พระนอนป่าโมก จ.อ่างทอง : คติ-สัญลักษณ์ สถาปัตยกรรมพระนอนป่าโมก จ.อ่างทอง : คติ-สัญลักษณ์ สถาปัตยกรรม

พระนอนป่าโมก จ.อ่างทอง : คติ-สัญลักษณ์ สถาปัตยกรรม – อ่างทอง จังหวัดเล็กๆ ของภาคกลาง ที่ร่ำรวยด้วยศาสนสถานขนาดใหญ่ มีวัด 217 วัด จากจำนวนประชากรประมาณ 300,000 คน 7 อำเภอ ในพื้นที่ 292 ตารางกิโลเมตร

อ่างทองเป็นจังหวัดเล็กๆ แต่มีหลักฐานการมีอยู่ของชุมชนมาแต่สมัยทวารวดี มีหลักฐานการตั้งถิ่นฐานเป็นคูเมืองที่ตำบลห้วยไผ่ อำเภอแสวงหา ซึ่งคงมีการก่อตั้งชุมชนอยู่ต่อมาที่ปรากฏเป็นตำนานก็คือ โครงสร้างของพระนอนขุนอินทประมูล ที่เป็นพระนอนองค์ใหญ่ ที่เชื่อว่ามีมาแต่สมัยสุโขทัยมีอำนาจอยู่ในตอนเหนือของภาคกลาง

พระนอนป่าโมกเป็นพระนอนขนาดใหญ่เช่นเดียวกับพระนอนขุนอินทประมูล โดยมีความยาวถึง 24 เมตร ลักษณะขององค์พระน่าจะมีขึ้นในสมัยอยุธยาตอนต้น มีพระราชพงศาวดารกล่าวถึงในสมัยพระนเรศวรกับพระเอกาทศรถ ก่อนจะยกทัพไปรบกับพระยาพะสิมที่สุพรรณบุรี ได้ทำพิธีตัดไม้ข่มนามที่เมืองอ่างทองนี้

พระนอนป่าโมกนี้เดิมประดิษฐานอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา แต่เนื่องจากต้องถูกน้ำเซาะเกรงว่าตลิ่งจะพังลง มีการร้องเรียนมายังกรุงศรีอยุธยา สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้ พระราชสงครามเป็นนายกอง (ปัจจุบันเรียกกันว่าที่ปรึกษา) ไปจัดการย้ายให้อยู่ห่างจากที่เดิม 4 เส้น 4 วา ก็คือประมาณ 800 เมตร (นี่คือความสามารถประสบการณ์สำคัญของนายกองหรือที่ปรึกษาสมัยนั้นที่เคลื่อนย้ายพระพุทธรูปหรือสิ่งก่อสร้างขนาดใหญ่ที่โครงเป็นก่ออิฐถือปูนด้วยเทคโนโลยีโบราณ

การเคลื่อนย้ายพระพุทธไสยาสน์องค์นี้ จึงทำให้ไม่อาจแปลความหมายได้ว่าพระพุทธไสยาสน์องค์นี้มีคติหรือสัญลักษณ์ของธรรมะในข้อใดว่าเป็นปางทรมานอสุรินทราหูหรือปางปรินิพพาน

สิ่งที่สำคัญสำหรับพระนอนองค์นี้คือ เทคโนโลยีในการเคลื่อนย้ายองค์พระขนาดใหญ่ในสมัยที่มิได้มีเครื่องมือใดสำคัญกว่าจิตใจอันมั่นคง มีสติที่จะกำกับการเคลื่อนย้ายนั้นโดยไม่เกิดอุบัติเหตุ อุบัติภัยใดๆ

อ่านท่องเที่ยวเรื่องอื่นๆ

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน