“ถ้าหากเราพิจารณาเรื่องศีล 5 กับกฎหมายรัฐธรรมนูญปกครองบ้านเมืองให้ประยุกต์กัน เราจะได้ความเด่นชัดว่า ศีล 5 คือ กฎหมายปกครองบ้านเมืองที่เป็นธรรมนูญอันสูงสุด” สารธรรมมงคลพระราชสังวรญาณ (พุธ ฐานิโย) วัดป่าสาลวัน จ.นครราชสีมา

“พระวิบูลเมธาจารย์” (หลวงพ่อเก็บ) เจ้าอาวาสวัดดอนเจดีย์ อ.ดอนเจดีย์ จ.สุพรรณบุรี สร้างวัตถุมงคลเหรียญรูปเหมือน ในปี พ.ศ.2516 ที่ระลึก เมื่อครั้งที่ พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ครั้งยัง ทรงดำรงพระอิสริยยศสมเด็จพระบรม โอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จฯ ทรงเป็นประธานตัดลูกหวายนิมิตวัดดอนเจดีย์

เหรียญรูปเหมือน หลวงพ่อเก็บ จัดสร้างด้วยการนำเหรียญ 5 บาทที่ใช้จริงสมัยนั้นมาปั๊มหลายครั้งจนบาง สังเกตด้านข้างจะเป็นสีทองและนากของเหรียญ 5 บาท ลักษณะเหมือนกับรุ่นปกติ แต่บางกว่า และมีการเชื่อมต่อห่วงด้านบนอย่างชัดเจน

ด้านหน้าเหรียญเป็นรูปเหมือนพระวิบูลเมธาจารย์ (หลวงพ่อเก็บ) มีข้อความว่า “พระวิบูลเมธาจารย์ วัดดอนเจดีย์ สุพรรณบุรี” มีจุดสังเกตดีๆ จะมีการปั๊มคำว่า “เก็บ” ไว้ที่ไหล่รูปเหมือนด้านซ้ายล่างของหลวงพ่อเก็บ แต่เป็นด้านขวาของเหรียญทุกเหรียญ ด้านหลังเหรียญเป็นรูปพระนเรศวรทรงช้างและองค์อนุสรณ์ดอนเจดีย์ ด้านบนเหรียญเป็นภาษาขอม เขียนว่า “นะ” เป็นอีกเหรียญที่ควรค่าแก่การเก็บสะสม

“พระพนัสบดี” เป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ของชาวพนัสนิคม ประดิษฐาน ณ หอพระพนัสบดี ตั้งอยู่กลางสระน้ำ ตรงข้ามสำนักงานเทศบาลเมืองพนัสนิคม จ.ชลบุรี ทั้งนี้ อำเภอพนัสนิคมจัดสร้าง รุ่นแรกเมื่อปี พ.ศ.2517 ที่ระลึกในการจัดสร้างหอพระพนัสบดี ประกอบพิธีพุทธาภิเษก ที่วัดหน้าพระธาตุอ.พนัสนิคม เมื่อวันเสาร์ที่ 11 พ.ค.2517 มีพระเกจิคณาจารย์เข้าร่วมพิธี

“หลวงพ่อจิ๋ว สุขาจาโร” อดีตเจ้าอาวาสวัดเนินเหล็ก อ.เมือง จ.อุทัยธานี ในปีพ.ศ.2536 ก่อนมรณภาพ จัดสร้างวัตถุมงคล พระเนื้อผง รุ่นยกช่อฟ้าอุโบสถวัดเนินเหล็ก ลักษณะรูปสามเหลี่ยม ทรงมน เนื้อผงพุทธคุณ ด้านหน้าพระผงมีขอบรอบตรงกลางเป็นรูปนูนหลวงพ่อจิ๋วนั่งสมาธิเต็มองค์บนแท่นสองชั้นด้านหลัง พระผงไม่มีขอบ มียันต์นูนพระเจ้าห้าพระองค์ และมีอักขระขอมกำกับด้วยอุณาโลมซ้าย-ขวา ใต้ยันต์มีอักษรไทย “ครบ ๘๙ ปี หลวงพ่อจิ๋ว เนินเหล็ก” ประกอบพิธีพุทธาภิเษก วันเสาร์ที่ 17 เม.ย.2536 ที่อุโบสถวัดเนินเหล็ก โดยมีพระเกจิคณาจารย์ชื่อดังผู้ทรงวิทยาคุณนั่งปรกปลุกเสก

เหรียญพระพนัสบดี เป็นเหรียญรูปไข่ มีหูห่วง จำนวนการสร้าง 15,000 เหรียญ จัดสร้างทั้งหมด 3 เนื้อคือ เนื้อทองแดง มีทั้งผิวไฟกะไหล่ทอง และกะไหล่นาก

ด้านหน้าเหรียญ ตรงกลางเป็นรูปองค์พระพนัสบดีทรงยืน ด้านล่างเขียนคำว่า “พระพนัสบดี” ด้านหลังเหรียญ ด้านบนเป็นอักขระขอมคำว่า “อุ” ใต้ล่างเขียนว่า “ที่ระลึกงาน พุทธาภิเษกพระพนัสบดี อ.พนัสนิคม จ.ชลบุรี ๑๑ พ.ค.๑๗” ด้านล่างตัวอักษรเป็นลายกนก ปัจจุบันเหรียญ รุ่นนี้แทบหาพบได้ยากมาก แม้แต่ในพื้นที่ชลบุรีเองก็ตาม

อริยะ เผดียงธรรม
[email protected]

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน