งานวิจัยเพิ่มค่า ‘ผ้าทอล้านนา’

‘ผ้าทอล้านนา’ – กลุ่มผ้าทอฯ ลำพูน ประยุกต์ใช้งานวิจัย สร้างจุดเด่นให้ผ้าทอล้านนา ภายหลังจากสถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) หน่วยงานในสังกัดสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ถ่ายทอดเทคโนโลยีจากงานวิจัย 3 เทคโนโลยี ได้แก่ เทคโนโลยีเอนไซม์ เทคโนโลยีพิมพ์สกรีนผ้าด้วยสีธรรมชาติ และเทคโนโลยีสิ่งทอนาโน ช่วยกลุ่มผ้าทอจังหวัดลำพูนต่อยอด

‘ผ้าทอล้านนา’

มาลีอวดผ้าฝ้ายทอมือ-นาโน บ้านหนองเงือก

‘ผ้าทอล้านนา’

วิราภรณ์และกลุ่มผ้าทอบ้านหนองเงือก

การผลิตผ้าทอล้านนาให้มีจุดเด่นทั้งในด้านคุณภาพของเส้นใย เนื้อผ้าที่ละเอียด การพิมพ์สกรีนผ้าด้วยสีธรรมชาติ และคุณสมบัติพิเศษด้านนาโนฯ ขณะที่สำนักงานพาณิชย์จังหวัดลำพูนเล็งหนุนตราสินค้าลำพูน แบรนด์” (Lamphun Brand)

..วิราภรณ์ มงคลไชยสิทธิ์ รองผู้อำนวยการ สวทช. เปิดเผยภายหลังลงพื้นที่ติดตาม ผลงานผู้ประกอบการกลุ่มผ้าทอ .ลำพูน ที่ได้รับการถ่ายทอดผลงานวิจัย ภายใต้โครงการการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมสำหรับสิ่งทอพื้นเมืองที่บ้านก้อทุ่ง .ก้อ .ลี้ และบ้านหนองเงือก .แม่แรง .ป่าซาง .ลำพูนว่า พื้นที่จังหวัดลำพูนเป็นหนึ่งในพื้นที่เป้าหมาย และประสบความสำเร็จแล้วทั้ง 2 พื้นที่ในการนำงานวิจัยไปขยายผล

‘ผ้าทอล้านนา’

กัลยาณีและตัวอย่างเส้นฝ้ายผ้าทอมือ บ้านก้อทุ่ง

‘ผ้าทอล้านนา’

ด้าน นางมาลี กันทาทรัพย์ ตัวแทนวิสาหกิจชุมชนกลุ่มแปรรูปผ้าฝ้ายทอมือผ้าฝ้ายนาโนบ้านหนองเงือก กล่าวว่าบ้านหนองเงือกมีวิถีชีวิตวัฒนธรรมผูกพันกับอาชีพทอผ้ามายาวนานตั้งแต่บรรพบุรุษ แต่มักจะมีปัญหาผ้าฝ้ายแข็งกระด้าง เพื่อแก้ปัญหาในการผลิตจึงส่งแกนนำกลุ่มทอผ้าไปอบรมเทคโนโลยีกับทางสวทช. แล้วนำองค์ความรู้กลับมาพัฒนาต่อยอดปรับใช้กับการผลิตผ้าทอพื้นเมืองบ้านหนองเงือก

เช่น การใช้คุณสมบัติพิเศษจากนาโนเทคโนโลยีมาเคลือบผ้าฝ้ายและตัดเย็บเป็นผลิตภัณฑ์เสื้อผ้าเครื่อง นุ่งห่ม ช่วยแก้ปัญหาผ้าฝ้ายแข็งกระด้างให้มีความนุ่มลื่น ช่วยป้องกันสีซีดจาง สะท้อนน้ำ ยับยั้งแบคทีเรีย และมีกลิ่นหอมติดทนนาน เป็นการเพิ่มมูลค่าให้ผลิตภัณฑ์ผ้าทอพื้นเมือง ช่วยแก้ไขปัญหาผ้าฝ้ายได้ตรงจุด

ฝ้ายทอมือของหมู่บ้านหนองเงือกยังคงเอกลักษณ์ดั้งเดิมที่สืบสานมาจากบรรพบุรุษ และนำลวดลายดั้งเดิมมาประยุกต์ให้ทันสมัย เพิ่มความสลับซับซ้อนและเล่นสีสันในลวดลาย เช่น ลายเกล็ดเต่าลูกอม ลายเกล็ดเต่าหมู่ ลายเกล็ดเต่าจิ๋ว ลายเกล็ดเต่าตา ลายดอกช้าง ลายดอกนก ลายดอกบัวเครือ ลายดอกขอลายไทย ทำให้ลวดลายของฝ้ายทอมือบ้านหนองเงือกมีความหลากหลายและทันสมัยอยู่เสมอนางมาลีกล่าว

ขณะที่ นางกัลยาณี เกตุแก้ว ฝ่ายการตลาดกลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มพัฒนาอาชีพผู้สูงอายุบ้านก้อทุ่ง กล่าวว่า สวทช. และหน่วยงานพันธมิตรเข้ามาอบรมถ่ายทอดเทคโนโลยีองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เช่น การปั่นเส้นด้ายฝ้ายโดยปรับเส้นใยฝ้ายทอมือให้มีขนาดที่เล็กลง ทำให้เส้นฝ้ายมีหลายสีผสมกัน เกิดการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ลดต้นทุน ทำให้กลุ่มทอผ้าฯ สามารถสร้างผลิตภัณฑ์ผ้าพันคอ 3 สี จากเดิมขายราคา 200 บาท เพิ่มมูลค่า เป็นผืนละ 400 บาท

ในอนาคตวางแผนไว้ว่าต้องการพัฒนาพื้นที่สำหรับปลูกฝ้ายสีออร์ แกนิก เพื่อลดความเสี่ยงในเรื่องปัญหาสุขภาพของคนในชุมชนและยังสามารถพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวในฤดูฝ้ายบาน

กลุ่มผ้าทอบ้านก้อทุ่งยังต่อยอดผลิตภัณฑ์ผ้าทอยกดอกฝ้ายสีธรรมชาติซึ่งราคาขายเดิม 2,000 บาทต่อผืน หลังจากประยุกต์เทคโนโลยีนาโนเพิ่มคุณสมบัติพิเศษให้ผลิตภัณฑ์ เมื่อนำไปทดลองขายสามารถขายในราคา 4,000 บาทต่อผืน ได้ผลตอบรับที่ดีมากจากลูกค้า ผ้าสีสันคมชัด สวยงามมากขึ้น ผิวสัมผัสนุ่มลื่นขึ้นนางกัลยาณีกล่าว

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน