คอลัมน์ รู้ไปโม้ด : สกาลา – โดย…น้าชาติ ประชาชื่น

ขอประวัติโรงหนังสกาลาที่กำลังจะปิดตัว

แฟนฟิล์ม

ตอบ แฟนฟิล์ม

โรงภาพยนตร์ สกาลาเป็น 1 ใน 4 ของกลุ่มโรงภาพยนตร์เครือเอเพ็กซ์ ซึ่งเกือบทั้งหมดมีที่ตั้งอยู่ในย่านสยามสแควร์ ประกอบด้วย โรงภาพยนตร์ศาลาเฉลิมไทย (โรงเดียวที่อยู่นอกพื้นที่สยามสแควร์) โรงภาพยนตร์สยาม โรงภาพยนตร์ลิโด และโรงภาพยนตร์สกาลา จดทะเบียนธุรกิจในนามสยามมหรสพโดยสกาลาเปิดตัวในปี .. 2513

ก่อนหน้านี้ โรงภาพยนตร์ในเครือเอเพ็กซ์ปิดตัวไปแล้ว 3 แห่ง ได้แก่ โรงภาพยนตร์ศาลาเฉลิมไทย ถูกทุบทิ้งในปี 2532, โรงภาพยนตร์สยาม ถูกวางเพลิงจนเสียหายหมดทั้งอาคารจากมือมืดที่ฉวยโอกาสช่วงสลายการชุมนุมทางการเมืองปี 2553 เข้าสร้างสถานการณ์ และโรงภาพยนตร์ลิโด ปิดตัวเพราะหมดสัญญาเช่ากับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในปี 2561 คงเหลือ โรงภาพยนตร์สกาลาเท่านั้นที่ยังเปิดฉายภาพยนตร์อยู่ โดยสัญญาเช่าพื้นที่จากจุฬาฯจะสิ้นสุดในวันสิ้นปี 2563

ล่าสุดเมื่อวันที่ 23 มิ.. ที่ผ่านมา หลังจากดำเนินการมายาวนานถึงครึ่งศตวรรษ โรงภาพยนตร์สกาลาประกาศปิดทำการผ่านเฟซบุ๊ก Apex Scala โดยมีกำหนดฉายภาพยนตร์วันสุดท้ายในวันที่ 5 ..นี้ผ่านงานชมภาพยนตร์ที่จะจัดขึ้นในวันที่ 3-5 .. เพื่อเป็นการอำลา ภายใต้ชื่อ’ko Final Touch of memory

โรงภาพยนต์ได้โพสต์ข้อความว่าวันที่ 3 กรกฎาคม 2563 โรงภาพยนตร์จะเปิดไฟทุกดวง เพื่อให้มาเก็บภาพความสวยสง่า และบรรยากาศที่แสนมีเสน่ห์ ให้ความสว่างไสวของแสงไฟอยู่ในความทรงจำร่วมกัน

สยามสแควร์เคยมีโรงหนังขนาดใหญ่สามทหารเสือ สยาม ลิโด สกาลา จนเป็นส่วนสำคัญที่ให้สยามสแควร์เติบโตเป็นทำเลทองทางธุรกิจที่เจริญที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศไทย และปฏิเสธไม่ได้ว่าความโอ่อ่าทำให้สกาลามีฐานะเป็น ราชาโรงหนังแห่งสยาม

กลุ่มโรงภาพยนตร์เครือเอเพ็กซ์ ก่อตั้งโดย พิสิฐ ตันสัจจา นักธุรกิจเจ้าของกิจการโรงภาพยนตร์ที่มีชื่อเสียงจากการพัฒนาปรับปรุงโรงละครชื่อดังในอดีต ศาลาเฉลิมไทย ให้กลายมาเป็นโรงภาพยนตร์ขนาด 1,500 ที่นั่ง หลังจากที่พิสิฐเสียชีวิต นันทา ตันสัจจา ผู้เป็นลูกสาวก็เข้ามาบริหารดูแลกิจการต่อ

ได้ลงทุนเปิดโรงภาพยนตร์ที่สยามสแควร์ซึ่งเป็นย่านธุรกิจสำคัญ เป็นศูนย์กลางความทันสมัยและศูนย์รวมของวัยรุ่นและคนวัยทำงานในกรุงเทพฯ โดยเริ่มจากการเปิดโรงภาพยนตร์จุฬา เมื่อเดือนธ.. 2509 ก่อนจะเปลี่ยนใช้ชื่อโรงภาพยนตร์สยาม ต่อมาเดือน มิ.. 2511 เปิดโรงภาพยนตร์ลิโดเป็นแห่งที่สอง ก่อนจะเปิดโรงภาพยนตร์สกาลาเมื่อเดือน .. 2512 เป็นแห่งที่สาม

โรงภาพยนตร์สกาลาออกแบบโดย จิระ ศิลป์กนก ตั้งชื่อตามโรงอุปรากร Teatro alla Scala แห่งเมืองมิลาน ประเทศอิตาลี โดยคำว่า Scala แปลว่า บันได ใน ภาษาอิตาลี โรงภาพยนตร์เป็นศิลปะอาร์ตเดโค ภายในมีเสาคอนกรีตโค้ง การผสมผสานกันระหว่างวัฒนธรรมตะวันออกกับตะวันตก และโคมไฟระย้าทรงหยดนํ้าค้างสูง 5 ชั้นขนาดยักษ์ที่สั่งตรงจากอิตาลี บริเวณทางเข้าสู่โรงหนังมีปูนปั้นลอยตัวที่แสดงถึงความบันเทิงของเอเชีย ซึ่งมีทั้งบาหลี ญี่ปุ่น จีน อินเดีย ไทย รวมอยู่บนผนัง

โรงภาพยนตร์สกาลาได้รับรางวัลอนุรักษ์สถาปัตยกรรมดีเด่นประจำปี 2555 จากสมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน