เหรียญมังกรคะนองฤทธิ์

สมทบบูรณะวัดดอนเนรมิต

คอลัมน์ วงการพระสุดสัปดาห์

เหรียญมังกรคะนองฤทธิ์ – “การปฏิบัติธรรมสำคัญอยู่ที่การทำจิตให้มีสิ่งรู้ ทำสติให้มีสิ่งระลึก การภาวนาพุทโธก็ทำพุทโธให้เป็นสิ่งรู้ของจิต เป็นสิ่งระลึกของสติ” สารธรรมมงคล พระราชสังวรญาณ (พุธ ฐานิโย) วัดป่าสาลวัน จ.นครราชสีมา

พ.ศ.2561 “หลวงพ่อตี๋ ปวโร” วัดดอนเนรมิต อ.สรรคบุรี จ.ชัยนาท พระเกจิชื่อดัง วัตถุมงคล “เหรียญมังกรคะนองฤทธิ์ รุ่นแรก” รายได้บูรณปฏิสังขรณ์ถาวรวัตถุ ลักษณะเป็นเหรียญหูห่วงตัน ด้านหน้ามีขอบรอบ ตรงกลางเป็นรูปนูนหลวงพ่อตี๋ครึ่งองค์ ด้านข้างทั้งสองเป็นรูปมังกรคู่ เหนือศีรษะมีรูปนูน “กงจักร”

เหรียญมังกรคะนองฤทธิ์

เหรียญมังกรคะนองฤทธิ์

ด้านหลังมีขอบรอบ ตรงกลางเป็น “ยันต์ นะ 16 พระองค์” หรือ “ยันต์ พลิกชะตา” เหนือยันต์มีอักษรไทย “มั่งมีศรีสุข” ใต้ยันต์มีอักษรไทย “พระครูอุทัยบวรกิจ (หลวงปู่ตี๋ ปวโร) วัดดอนเนรมิต จ.ชัยนาท ๒๕๖๑” ประกอบพิธีพุทธาภิเษก มีพระเกจิอาจารย์ชื่อดังหลายรูปนั่งปรกอธิษฐานจิต สอบถามโทร.08-1283-1856, 06-5639-3519

หลวงปู่ทองสุข สุทธิจิตโต เจ้าอาวาสวัดโนนสะแบง อ.กันทรลักษ์ จ.ศรีสะเกษ อยู่ในช่วงปัจฉิมวัย อาพาธบ่อยครั้ง คณะศิษย์ โดยทีมงาน “เด็กสร้างบุญ” จึงจัดหาปัจจัยเพื่อเป็นกองทุนรักษาธาตุขันธ์ รวมทั้งบูรณะเสนาสนะภายในวัด ขออนุญาตจัดสร้าง “รูปหล่อรูปเหมือน รุ่นรวยทันใจ” เพื่อมอบให้ผู้ที่ร่วมบริจาคทำบุญ

เหรียญมังกรคะนองฤทธิ์

วัตถุมงคลรูปหล่อรุ่นนี้ใช้กรรมวิธีการสร้างแบบโบราณ สร้างเป็นรูปเหมือนหลวงปู่ห่มจีวรเฉียงประทับนั่งในท่ากัมมัฏฐานบนฐานเขียง บริเวณฐานด้านหน้า มีตัวอักษรเขียนคำว่า หลวงปู่ทองสุข ส่วนฐานด้านหลังเขียน คำว่า สุทฺธิจิตโต ๙๓ เป็นอายุหลวงปู่

จำนวนการสร้างน้อยมากอาทิ เนื้อทองคำ สร้าง 9 องค์ เนื้อเงิน 93 องค์ เนื้อนวะเทดินไทย 199 องค์ เนื้อเหล็กน้ำพี้ 299 องค์ เนื้อทองแดงโบราณ 1,999 องค์ และชุดกรรมการนำฤกษ์สร้าง 29 ชุด เป็นต้น สอบถาม โทร.09-8630-2203

“พระครูสิงคิคุณธาดา” หรือ “หลวงพ่อม่วง จันทสโร” วัดบ้านทวน อ.พนมทวน จ.กาญจนบุรี เหรียญรูปเหมือนสร้างขึ้นในโอกาสอายุครบ 7 รอบ (84 ปี) เมื่อปี พ.ศ.2463 ลักษณะเป็นเหรียญกลมรูปไข่ มีหูเชื่อมจัดสร้าง 2 พิมพ์คือ พิมพ์หน้าแก่และพิมพ์หน้าหนุ่ม จำนวนการสร้างจำนวน 300 เหรียญ

เหรียญมังกรคะนองฤทธิ์

ด้านหน้าเหรียญ เป็นรูปเหมือนหลวงพ่อม่วงครึ่งองค์หันหน้าตรง เขียนอักษรไทยใต้รูปเหมือนว่า “พระครูสิงคิคุณ ธาดา” และมีอักษรขอม อ่านว่า “อะ สัง วิ สุ โล ปุ สะ พุ ภะ สัง วิ เพา ปุ กะ ยะ ปะ” แปลว่า อิติปิโส มงคลฯ กับหัวใจ พระธรรม 7 คัมภีร์ ด้านหลังเหรียญมีข้อความว่า “ที่ระฤก อุปชาวัดบ้าทวน” และมีอักษรขอมว่า “อิโส มิโส โมอะ นะลือ” เหรียญรุ่นนี้ หลวงพ่อม่วง จารอักษรขอมลงบนบล็อกทั้ง ด้านหน้าและด้านหลัง

“พระครูวิสุทธิวงศาจารย์ญาณมุนี” หรือ หลวงพ่อแช่ม พระเกจิชื่อดังแห่งวัดไชยธาราราม (วัดฉลอง) อ.เมือง จ.ภูเก็ต หลังจากมรณภาพเมื่อปีพ.ศ.2451 หลวงพ่อปานวัดบางนมโค จ.พระนคร ศรีอยุธยา

เหรียญมังกรคะนองฤทธิ์

สร้างเหรียญวัตถุมงคลพิมพ์สี่เหลี่ยมขึ้น ราวปีพ.ศ.2473 ต่อมาปีพ.ศ.2486 หลวงพ่อช่วง พระน้องชายก็สร้างเหรียญที่ระลึกขึ้น นับเป็นเหรียญหลวงพ่อแช่มรุ่นแรก ลักษณะเป็นเหรียญกลมรูปไข่ มีหู เป็นพิมพ์หลังยันต์วรรค เนื้อทองแดง

ด้านหน้าเหรียญเป็นรูปเหมือนหลวงพ่อแช่มครึ่งองค์ หันหน้าตรง ตาลึกคมชัดทั้งสองข้าง ขอบบนเขียน คำว่า “หลวงพ่อแช่ม วัดฉลอง”

ด้านล่างใต้รูปเหมือนเขียนคำว่า“พ.ส.2486” ที่บริเวณปลาย “ส” ที่คำว่า “พ.ส.” สะบัดหาง ด้านหลังเหรียญขอบปลิ้น ยันต์แถว 2 เว้นวรรคตรงกลาง เป็นที่มาของชื่อ “ยันต์วรรค” ปัจจุบันหายาก

“หลวงพ่อนุ่ม ธัมมาราโม” วัดนางในธัมมิการาม ต.ศาลเจ้าโรงทอง อ.วิเศษชัยชาญ จ.อ่างทอง วัตถุมงคลที่ได้รับการกล่าวขวัญถึงมากที่สุด เป็นเหรียญรุ่นแรก สร้างปี 2497 เซียนพระขนานนามว่า เหรียญ ยันต์ใหญ่ ลักษณะเป็นเหรียญกลมรูปไข่ มีหู จัดสร้างจำนวน 5,000 เหรียญ

เหรียญมังกรคะนองฤทธิ์ เหรียญมังกรคะนองฤทธิ์

ด้านหน้าเหรียญ ตรงกลางเหรียญเป็นรูปเหมือนหลวงพ่อนุ่มครึ่งองค์ หันหน้าตรงขอบเหรียญมีจุดไข่ปลาขนาดเล็กล้อมรอบ ด้านบนรูปเหมือนเขียนคำว่า “พระอุปัชฌาย์ (นุ่ม)” ด้านหลังเหรียญไม่มีขอบ ตรงกลางเป็นรูปยันต์ ปัจจุบันหายากมาก

“หลวงพ่อเสน่ห์ กตปุญโญ” หรือ “พระครู อุปกิจสารคุณ” เจ้าคณะตำบลหนอง ขาหย่าง-ท่าโพ และ เจ้าอาวาสวัดพันสี ต.ท่าโพ อ.หนองขาหย่าง จ.อุทัยธานี พระเกจิอาจารย์เรืองวิทยาคม ในปีพ.ศ.2520

คณะศิษยานุศิษย์มีความประสงค์หาทุนทรัพย์เพื่อบูรณปฏิสังขรณ์ถาวรวัตถุ จึงได้ขออนุญาตจัดสร้าง “เหรียญหลวงพ่อเสน่ห์รุ่นแรก” เป็นเนื้อทองแดงรมดำ จำนวน 4,000 เหรียญ

ลักษณะเป็นเหรียญรูปวงกลม ด้านบนเหรียญเป็นลายกนกทรงสามเหลี่ยมหน้าจั่ว เจาะหูห่วงที่ยอดกนก ด้านหน้าเหรียญ ตรงกลางเหรียญเป็นรูปนูนหลวงพ่อเสน่ห์ครึ่งองค์หันหน้าตรง ด้านหน้าเหรียญมีขอบ

เหรียญมังกรคะนองฤทธิ์

เหรียญมังกรคะนองฤทธิ์

 

เหนือขอบล่างมีอักษรไทยเขียนว่า “เสน่ห์” ด้านหลังเหรียญไม่มีขอบซุ้มเหรียญสามเหลี่ยมหน้าจั่วไม่มีลายกนกแต่มีอักษรไทยเขียนว่า “รุ่นแรก” และเหนืออักษรไทยมีอุณาโลมกำกับ ตรงกลางเหรียญมียันต์อักขระ “นะ” ซ่อนหัว หรือ“นะ” สำเร็จ

ใต้ยันต์มีเลขไทย “๒๕๒๐” เหนือขอบเหรียญด้านล่างมีอักษรไทยเขียนว่า “วัดพันสี อุทัยธานี” กำกับด้วยลายกนกหัว-ท้าย จัดเป็นเหรียญที่มีพิธีการจัดสร้างดี พระคณาจารย์ปลุกเสกเด่น

เมื่อเร็วๆ นี้ นายณรงค์ ทรงอารมณ์ ผอ.สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ลงนามในคำสั่งสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ เรื่องย้ายข้าราชการระดับอำนวยการระดับต้น ประกอบด้วย ตำแหน่งอำนวยการระดับสูง

1. นายธวัฒชัย ทองสุกนอก ผอ.พศจ.ตราด เป็น ผอ.พศจ. หนองบัวลำภู 2. นายธีรเดช จันทรัตน์ ผอ.พศจ.หนองบัวลำภู เป็น ผอ.พศจ.ตราด 3. น.ส.มาลินี สวยค้าข้าว ผอ.พศจ.ชัยนาท เป็น ผอ.พศจ.นครนายก

4. นางจิรประภา เอี่ยวเจริญ ผอ.พศจ.นครนายก เป็น ผอ.พศจ.ชัยนาท 5. นายประสงค์ ทองประ ผอ.พศจ.อุทัยธานี เป็น ผอ.พศจ.อำนาจเจริญ และ 6. นายวีระเกียรติ สานุทัศน์ ผอ.พศจ.อำนาจเจริญ เป็น ผอ.พศจ.อุทัยธานี

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน