ปางโปรดพุทธบิดา

คอลัมน์ : คติ-สัญลักษณ์สถาปัตยกรรม

ปางโปรดพุทธบิดา – พระพุทธรูปปางนี้เป็นพระพุทธรูปที่ต่อเนื่องจากปางอุ้มบาตร มีลักษณะอยู่ในพระอิริยาบถยืน พระหัตถ์ขวาจีบนิ้วพระหัตถ์ (คล้ายกับปางปฐมเทศนา) ที่หมายถึงการแสดง “ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร” พระหัตถ์ซ้ายประคองบาตร

พระพุทธประวัติกล่าวว่า พระเจ้าสุทโธทนะพระราชบิดาเมื่อได้ทราบว่าพระพุทธเจ้าออกบิณฑบาตรับอาหารจากชาวบ้านนั้น พระองค์เห็นเป็นเรื่องที่เสื่อมเสีย ขัดต่อประเพณีของกษัตริย์ จึงทรงไปต่อว่าพระพุทธเจ้า

พระพุทธเจ้าจึงตรัสต่อพระราชบิดาว่า นี่เป็นประเพณีของตถาคต (คำว่าตถาคตหมายถึงผู้ไปดีแล้ว) หรือวิถีชีวิตของพระพุทธเจ้าหรือพระภิกษุผู้ปรารถนาที่จะพ้นไปจากทุกข์ทั้งปวง ที่จะยังชีวิตด้วยการให้ของผู้อื่น (เพราะการยังชีวิตด้วยการให้ของผู้อื่น ผู้นั้นย่อมไม่ต้องปรุงแต่ง แสวงหา วุ่นวายอยู่ด้วยการจัดทำจัดหาอาหาร ปรุงอาหาร เพื่อบำเรอตนด้วยความยินดีในรสอันเกิดจากลิ้น (เรียกว่า ชิวหาวิญญาณ) อันเป็นส่วนหนึ่งของการบำเรอตนด้วยสิ่งที่เรียกว่า กามสุขัลนุโยค ให้พระราชบิดาเข้าใจและทรงบรรลุธรรมในลำดับที่เรียกว่าโสดาบัน)

ชวพงศ์ ชำนิประศาสน์

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน