อาเซียนตั้งบรูไน – รอยเตอร์ รายงานว่า อาเซียนใช้เวลายาวนานหลายเดือนกว่าจะเลือกและแต่งตั้ง นายอีรีวัน ยูซอฟ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศบรูไน เป็นผู้แทนพิเศษอาเซียนเพื่อทำภารกิจยุติความรุนแรง รวมถึงเปิดการเจรจาระหว่างรัฐบาลทหารและฝ่ายต่อต้านรัฐบาลในเมียนมา นับจากเกิดเหตุรัฐประหาร วันที่ 1 ก.พ. 2564

ระหว่างการแข่งขันกันเป็นผู้แทนพิเศษด้านกิจการเมียนมา รวมถึงไทยและอินโดนีเซีย ที่ประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน 10 ประเทศ ผ่าทางตันด้วยการแต่งตั้งนายอีรีวัน พร้อมกำหนดภารกิจด้านความช่วยเหลือมนุษยธรรม

อาเซียนตั้งบรูไน

FILE – In this Sept. 30, 2019, Dato Erywan Pehin Yusof, Second Minister for Foreign Affairs and Trade of Brunei, addresses the 74th session of the United Nations General Assembly in New York. (AP Photo/Richard Drew, File)

ส่วนสำนักข่าว เอพี รายงานว่า นายอีรีวันเป็น 1 ใน 4 ผู้เข้าชิงตำแหน่ง ซึ่งคนที่ทางการเมียนมาสนับสนุนคือนักการทูตของไทย แต่สุดท้ายการคัดเลือกมาลงตัวที่ผู้แทนจากบรูไน

นอกจากนี้ การตัดสินใจที่เมียนมายอมให้อาเซียนดังกล่าว สะท้อนว่า คณะรัฐประหารเมียนมาต้องการพึ่งพาแรงสนับสนุนจากอาเซียน ในยามที่ถูกนานาประเทศรุมประณาม

กองทัพเมียนมา “ถลุงงบประมาณ”

FILE PHOTO: Myanmar soldiers walk along a street during a protest against the military coup in Yangon, Myanmar, February 28, 2021. REUTERS/Stringer/File Photo

สิธาร์โต สุรีโยดิปูโร หัวหน้าทีมความร่วมมืออาเซียน ประจำกระทรวงการต่างประเทศ เผยกับนักข่าวที่กรุงจาการ์ตา ว่า กระบวนการกล่อมเมียนมาให้ยอมรับในตัวทูตอาเซียนและการต่อรองต่างๆ นั้นยากเย็นแสนเข็ญ ตนและนายอีรีวันจะเขียนไทม์ไลน์ในภารกิตที่จะช่วยลดความรุนแรง และพบปะทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง

ASEAN Secretariat in Jakarta, Indonesia. Southeast Asia’s top diplomats were meeting Monday, Aug. 2, 2021. (AP Photo/Tatan Syuflana, File)

นายสิธาร์โตกล่าวว่า แถลงการณ์ร่วมนี้ไม่ได้เอ่ยถึงว่า อาเซียนยอมรับรัฐบาลทหาร

“ตอนนี้เมียนมาต้องร่วมมือในบริบทของอาเซียน เพราะความสำเร็จของทูตพิเศษอาเซียนจะเป็นความสำเร็จของเมียนมาในการจัดลำดับวิกฤตที่ตอนนี้มีหลายชั้น เกี่ยวพันไม่เฉพาะเรื่องการเมือง ยังรวมถึงเศรษฐกิจ และย่ำแย่ลงด้วยสถานการณ์โควิด-19” สิธาร์โตกล่าว

 

อย่างไรก็ตามหลังจาก อาเซียนตั้งบรูไนเป็นทูตพิเศษแล้ว เบื้องต้นนี้ยังไม่แน่ชัดว่า เมื่อใดที่ผู้นำทหารพม่าจะยอมให้ทูตพิเศษอาเซียนเข้าพบ นาง ออง ซาน ซู จี ซึ่งถูกควบคุมตัวตั้งแต่รัฐประหาร อีกทั้งยังถูกดำเนินคดียาวเป็นหางว่าว

นับจากเหตุรัฐประหาร รัฐบาลทหารสั่งปราบปรามประชาชนที่ต่อต้านไปแล้วมากกว่า 900 ราย ส่วนยอดผู้เสียชีวิตในกลุ่มตำรวจทหารก็เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เช่นกัน ในขณะที่กลุ่มติดอาวุธต่อต้านรัฐบาลทหารพม่าผุดขึ้นทั่วทั้งเขตเมืองและเขตชนบท

ส่วนนายพลมิน อ่อง ไหล่ หัวหน้าคณะรัฐประหารตั้งตนเป็นนายกรัฐมนตรี สัญญาจะจัดเลือกตั้งที่เลื่อนออกไปในอีก 2 ปีข้างหน้า และร่วมมือกับอาเซียนหาทางออกทางการเมือง

นางซู จี ถูกนำตัวขึ้นศาล

วันเดียวกัน น.ส. เวนดี เชอร์แมน รมช.ต่างประเทศสหรัฐ พบปะพูดคุยกับผู้แทนรัฐบาลพลัดถิ่น เมียนมา เป็นการพบปะติดต่อครั้งแรกระหว่างเจ้าหน้าที่ระดับสูงสหรัฐกับกลุ่มต่อต้านรัฐบาลทหาร

ตัวแทนรัฐบาลพลัดถิ่นเมียนมาคือ ซิน มาร์ อ่อง ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีต่างประเทศของรัฐบาลเอกภาพแห่งชาติ หารือกับรัฐมนตรีสหรัฐ เพื่อหาหนทางฟื้นฟูประชาธิปไตย รวมถึงการสนับสนุนความเคลื่อนไหวของกลุ่มประชาธิปไตยของสหรัฐ นอกจากนี้ยังหาทางต่อสู้กับสถานการณ์โรคโควิด-19 ระบาด

คุมเข้ม 2 ล้านคนใน “มัณฑะเลย์”

Volunteers prepare to cremate the body of a victim of the coronavirus disease (COVID-19) in the town of Cikha, Chin State, Myanmar, May 31, 2021. Picture taken May 31, 2021. Handout via REUTERS

ก่อนหน้าการหารือดังกล่าวไม่กี่ชั่วโมง นายแอนโธนี บลิงเคน รมว.ต่างประเทศสหรัฐ หารือกับตัวแทนอาเซียน และเรียกร้องให้อาเซียนกระตุ้นให้รัฐบาลทหารเมียนมายุติการใช้ความรุนแรง ปล่อยตัวบุคคลที่ถูกจับกุมอย่างไม่ยุติธรรม และฟื้นฟูประชาธิปไตยโดยทันที

………………

อ่านข่าวก่อนหน้านี้ :

มิน อ่อง ไหล่ ขยายภาวะฉุกเฉินถึงส.ค.66 ยันเลือกตั้งแน่ ตอนนี้ขอเป็นนายกฯ

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน