เยอรมัน – ซีเอ็นเอ็น รายงานว่า อัตราเงินเฟ้อในเยอรมันแตะระดับสูงสุดของประเทศในรอบ 29 ปี เมื่อเดือนกันยายนที่ผ่านมา อันเนื่องมากจากราคาพลังงานสูงขึ้น ปัญหาคอขวดของห่วงโซ่อุปทาน และการขึ้นราคาสินค้าและบริการหลังคลายล็อกดาวน์โควิด-19

Clouds illuminated by the rising sun drift over the buildings of the banking district in Frankfurt, Germany, before sunrise on Sunday, Oct. 3, 2021. (AP Photo/Michael Probst)

สำนักงานสถิติกลางของเยอรมนีออกแถลงการณ์ว่า ในเดือนกันยายน ราคาบริโภคเยอรมันเพิ่มขึ้น 4.1% เมื่อเทียบกับปีก่อน ซึ่งนายคาร์สเต็น บเจสกี หัวหน้าฝ่ายวิจัยมหภาคระดับโลกที่ ไอเอ็นจี (ING) บรรษัทข้ามชาติและบริการทางการเงินของเนเธอร์แลนด์ ระบุว่า ทุบสถิติครั้งล่าสุดคือ 4% เมื่อปี 2535

สำนักงานสถิติกลางของเยอรมนีระบุอีกว่า เฉพาะพลังงานในเยอรมนีมีราคาแพงกว่าปีที่แล้ว 14% และราคาอาหารเพิ่มขึ้นเกือบ 5% ส่วนแรงขับเคลื่อนอื่นๆ ที่ทำให้อัตราเงินเฟ้อมีทั้งการเปลี่ยนภาษีการขายหลังการระบาดใหญ่ของโควิด-19 และการขึ้นราคาในภาคสันทนาการและงานบริการ หลังล็อกดาวน์โควิด-19

 

ด้านสำนักงานสถิติสหภาพยุโรป หรือยูโรสแต็ต เผยแพร่ประมาณการณ์โดยภาพรวมว่า อัตราเงินเฟ้อในเยอรมนีคล้ายคลึงทั่วยุโรป อัตราเงินเฟ้อประจำปีของ 19 ประเทศที่ใช้สกุลเงินยูโร หรือยูโรโซน แตะ 3.4% ในเดือนก.ย. เพิ่มขึ้นจาก 3% ในเดือนส.ค.ปีนี้ และอยู่ในระดับสูงสุดตั้งแต่ปี 2551 ขณะที่ราคาพลังงานประจำปีเพิ่มขึ้นมากกว่า 17% ในเดือนก.ย. เทียบกับเดือนส.ค. ที่เพิ่มขึ้น 15.4% ส่วนราคาอาหารและบริการสูงขึ้นเช่นกัน

นายบเจสกีแห่งไอเอ็นจีอธิบายว่า แม้ว่าแรงกดดันราคาเหล่านี้บางส่วนจะอยู่ไม่นาน แต่ธุรกิจในภาคการผลิตและบริการคาดว่าจะส่งต่อต้นทุนสูงขึ้นไปถึงผู้บริโภค และการขาดแคลนแรงงานยังส่งผลกระทบด้วย

Beach chairs stand diagonally on a pedestal on the beach of St. Peter Ording, northern Germany, Saturday, Oct. 2, 2021. The beach chair season on Schleswig-Holstein’s North Sea coast is coming to an end. (Bodo Marks/dpa via AP)

“ปัญหาที่สองที่จะต้องเผชิญคือค่าแรง ความไม่ตรงกันในตลาดแรงงานระหว่างการขาดแคลนแรงงานที่มีทักษะและอัตราการว่างงานที่สูงอยู่ตลอดจนการทำให้ภูมิภาคของการผลิตมีการกระจายตัว (regionalization) อันเป็นผลมาจากความขัดแย้งในห่วงโซ่อุปทานนั้นอาจทำให้ค่าแรงสูงขึ้น”

ขณะที่นักเศรษฐศาสตร์คนอื่นคิดเช่นกันว่า อัตราเงินเฟ้อในยุโรปสามารถเป็นตัวพิสูจน์ได้อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เนื่องจากราคาก๊าซและไฟฟ้าสูงขึ้นขณะเข้าสู่ฤดูหนาว และเนื่องจากห่วงโซ่อุปทานยังฝืดเคือง

 

นายแจ็ก อัลเลน-เรย์โนลด์สนักเศรษฐศาสตร์ของยุโรปอาวุโสที่แคปิตอล อีโคโนมิกส์ กล่าวว่า “อัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นอีกดูจะค่อนข้างแน่นอนแล้ว ตอนนี้ผมคิดว่าอัตราเเงินเฟ้อ (ยูโรโซน) จะสูง 4% ภายในเดือนพ.ย.” และกล่าวว่า นั่นอาจทำให้ธนาคารกลางยุโรป (ECB) ประกาศในการประชุมเดือนธันวาคมว่า ECB จะยุติมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจจากโรคระบาดในเดือนมีนาคม

ทั้งนี้ ธนาคารกลางหลายแห่งกำลังถูกบีบให้เผชิญกับอัตราเงินเฟ้อสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องในช่วงที่การเติบโตทางเศรษฐกิจกำลังชะลอตัว จึงเกิดกังวลเกี่ยวกับความเสี่ยงมากขึ้นที่เศรษฐกิจจะซบเซา อันเป็นพิษสงจากอัตราเงินเฟ้อสูงอย่างดันทุรังและการเติบโตทางเศรษฐกิจอ่อนแอ

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง:

ผลเลือกตั้งเยอรมันสุดสูสี ซ้ายเฉือนชัย ฝ่ายขวาไร้แมร์เคิล-ดิ่งวูบ

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน