิน เตือนว่าการก่อตัวของนิ่วในทางเดินปัสสาวะสามารถชะลอลงได้ด้วยพฤติกรรมการกินและดื่มประจำวัน ทั้งนี้ การเปลี่ยนอาหาร, การดื่มน้ำ และพฤติกรรมการใช้ชีวิตเพียงอย่างเดียวไม่สามารถทำให้นิ่วหายไปในอากาศได้ แพทย์แนะนำให้ไปที่แผนกระบบทางเดินปัสสาวะโดยเร็วที่สุดพร้อมขอความช่วยเหลือจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
ขอบคุณที่มาจาก Ettoday
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
- ผลวิจัยเผย ‘ดื่มน้ำน้อย’ อันตรายกว่าที่คิด สุขภาพพัง เสี่ยงเกิดหัวใจล้มเหลว-โรคไต
- ผลวิจัยเผย! ดื่มกาแฟเป็นประจำ บ่อยครั้ง เสี่ยงเกิดภาวะไตวาย-ไตเรื้อรัง
- ภัยใกล้ตัว! ผลวิจัยเผย ดื่มน้ำหวาน-น้ำตาลสูงวันละ 2 ครั้ง เสี่ยงมะเร็งลำไส้ 2 เท่า
- ไขข้อสงสัย! ดื่มกาแฟปริมาณเท่าไหร่ ถึงทำให้เกิดภาวะขาดน้ำ-ปัสสาวะผิดปกติ