…• “อาหารที่มันอร่อย เราต้องทานทางปาก มันจะเกิดประโยชน์ ลองเอาเข้าทางหูซิ มันจะเกิดประโยชน์ไหม” สารธรรมมงคล หลวงพ่อชา สุภัทโท วัดหนองป่าพง จ.อุบลราชธานี

…• “หลวงพ่อดิษฐ์ ติสโส” วัดอัมพวัน ต.บางม่วง อ.บางใหญ่ จ.นนทบุรี เป็นหนึ่งในพระเกจิอาจารย์ดังยุคสงครามโลกครั้งที่ 2 เก่งทางวิทยาคมหลายแขนง เรียนวิชากับหลวงพ่อโต เจ้าอาวาสวัดท่าอิฐ อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี ซึ่งมีชื่อเสียงเรื่องการรักษาโรคด้วยสมุนไพรไทย เหรียญรุ่นแรกสร้างขึ้นเมื่อปี 2509 เป็นรูปไข่ห่วงเชื่อม

รอบด้านวงการพระ

ด้านหน้าเป็นรูปเหมือนครึ่งองค์ ด้านล่างเขียนว่า “พระครูนนทภัทรประดิษฐ์” ด้านหลังไม่มีขอบ ตรงกลางเป็นยันต์สามหรือยันต์ใบพัด เขียนข้อความว่า “ในงานฉลองศาลาการเปรียญวัดอัมพวัน อ.บางใหญ่ จ.นนทบุรี ๐๙” ปัจจุบันหายาก

…• “หลวงพ่อบุญมาก สัญญโม” พระเกจิชื่อดังแห่งวัดโพธิ์ แขวงบางระมาด เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ จัดสร้างวัตถุมงคลมากมาย แต่ที่ได้รับความนิยมคือ “เหรียญรุ่นที่ระลึกครบรอบ 6 รอบ”

รอบด้านวงการพระ

…• ลักษณะเป็นเหรียญเสมารูปหล่อ ที่หลวงพ่อจัดสร้างเพื่อนำเงินรายได้ไปสร้างถาวรวัตถุภายในวัดคลองหินปูน อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา ด้านหน้าเป็นรูปหล่อ บนศีรษะเป็นยันต์ตรึงไตรภพ ด้านล่างใต้ฐานเขียนว่า “หลวงพ่อบุญมาก สญฺญโม” ด้านหลังเป็นยันต์เกราะเพชร ที่สืบสายวิชามาจากหลวงพ่อปาน วัดบางนมโค ด้านบนยันต์เขียนคำว่า “ที่ระลึกครบ ๖ รอบ” ด้านล่างยันต์เขียนคำว่า “วัดโพธิ์ ตลิ่งชัน พ.ศ.๒๕๔๔” สร้างไว้เพียง 3,000 เหรียญเท่านั้น

…• “เหรียญที่ระลึกจับโป้ย ล่อฮั่น” สร้างขึ้นในปี พ.ศ.2434 รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เนื่องในพระราชพิธีทรงผนวช สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร ที่วัดบวรนิเวศวิหาร สร้างเป็นเนื้อทองคำ เนื้อเงิน เนื้อทองสีดอกบวบ เนื้อทองแดงแก่ทอง ฯลฯ

รอบด้านวงการพระ

…• ลักษณะเป็นทรงกลมขนาดใหญ่ มีรูปร่างคล้ายเหรียญอีแปะเงินของจีนโบราณ ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 4.6 เซนติเมตร ความหนา 2 มิลลิเมตร มีรูสี่เหลี่ยมตรงกลาง ด้านหน้าจำลองรูปพระอรหันต์ 18 องค์ ผู้สำเร็จธรรมวิเศษตามคตินิยมในพระพุทธศาสนาแบบมหายานฝ่ายจีน ซึ่งเรียกว่า “จับโป้ยล่อฮั่น”

…• ด้านหลังมีอักษรไทยที่เขียนลักษณะเลียนแบบอักษรจีน ถ้าอ่านจากด้านบนลงล่างจะได้ความว่า “การทรงพระผนวช” ที่ด้านขวาจะเป็นอักษรย่อ “ส, พ, บ, ร, อ,” ย่อมาจากสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช ด้านซ้ายเป็นปี “ปีร.ศ.๑๑๐” เป็นเหรียญเก่าเป็นที่นิยมและหายาก

อริยะ เผดียงธรรม
[email protected]

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน