ทรงพระสิริโฉม องค์สุทิดาฯทรงห่มสะพักผืนเดียวกับสมเด็จพระราชินี ในรัชกาลที่ 9

พระบาทสมเด็จ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี เสด็จฯ ในการพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช 2562 เมื่อวันที่ 4 พ.ค. พร้อมเสด็จออกมหาสมาคม และเสด็จพระราชดำเนินขบวนพระบรมราชอิสริยยศ ในพระบรมมหาราชวัง และวัดพระศรีรัตนศาสดาราม

สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดาฯ ในรัชกาลที่ 10 ทรงผ้าสะพักประจำเครื่องขัตติยราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติคุณรุ่งเรืองยิ่งมหาจักรีบรมราชวงศ์ เป็นดวงตรามหาจักรี ล้อมขอบด้วยปทุมอุณาโลมสลับจักรีไขว้ และรัดพระองค์พระปั้นเหน่งทับทิมล้อมเพชร องค์เดียวกับสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ ในรัชกาลที่ 9

(ที่มา หนูน้อยบนยอดเขาอันหนาวเหน็บ)

สำหรับข้อมูลจาก ToodGuRu ระบุว่า การห่มสะพัก เป็นรูปแบบการแต่งกายที่สะท้อนให้เห็นความประณีตบรรจงของสตรีชาวสยามในอดีต โดยการห่มสะพักนั้น หมายถึง การห่มผ้าทับลงไป บนสไบอีกชั้นหนึ่ง หรืออีกอย่าง คือ การห่มทับลงไปบนเสื้อ ซึ่งผ้าที่ไม่สัมผัสกับผิว เราจะเรียกว่า “ผ้าสะพัก” ทั่วไปแล้วสตรีชาววัง หรือที่เรียกว่าฝ่ายในจะห่มสะพัก ก็ต่อเมื่อเข้าร่วมในงานพระราชพิธีที่มีการแต่งกายเต็มยศเท่านั้น

องค์สุทิดาฯทรงห่มสะพัก

ผ้าสะพักมักนิยมใช้ผ้าตาดทอง ซึ่งเป็นผ้าที่ทอด้วยไหม กับเส้นทอง ที่เป็นแล่งเป็นริ้วเล็กๆ ที่เรียกว่า “ตาดทอง” ถ้าเป็นเงินก็เรียกว่า “ตาดเงิน” และท้ายสุดผ้าสะพักก็ยังสามารถบ่งบอกถึงบรรดาศักดิ์ของคนผู้สวมใส่ได้อีกด้วย ห่มตาด คือ คือการนำสไบมาห่มที่ลำตัวแล้วทับด้วยผ้าสะพักตาดทองที่มีการปักประดับตกแต่งลายด้วยวัสดุและเทคนิคต่างๆ อีกชั้น เวลาเส้นโลหะดำเขาจะใช้สารไซยาไนช์มาถูขัดให้เงางามเหมือนใหม่

‘สะพัก’ ในธรรมเนียมสมัยโบราณที่แสดงถึงความสุภาพต่อธารกำนัล เนื่องจากสมัยอดีตยังไม่มีชุดชั้นใน จึงใช้การห่มสไบมาปิดส่วนที่เป็นสำคัญ ห่มสไบเพียงชิ้นเดียวในการออกงาน จะถือว่าไม่มิดชิดและไม่สุภาพจึงห่มสะพักทับอีกชั้นนอกจากนี้การห่มผ้าสะพักยังแสดงถึงสถานะทางสังคมของผู้สวมใส่อีกด้วย

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน