‘จุดเด่นทุเรียนพื้นบ้าน’ – รศ.ดร.จรัสศรี ศรีนวล อาจารย์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ หรือ ม.อ. หัวหน้าโครงการ “การวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพผลผลิตทุเรียนพื้นบ้าน จ.ยะลา”

โดยการสนับสนุนของ สนง.คณะกก.ส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) กล่าวว่า เป็นการพัฒนาคุณภาพของทุเรียนพื้นบ้าน ที่มีความหลากหลายมากมีประมาณ 50 ชนิดพันธุ์ จะเลือกเฉพาะพันธุ์ที่มีศักยภาพ ก่อนหน้านี้เคยทำที่ จ.สงขลา แล้ว พบว่าทุเรียนพื้นบ้านมีสารแอนตี้ออกซิแดนต์ค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับหมอนทอง และมีไขมันไม่อิ่มตัวสูงกว่าหมอนทองและชะนี

ตอนนี้เน้นพันธุ์ที่สามารถยก ระดับให้เป็นพันธุ์การค้าคือ เนื้อเหลืองอร่อย แต่เนื้ออาจไม่สวย รสชาติไม่อร่อย แต่มีคุณสมบัติทนทานต่อโรค เพราะทุเรียนปลูกใหม่ต้นตอส่วนใหญ่เป็นทุเรียนพื้นบ้าน ซึ่งตอนนี้เมล็ดทุเรียนพื้นบ้านขายก.ก.ละ 40-60 บาท ถือว่าสูงมาก นำไปเพาะได้พออายุ 1-2 เดือน จะนำพันธุ์ดี มาเสียบ

พยายามพูดกับชาวบ้านว่าทุเรียนพื้นถิ่น เป็นบรรพบุรุษของทุเรียนมีข้อดีแฝงอยู่ ข้างใน โดยเฉพาะเรื่องโรครากเน่า โคนเน่ามาแรงมาก ถ้าโค่นพันธุ์พื้นถิ่นหมดจะใช้ต้นตอจากไหน เพราะต้นตอหมอนทองแย่ ชะนีอาจดีหน่อย แต่ดีที่สุดคือพันธุ์ พื้นบ้าน

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน