ผู้เชี่ยวชาญด้านไวรัส เตือนบุคลากรทางการแพทย์ ต้องระวังละอองฝอยขนาดเล็กที่ติดเสื้อผ้า และจุดเสี่ยงในห้องน้ำ ของคนไข้ อาจทำให้ได้รับเชื้อ
ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดเผยถึงเรื่อง ละอองฟุ้งฝอยในอากาศกับโควิด 19 ในโรงพยาบาล สำหรับ เจ้าหน้าที่สาธารณสุข โดยระบุว่า “ปกติการแพร่ของไวรัสจะมากับละอองที่ออกมาจากการพูด การไอจาม และจะมีขนาดค่อนข้างใหญ่โดยที่เมื่อออกจากตัวผู้แพร่เชื้อจะลอยอยู่ในอากาศ ระยะหนึ่ง จากนั้นจึงตกลงมาสู่พื้นหรือเกาะติดอยู่ตามพื้นผิวของโต๊ะเก้าอี้ต่างๆ

อย่างไรก็ตามละอองฝอยเหล่านี้ โดยเฉพาะในโรงพยาบาลที่ดูแลผู้ป่วยเหล่านี้ จะมีได้ทั้งสองขนาดคือขนาดเล็กจิ๋ว submicron ระหว่าง 0.25 ถึงหนึ่ง ไมครอน และขนาดใหญ่ขึ้นมา supermicron คือขนาดมากกว่า 2.5 ไมครอน โดยละอองฝอย ขนาดจิ๋ว จะดักจับได้ในอากาศในห้องเปลี่ยนเสื้อผ้าซึ่ง “อาจ” เกิดจากการสะบัดชุดป้องกันตนออก โดยที่ผิวของชุดจะมีละอองที่เกาะติดอยู่แล้วที่มาจากผู้ป่วย หรือแม้แต่ที่ฟุ้งจากพื้นผิวในห้องผู้ป่วย และขนาดที่ใหญ่ขึ้นมานั้นที่ลอยในอากาศ พบได้ โดยเฉพาะในห้องน้ำของผู้ป่วยที่มีขนาดเล็กและอากาศไม่ถ่ายเท

ด้วยเหตุผลดังกล่าว จากรายงานของคณะผู้ศึกษาจากประเทศจีนในวารสาร เนเจอร์ ในวันที่ 26/4/63 จึงให้ความสำคัญอย่างยิ่งกับ การที่มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก การฆ่าเชื้อที่พื้นในห้องของผู้ป่วย ด้วยสารฆ่าเชื้อที่มีคลอรีน และนอกจากนั้น ในห้องแต่งตัวเปลี่ยนชุดยังต้องมี 3% ไฮโดรเจนเพอร์ออกไซด์ เพิ่มเติมด้วยอย่างน้อยอาทิตย์ละครั้ง นอกจากนั้นก่อนที่จะถอดชุดออกจะมีการสเปรย์ด้วยแอลกอฮอล์ทั่วทั้งพื้นผิวของชุด

บทความ aerodynamic Analysis of SAR-CoV-2 in two wuhan hospitals และขณะผู้รายงานได้ออกตัวไปแล้วว่ากระบวนการตรวจนั้นเป็นการตรวจชิ้นส่วนของไวรัส RNA แต่ไม่สามารถระบุได้ว่าชิ้นส่วนที่ตรวจได้นั้นจะสามารถก่อให้เกิดการติดเชื้อได้เพียงใด”

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน