คอลัมน์ รู้ไปโม้ด

น้าชาติ ประชาชื่น [email protected]

น้าชาติ

ขอให้หาคำตอบด้วยว่าทำไมหลอดตะเกียบที่โฆษณาถึงประหยัด ขอคำอธิบาย บอกวิธีใช้ไฟแต่ละดวงเลือกอย่างไรด้วยก็ดีครับ

เกียรติ

ตอบ เกียรติ

เรื่องไฟฟ้าต้องถามการไฟฟ้า มีคำอธิบายจากการไฟฟ้าฝ่ายผลิตฯเกี่ยวกับหลอดตะเกียบดังนี้ หลอดตะเกียบ หรือที่เรียกว่า คอมแพ็กต์ ฟลูออเรสเซนต์-COMPACT FLUORESCENT (CFL) เป็นหลอดก๊าซดีสชาร์จ ความดันไอต่ำเหมือนกับหลอดฟลูออเรสเซนต์ทั่วไปที่มีแสงสว่างเกิดจากการยิงอิเล็กตรอนผ่านก๊าซ และไอปรอท ทำให้เกิดรังสีตกกระทบบนสารเรืองแสงที่เคลือบอยู่บนผิวหน้าด้านในของหลอด จึงทำให้เกิดการเรืองแสงเป็นแสงสว่างที่นำมาใช้งานได้ โดยมีการใช้ไฟฟ้าต่ำกว่าหลอดไส้ประมาณ 70-80% ในขณะที่มีปริมาณแสงสว่างออกมาจากตัวหลอดเท่ากัน นี่คือสาเหตุที่เราต้องใช้หลอดตะเกียบเพราะประหยัดไฟกว่ากันมาก

หลอดตะเกียบมีแสงให้เลือก 3 สี คือ 1.เดย์ ไลต์-DAY LIGHT มีแสงที่เหมาะสำหรับพื้นที่มีอุณหภูมิสูง ต้องการแสงสว่างสีขาวเพื่อให้ความรู้สึกเย็น 2.คูล ไวต์-COOL WHITE มีแสงสีขาวนวล เหมาะสำหรับงานเอกสาร แต่ส่วนใหญ่นิยมใช้ในพื้นที่สำนักงาน และ 3.วอร์ม ไวต์-WARM WHITE มีแสงสีค่อน ข้างเหลืองใกล้เคียงกับหลอดไส้ เหมาะสำหรับพื้นที่พักผ่อนที่มีอุณหภูมิเย็น
2
ส่วนอายุการใช้งานของหลอดตะเกียบอยู่ที่ประมาณ 8,000-12,000 ชั่วโมง ปัจจุบันมีราคา คุณภาพ และอายุการใช้งานให้เลือกได้หลายชนิด เวลาไปเลือกซื้อหากต้องการความมั่นใจในประสิทธิภาพและอายุการใช้งานควรตรวจสอบว่ามีฉลากเบอร์ 5 รับรองหรือไม่ สำหรับเรื่องของความปลอดภัย ขอแนะนำให้เลือกใช้หลอดตะเกียบที่มีโครง สร้างและวัสดุที่สามารถป้อง กันการเกิดอัคคีภัยได้ และสามารถให้ความปลอดภัยในการใช้งานที่แรงดันไฟฟ้าถูกต้อง จึงควรดูเครื่องหมายรับรองความปลอดภัย คือเครื่องหมาย S แต่หากเลือกใช้หลอดที่ไม่มีเครื่องหมาย S ไปแล้ว ก็ควรตรวจดูว่าเป็นวัสดุที่ไม่ลามไฟ และควรติดตั้งในพื้นที่ห่างจากเชื้อเพลิง
4
การติดตั้งหลอดตะเกียบควรพิจารณาส่วนที่เกี่ยวข้องกับการใช้งาน ดังนี้ 1.แสงสว่าง เมื่อนำหลอดตะเกียบประกอบลงในโคมไฟฟ้าเดิมที่ใช้หลอดไส้ อาจให้แสงสว่างแตกต่างจากเดิม จึงควรพิจารณาปัจจัยด้านแสงสว่างด้วย ทิศทางการกระจายของแสงพอเพียงหรือไม่ แสงต้องไม่บาดตา 2.การระบายความร้อนของโคมไฟหลอดตะเกียบจะมีขนาดใหญ่กว่าหลอดไส้ โดยเฉพาะบริเวณใกล้กับขั้วหลอด เมื่อนำไปติดตั้งในโคมชนิดส่องลงอาจปิดกั้นการระบายอากาศบริเวณตัวหลอด ทำให้เกิดอุณหภูมิสูงกว่าภาวะที่เหมาะแก่การใช้งาน เป็นผลให้มีอายุการใช้งานสั้นลงและได้รับแสงสว่างออกมาได้ไม่เต็มที่ โดยทั่วไปหลอดตะเกียบไม่สามารถใช้ในโคมไฟฟ้าชนิดปิดที่มีการระบายอากาศไม่เพียงพอ นอกจากนี้ ในโคมไฟส่องลงชนิดที่ติดตั้งหลอดตะเกียบในแนวนอนต้องมีระยะห่างระหว่างหลอดและแผ่นสะท้อนแสงที่พอเหมาะ จึงสามารถใช้งานได้เต็มประสิทธิภาพ
3
3.ความทนทานต่อแรงดันไฟฟ้า ในบางพื้นที่อาจมีแรงดันไฟฟ้าผิดปกติ เช่น แรงดันต่ำ แรงดันเกิน หรือมีแรงดันรบกวนมาก อาจมีผลทำให้อายุการใช้งานของหลอดตะเกียบสั้นลงมาก เนื่องจากโดยทั่วไปหลอดตะเกียบมีคุณสมบัติในการทนแรงดันผิดปกติต่ำกว่าหลอดไส้ 4.การหรี่ไฟ หลอดตะเกียบไม่ได้ถูกออกแบบมาสำหรับการหรี่ไฟ จึงไม่เหมาะกับการใช้ในวงจรที่มีการหรี่ไฟสำหรับหลอดไส้ แต่อาจ สามารถ ใช้กับเครื่องหรี่ไฟชนิดที่ออกแบบมาเพื่อใช้งานหลอดตะเกียบได้ 5.สัญญาณรบกวน หลอดตะเกียบที่ใช้บัลลาสอิเล็กทรอนิกส์ จุดหลอดจะเป็นต้นกำเนิดสัญญาณรบกวนในรูปของ ?HARMONICS, EMI, RFI จากความต้องการผลิตให้หลอดมีขนาดเล็ก จึงไม่สามารถใส่วงจรกรองสัญญาณได้มากนัก แต่เนื่องจากขนาดกำลังไฟฟ้าที่ใช้ไม่มาก จึงยังไม่มีผลมากนัก แต่ระบบสื่อสารหรืออุปกรณ์อื่นๆ จึงควรระวังเฉพาะกรณีที่ใช้หลอดประเภทนี้ในปริมาณสูง

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน