เอกชนร้องรัฐล็อกสเป็กยางทำถนนในโครงการ 1 หมู่บ้าน 1 กิโล – วอนนายกฯช่วยคลายปมเปิดกว้างเงื่อนไขการประมูล

เอกชนร้องรัฐล็อกสเป็กยาง – เมื่อวันที่ 13 ส.ค. 2562 ที่ศูนย์บริการประชาชน สำนักปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี นายพรวิสิต เรียมแสน หุ้นส่วนผู้จัดการ หจก.เมืองทองทวีทรัพย์ เป็นแกนนำนำเกษตรกร ผู้ประกอบการจำนวนประมาณ 15 คน มาเสนอหนังสือเพื่อเรียกร้องความเป็นธรรม และเรียกร้องเอาผิดกับเจ้าหน้าที่ของการยางแห่งประเทศไทย (กยท.) และผู้ที่เกี่ยวข้องกับการเขียนหลักเกณฑ์ทดสอบน้ำยางทำถนน แสดงให้เห็นถึงการเอื้อประโยชน์ต่อ 3 บริษัท คือ บริษัท โพลิเมอร์ อินโนเวชั่น จำกัด, บริษัท สยามนวกรรม จำกัด และ บริษัท ไทย อีลาสโตพาร์ท จำกัด

ทั้งนี้ หน่วยงานราชการบางหน่วยงาน ได้ออกประกาศการประกวดราคาจ้างเหมาะโครงการก่อสร้างถนนผิวจราจรดินซีเมนต์ปรับปรุงคุณภาพด้วยยางธรรมชาติ กำหนดคุณสมบัติผู้เสนอราคาและร่างขอบเขตงาน (TOR) ที่ต้องแนบเอกสารรับรองมาตรฐานวัสดุ และคุณสมบัติยางพารา ที่มีการผูกขาดให้ 3 บริษัทดังกล่าว ส่งผลให้ต้นทุนในการดำเนินงานสูง และราชการมีตัวเลือกในการแข่งขันน้อย ส่งผลให้ราคาที่รัฐบาลต้องสูญเสียจึงสูงตามไปด้วย

ดังนั้น อยากขอความเป็นธรรมจากรัฐบาล เพื่อเปิดกว้างให้กับผู้รับเหมารายเล็กๆ ในการเข้าร่วมประมูลในการทำถนน โดยยกเลิกหลักเกณฑ์ ประกาศประกวดราคา 3 ข้อ คือ 1. ต้องมีเอกสารรับรองการใช้น้ำยางพาราผสมสารเพิ่มที่ได้มาตรฐานจากบริษัท หรือหน่วยงานที่ผ่านมาตรฐานการตรวจรับรองรองมาตรฐานวัสดุ และไม่เป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อม (กรณีแต่งตั้งตัวแทน)

2.เอกสารรับรองคุณสมบัติน้ำยางพาราผสมผสารผสมเพิ่ม ว่ามีคุณสมบัติเป็นไปตามระบุในคู่มือควบคุมคุณภาพน้ำยางพาราผสมสารผสมเพิ่ม จากที่คณะกรรมการตรวจรับรองมาตรฐานวัสดุกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และ 3. เอกสารรับรองว่าน้ำยางพาราผสมผสารผสมเพิ่ม ผลิตจากดรงงานที่ดีรับรองมาตรฐานISO9001:2015 มีกระบวนการผลิตที่ได้ตามมาตรฐานอุตสาหกรรมน้ำยาง

“การกำหนดทีโออาร์ให้ใช้ยางจาก 3 บริษัทภายใต้มาตรฐานที่กำหนดนั้นถือเป็นการฮั๊วราคา กับ 3 บริษัทดังกล่าว ส่งผลให้น้ำยางพาราที่ใช้ในโครงการปรับตัวสูงขึ้น จากราคา 45-50 บาท/ลิตรเป็น 85 บาท/ลิตร ส่งผลให้ผู้รับเหมาะต้องหาวิธีลดต้นทุน ทำให้คุณภาพถนนอาจต่ำลงด้วย”

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับการกำหนดคุณสมบัติของผู้ประมูลและคุณภาพของยางพารา เพื่อทำถนนดินซีเมนต์ปรับปรุงคุณภาพด้วยยางธรรมชาติ (ถนนพาราซอยซีเมนต์) ใช้แทนถนนลูกรังในชนบททั่วประเทศ ตามโครงการ 1 หมู่บ้าน 1 กิโลเมตร ในสมัยที่นายกฤษฎา บุญราช เป็นรมว.เกษตรและสหกรณ์ โดยมีเป้าหมาย เพื่อผลักดันการใช้ยางในประเทศ และผลักดันราคาให้สูงขึ้น เป้าหมายจำนวน 75,032 หมู่บ้าน หมู่บ้านละ 1 กิโลเมตร รวมระยะทาง 75,032 กิโลเมตร ต่อมาได้เพิ่มความยาวถนนในโครงการฯ เป็น 3 แสนกิโลเมตร โดยทยอยทำปีละ 50,000 กิโลเมตร

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน