รฟท. ลั่นปลายปี’63 เปิดประมูลพื้นที่รอบสถานีชุมพร 130 ไร่ มูลค่า 2.6 พันล้าน เนรมิตเมืองโรงแรมริมชายหาด รับนักท่องเที่ยวนานาชาติ

ประมูลพื้นที่รอบสถานีชุมพร – รายงานข่าวจากการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผยว่า ในปี 2563 รฟท. มีแผนที่จะดำเนินโครงการพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์บริเวณสถานีชุมพร บนพื้นที่ 130 ไร่ วงเงินลงทุน 2,613 ล้านบาท โดยในช่วงต้นปี 2563 จะตั้งงบประมาณจัดจ้างที่ปรึกษาศึกษารายละเอียดความเหมาะสมโครงการเพิ่มเติมจากผลการศึกษาเดิม คาดว่าจะใช้ระยะเวลาประมาณ 4 เดือนแล้วเสร็จ ตั้งเป้าปลายปี 2563 จะสามารถเปิดประมูลพื้นที่เชิงพาณิชย์บริเวณสถานีชุมพรให้เอกชนเข้าร่วมลงทุนในรูปแบบพีพีพี

สำหรับย่านสถานีชุมพรมีพื้นที่โครงการประมาณ 208,053 ตารางเมตร หรือ 130 ไร่ ครอบคลุมพื้นที่ทั้งหมดของการรถไฟบริเวณสถานีชุมพรตั้งแต่ริมถนนนวมินทร์ร่วมใจและถนนไตรรัตน์ไปจนถึงอีกฝั่งของสถานีชุมพรคือฝั่งบ้านพักพนักงานการรถไฟ เบื้องต้นตั้งเป้าพัฒนาเป็นย่านส่งเสริมพาณิชยกรรมและท่องเที่ยวนานาชาติ โดยจะมีการก่อสร้าอาคารที่พักอาศัยให้แก่กลุ่มผู้พักอาศัยในเมืองชุมพร รองรับนักท่องเที่ยวและผู้อยู่อาศัยของการรถไฟในพื้นที่เดิมด้วย เชื่อว่าจะสามารถกระตุ้นเศรษฐกิจการท่องเที่ยวพื้นที่ที่มีความหลากหลาย

รายงานข่าวจาก รฟท. สำหรับรูปแบบการพัฒนาจะแบ่งออกเป็น 5 โซน โซนที่ 1 SRT DEVELOPMENT พื้นที่ 91.46 ไร่ เป็นพื้นที่ภายใต้การใช้กิจกรรมของการรถไฟฯ เดิมจะเป็นการใช้ประโยชน์ประเภทพื้นที่สถานีรถไฟชุมพรและพื้นที่แนวทางรถไฟ, โซน 2 RENTED AREA พื้นที่ 13.57 ไร่ จะเปิดให้เอกชนเช่าเพื่อเตรียมพัฒนาเป็นพื้นที่เพื่อรองรับรถไฟความเร็วสูง ซึ่งสอดคล้องกับแผนแม่บทพัฒนารถไฟความเร็วสูง

โซน 3 NEW COMMERCIAL &ACTiviTY พื้น 16 ไร่ เป็นพื้นที่ที่ส่วนกลางที่เป็นส่วนตลาดและพื้นที่อยู่อาศัยเชิงพาณิชย์ ซึ่งจะจัดสร้างเป็นศูนย์กลางในการรองรับกิจกรรมสำหรับกลุ่มผู้พักอาศัยใหม่ในพื้นที่และรองรับกลุ่มผู้ค้าขายในพื้นที่เดิม โดยมีแนวเส้นทางการเชื่อมต่อที่เชื่อมกับศูนย์กลางด้านคมนาคมโดยเชื่อมโยงด้วยเส้นทางเดินเท้าเส้นทางคมนาคมทางบก ซึ่งจะพัฒนาเป็นลานกิจกรรมและพื้นที่สีเขียวด้วย

โซนที่ 4 City Hotel and Tourist Center จำนวน 2 ไร่ พื้นที่บริเวณโซนริมทะเลซึ่งจะเป็นพื้นที่โซนพาณิชยกรรมและการท่องเที่ยว จะพัฒนาเพื่อรองรับนักท่องเที่ยวและผู้อยู่อาศัยในบริเวณโดยรอบ โดยแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มอาคาร ได้แก่ โรงแรม อละอาคารพาณิชกรรม กำหนดสัดส่วนพื้นที่เปิดโล่ง มีลานกิจกรรม ลานออกกำลังกายและพื้นที่สีเขียว

โซนที่ 5 SRT Town &Residential Zone จำนวน 5 ไร่ เป็นจะพัฒนาเป็นพื้นที่บริเวณโซนพักอาศัยเป็นการรองรับกลุ่มผู้พักอาศัยใหม่ในบริเวณโดยแบ่งออกเป็นสองกลุ่มคือกลุ่มอาคารที่พักอาศัยพนักงานรถไฟและกลุ่มอาคารและผู้อยู่อาศัยใหม่ที่มีจุดเด่นการพัฒนาพื้นที่สีเขียวรองรับการเดินทางในระยะใกล้

รายงานข่าวจากการรถไฟแห่งประเทศไทย แจ้งว่า แผนพัฒนาจะแบ่งออกเป็น 2 ระยะ โดยจะเป็นการสร้างอาคารและโยกย้ายกลุ่มผู้เช่าอาคารอาคาร เพื่อเปิดพื้นที่ในการพัฒนาอาคารขึ้นมาใหม่ระยะเวลาดำเนินการรวมทั้งสิ้น 2 ปี โดยระยะที่ 1 มีแผนจะก่อสร้างกลุ่มอาคารที่พักอาศัยเป็นอาคารเพิ่มต้น ระยะเวลาก่อสร้าง 12 เดือน ประกอบด้วยที่พักอาศัยพนักงานรถไฟจำนวน 4 อาคาร บนพื้นที่ 456,000 ตารางเมตร และระยะที่ 2 มีแผนจะก่อสร้างกลุ่มอาคารพาณิชย์กรรมและโรงแรม ระยะเวลาก่อสร้าง 15 เดือน โดยก่อสร้างอาคารพาณิชย์กรรมจำนวน 3 อาคาร พื้นที่ก่อสร้าง รวมทั้งสิ้น 47,000 ตารางเมตร และก่อสร้างโรงแรมและพื้นที่รองรับนักท่องเที่ยว จำนวน 1 อาคาร บนพื้นที่ 14,400 ตารางเมตร

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน