เมื่อวันที่ 9 เม.ย. ดิอินดีเพนเดนต์รายงานถึงเหตุรอยแยกบนพื้นดินเป็นแนวยาว ที่ประเทศเคนยา ทางแอฟริกาตะวันออก เมื่อไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา ส่งผลให้ชาวเคนยาหลายคนวิตกกังวลมากว่าจะเกิดภัยพิบัติ

ผู้เชี่ยวชาญหลายคนเชื่อว่าแผ่นเปลือกโลกนูเบียน หรือ อาระเบีย และแผ่นเปลือกโลกโซมาลีค่อยๆ แยกออกจากกัน

สื่อมวลชนในเคนยาที่พยายามตีข่าวว่าเหตุการณ์ดังกล่าวจะคล้ายกับหลัก plate tectonic หรือการเคลื่อนที่ของเปลือกโลก แต่ดร.เวนดี โบโฮน นักวิชาการด้านธรณีวิทยา โพสต์อธิบายทฤษฏีของตนเอง ว่า แอฟริกามีแผ่นเปลือกโลกที่ค่อยๆ แยกตัวออกจากกันอย่างช้าๆ หรือเรียกว่าริฟติ้ง (Rifting) นอกจากนี้การแยกตัวออกของแผ่นดินในแอฟริกามันมีขึ้นมาตลอดตั้งแต่หลายล้านปีที่ผ่านมา และสิ่งที่เกิดขึ้นไม่ได้ทำให้แอฟริกาแยกออกจากกันแต่อย่างใด

ข้อความบางส่วนของดร.เวนดี โบโฮน

ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น มีผลมาจากแมกม่าใต้ดินที่ส่งความร้อนดันขึ้นมาจนทำให้เกิดรอยแยกบนพื้นผิวดิน รวมไปถึงปัจจัยต่างๆ อย่างแผ่นดินไหว การกัดกร่อนของดิน แต่ส่วนใหญ่แล้วมักจะเกิดขึ้นจากแผ่นดินไหว หรือความร้อนใต้พิภพมากกว่า

อย่างไรก็ตามปัจจัยจากฝนตกหนักที่ชะล้าง ทำให้เกิดกรณีที่คล้ายคลึงกันได้เช่นกัน เนื่องจากไม่นานนักก่อนเกิดปรากฏการณ์ดินแยก ก็เกิดเหตุฝนตกหนักในเคนยา พร้อมกับโต้ว่าสิ่งที่สื่อแอฟริกาพยายามตีข่าวว่ารอยแยกพยายามแยกแอฟริกาออกจากกันนั้นไม่เป็นความจริงแต่อย่างใด

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน