ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ (อีไอซี) ธนาคารไทยพาณิชย์

ในทศวรรษที่ผ่านมาผู้บริโภคได้รับประโยชน์อย่างมากจากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี โดยผู้บริโภคกว่า 1.8 พันล้านคน ค้นหาข้อมูลและเปรียบเทียบสินค้าหรือบริการจาก รีวิวบนโซเชี่ยลมีเดียประกอบการตัดสินใจซื้อ

มองว่าเทรนด์การดำเนินธุรกิจในซัพพลายเชนที่เปลี่ยนไปจากความต้องการของผู้บริโภคและความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี จะทำให้ธุรกิจในซัพพลายเชนต้องติดตามการพัฒนาเทคโนโลยีและการเปลี่ยนแปลงของโมเดลธุรกิจอย่างใกล้ชิดกว่าในอดีต เพื่อนำไปประยุกต์ใช้กับธุรกิจของตน เพิ่มความสามารถในการแข่งขัน

ธุรกิจในซัพพลายเชนต้องเตรียมพร้อมกับการเปลี่ยน แปลงในสภาพแวดล้อมใหม่ที่ผู้บริโภคมีอำนาจในการต่อรองและมีทางเลือกมากขึ้น โดยนำเสนอกลยุทธ์ 3C ดังนี้

1. collaborate – ความต้องการสินค้าใหม่ๆ ของผู้บริโภคทำให้ธุรกิจในซัพพลายเชนต้องทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิด เพื่อสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขัน ผู้ประกอบการควรเข้าใจถึงความต้องการของผู้บริโภคและสื่อสารความต้องการนั้นไปยังธุรกิจที่เกี่ยวข้อง

2. customize – ธุรกิจต้องเข้าใจว่าการปรับแต่งสินค้าในส่วนใดจะสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่สินค้าได้มากที่สุดซึ่งรวมถึงบริการที่แต่ละคนชอบแตกต่างกันไป และต่อยอดข้อมูลที่ได้จากการสั่งซื้อของลูกค้ามาช่วยวิเคราะห์การพัฒนาสินค้าใหม่เพื่อสอดคล้องกับเทรนด์ customization หรือช่วยบริหารซัพพลายเชนเพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน

3. control – ธุรกิจต้องติดตามและใช้โซเชี่ยลมีเดียเป็นเครื่องมือสำคัญเพื่อจะได้เข้าใจถึงความคาดหวังของผู้บริโภคในด้านความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม และเร่งพัฒนาการดำเนินงานให้ได้ตามมาตรฐานสากลเพื่อเข้าไปมีส่วนร่วมในซัพพลายเชนของโลกได้

ธุรกิจไทยจะก้าวเข้าสู่ซัพพลายเชนใหม่นี้ได้อย่างไร ความเข้าใจในเทคโนโลยีและพฤติกรรมผู้บริโภคเป็นก้าวแรกของการพัฒนาแผนรองรับการเปลี่ยนแปลงในซัพพลายเชน

ดังนั้นขอแนะ 3 ข้อควรคำนึงถึงในการจัดการธุรกิจในขณะที่ซัพพลายเชนมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว 1. วางแผนการใช้เทคโนโลยีในธุรกิจเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด 2. ลงทุนในด้านทรัพยากรมนุษย์และโครงสร้างของธุรกิจ และ 3. พัฒนาความยืดหยุ่นในซัพพลายเชน

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน