นางวัลลภา ไตรโสรัส ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท แอสเสท เวิรด์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือเอกับบลิวซี เปิดเผยว่าจ ากสถานการณ์แพร่ระบาดของโควิด-19 ทำให้เห็นได้ชัดว่าการจัดพอร์ตลงทุนในการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ประเภทต่างๆ เพื่อให้มีความต่อเนื่องของกระแสเงินสดเป็นสิ่งสำคัญอย่างมาก ที่จะทำให้บริษัทสามารถผ่านพ้นวัฏจักรของธุรกิจไปได้ซึ่งในส่วนของบริษัท ในช่วงที่ผ่านมา ธุรกิจท่องเที่ยวได้รับผลกระทบ ทำให้ธุรกิจอาคารสำนักงานให้เช่าของบริษัทจึงเป็นฐานกระแสเงินสดที่ทำให้ในช่วงปีที่ผ่านมาสามารถรักษากระแสเงินสดมากกว่าค่าใช้จ่ายทั้งหมดรวมถึงค่าใช้จ่ายด้านการเงินด้วย

อย่างไรก็ดี ในส่วนของธุรกิจให้บริการห้องพัก หรือโรงแรม ถึงแม้สถานการณ์โควิดที่เกิดขึ้น แต่บริษัทยังเดินหน้าสร้างความแข็งแกร่งเพิ่มคุณภาพของแต่ละโครงการเพื่อตอบโจทย์ลูกค้ามากยิ่งขึ้น โดยมีการปรับปรุงและรีแบรนด์ เพื่อให้ตอบโจทย์ชีวิตวิถีใหม่ หรือนิวนอร์มอล โดยหลังคลายล็อกดาวน์ตั้งแต่ตั้งแต่วันที่ 1 ก.ย.ที่ผ่านมา โรงแรมในเครือทั้ง 18 แห่ง ได้กลับมาเปิดให้บริการ เพื่อต้อนรับการกลับมาของนักท่องเที่ยวโดยเฉพาะนักท่องเที่ยวในประเทศ ซึ่งบริษัทได้จัดแพ็กเกจการท่องเที่ยวที่หลากหลายในทุกโรงแรม อาทิ แพ็กเกจ Work from Hotel, Staycation

สถานการณ์โควิด ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงของทุกธุรกิจทั่วโลกอย่างฉับพลัน แต่อย่างไรก็ดีในเดือนก.ย. หลังคลายล็อคดาวน์ ซึ่งเห็นได้ชัดว่าอัตราการเข้ามาใช้บริการของลูกค้ากลับมาเท่าไตรมาส 3-4 ปีที่แล้ว โดยไม่ต้องรอการฟื้นตัวถึง 1 ไตรมาสเหมือนช่วงคลายล็อกดาวน์รอบแรก ซึ่งโมเมนตั้มที่เกิดขึ้นหลังสถานการณ์โควิดคลี่คลายไปได้ค่อนข้างเร็ว และมีพลังกว่าเดิม

ขณะเดียวกันบริษัทเริ่มเห็นวิถีการใช้ชีวิตในรูปแบบใหม่ ทำให้ต้องรีบปรับตัวเพื่อตอบโจทย์ลูกค้าให้ทันให้ได้ โดยเฉพาะสิ่งที่เห็นได้ชัดคือ มีลูกค้าคนไทยที่มาใช้บริการห้องพักโรงแรม เพื่อเวิร์กเคชั่น เปลี่ยนบรรยากาศจากทำงานที่บ้าน หรือ เวิร์ก ฟรอม โฮม มาพักผ่อนทำงานที่โรงแรม ที่สำคัญระยะเวลาในการเข้าพักยาวขึ้นจาก 2 สัปดาห์ เป็น 1 เดือน อย่างไรก็ดี เชื่อว่าเมื่อประเทศไทยเปิดประเทศให้ต่างชาติเข้าประเทศได้โดยไม่ต้องกักตัวจะมีแรงส่งจากการเข้ามาใช้บริการห้องพักของนักท่องเที่ยวต่างประเทศได้อย่างแน่นอน เนื่องจากจุดแข็งด้านการท่องเที่ยวของไทย

นอกจากธุรกิจโรงแรมหลังเกิดโควิด ถูกผลกระทบโดยตรงเป็นอันดับแรกๆ แล้ว ในส่วนธุรกิจค้าปลีก เนื่องจากบริษัทมีทั้งประเภทที่จับกลุ่มนักท่องเที่ยวโดยตรงอย่างเอเชียทีค และมีประเภทที่จับกลุ่มลูกค้าในประเทศ อย่างเกทเวย์ ตะวันนา และ พันทิป ดังนั้นรูปแบบการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ประเภทค้าปลีกจากนี้ไม่เหมือนเดิมอีกต่อไปแล้ว เนื่องจากปัจจุบันมีการให้บริการสั่งซื้อสินค้าทางออนไลน์ ที่จะตอบโจทย์ ดังนั้นสิ่งที่ลูกค้ามองหาคือ ไลฟ์สไตล์เอ็กซ์พีเรียน ซึ่งบริษัทกำลังมองหาในการปรับภาพลักษณ์ศูนย์ค้าปลีกทั้งหมด

ในขณะที่อสังหาริมทรัพย์เชิงพาณิชย์ อย่างอาคารสำนักงาน ได้มีการปรับปรุงด้วยการดึงไลฟ์สไตล์เข้าไปในทุกโครงการ พร้อมกับการเพิ่มเติมในเรื่องของเทคโนโลยีการสแกนจดจำใบหน้า และคิวอาร์โค้ด เข้าไป เพื่อเพิ่มความสะดวกปลอดภัยยิ่งขึ้น ซึ่งถือเป็นวิถึใหม่ในรูปแบบของการตอบโจทย์การทำงาน การพักผ่อนและเพิ่มความสะดวกไปด้วย

นางวัลภา ยังกล่าวในมุมกลยุทธ์สร้างการเติบโตทางธุรกิจของบริษัท ได้เตรียมแผนลงทุนในการที่จะสร้างโครงการที่เป็นจุดหมายปลายทางของการท่องเที่ยว และสร้างให้เมืองไทยเป็นหนึ่งในจุดหมาายปลายทางของการท่องเที่ยวระดับโลก ภายใต้ 3 โครงการ ประกอบด้วยเอเชียทีค ซึ่งจะเป็นการพัฒนาที่ดินในรูปแบบผสมผสานขนาดใหญ่ ที่จะตอบโจทย์ตั้งแต่แบรนด์โรงแรมระดับโลก อย่างริซคาร์ลตัน รีเซิร์ฟ เรสซิเดนซ์ เจดับบลิว แมริออท มาร์คี และออโตกราฟ รวมถึงมีสถานที่ท่องเที่ยวตลอดจนจะมีไลฟ์สไตล์ออฟฟิศ ริมแม่น้ำเจ้าพระยา

ซึ่งปัจจุบันยังอยู่ระหว่างการออกแบบโดยเอเดรียม สมิธ ทีมสถาปนิกระดับโลกที่ออกแบบตึกเบิร์จคาลิฟา ในดูไบ คาดว่าจะแล้วเสร็จ 2 ปี ส่วนแรกของโครงการคือ โซนค้าปลีกจะเปิดตัวก่อนในปี 2567 และทั้งโครงการจะเสร็จสมบูรณ์ราวปี 2573 หรือแผนพัฒนาทั้งโครงการในระยะ 9 ปีจากนี้

ส่วนโครงการอะควอทีค ดิสทริค พัทยา ซึ่งจะต่างจากเอเชียทีค โดยจะตอบโจทย์ความสุข ความสนุก ตำนานนิทานเรื่องราวต่างๆ ที่จะสร้างให้ความสวยงามและเสน่ห์ของทะเลประเทศไทย
ขณะที่โครงการเเวิ้งนครเขษม ซึ่งเป็นหนึ่งในทำเลที่มีความโดดเด่น และมีเรื่องราวด้านประวัติศาสตร์ความเป็นมาของกรุงเทพฯ และเป็นหนึ่งในย่านไชน่าทาวน์ของกรุงเทพฯ ที่มีความรุ่งเรืองทางการค้า จะเป็นมิกซ์ยูสที่มีทั้งโรงแรม ที่พักอาศัย ห้างสรรพสินค้า ศูนย์อาหาร และมีเจดีย์ทองคำ 8 ชั้น

โดยบริษัทจะสร้างเวิ้งนครเขษม ให้กลับมาเป็นแลนด์มาร์ก หรือหมุดหมายใหม่ให้กับไชน่าทาวน์ และตอบโจทย์ด้านคุณค่า โดยยังเปิดพื้นที่ให้ชุมชนสำหรับมาใช้ทำกิจกรรมในเทศกาลต่างๆ เพื่อสร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับชุมชมด้วย ส่วนงบลงทุนทั้งหมดราว 1.6 หมื่นล้านบาท โครงการจะเริ่มเปิดตัวปี 2566 ขณะนี้มีเชนโรงแรมที่เซ็นสัญญากันแล้วคือ อินเตอร์คอนติเนนตัล และอีกแห่งหนึ่งจะเป็นแบรนด์บูติกโฮเทลในเครือ IHG

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน