“ความคิดนั้นเป็นเพียงแต่อารมณ์จิตความคิดที่สำเร็จเป็นมโนกรรม เพราะอาศัยเจตนาเป็นที่ตั้ง” สารธรรมมงคล พระราชสังวรญาณ (พุธ ฐานิโย) วัดป่าสาลวัน จ.นครราชสีมา “วัดพระซอง” อ.นาแก จ.นครพนม สร้างเมื่อวันที่ 30 ธ.ค.2530 ภายในอุโบสถประดิษฐาน “หลวงพ่อพระซอง” พระพุทธรูปหินทรายปางสมาธิ ศิลปะขอมโบราณเก่าแก่อายุกว่า 2,000 ปี ในพ.ศ.2519 หน่วยพัฒนาการเคลื่อนที่ (นพค.) จัดสร้างเหรียญหลวงพ่อ พระซอง 1 รุ่น ถวายวัดและแจกทหารในสังกัด ลักษณะเป็นเหรียญรูปไข่ มีหูห่วง ด้านหน้า ขอบเหรียญเป็นลายแข้งสิงห์ มีเส้นสันนูนและจุดไข่ปลาล้อมรอบ ตามด้วยเส้นสันนูนขอบใน ตรงกลางเหรียญประดิษฐาน “หลวงพ่อพระทอง” ประดิษฐานบนแท่นบุษบกกลีบบัวหงาย 1 ชั้น ลอยนูนโดดเด่น ด้านหลังเหรียญเส้นขอบล้อมด้วยจุดไข่ปลา ใต้หูห่วงมีลายเส้นยันต์ “นะอกแตก” กำกับด้วยอักขระ 4 ตัว ถัดลงมามีเส้นนูนคล้ายใบโพธิ์ในวงเส้นมีตราสัญลักษณ์ บรรทัดล่างสุดสลัก “นพค.” อักษรย่อชื่อหน่วย และ “นพ.19” ชื่อย่อนครพนม และปีที่สร้างเหรียญเป็นอีกเหรียญที่ได้รับความนิยม พระราชสุทธิโสภณ หรือ หลวงพ่อประทวน ปภากโร เจ้าอาวาสวัดปากคลองมะขามเฒ่าจัดสร้างฐานปฏิบัติธรรมที่ประดิษฐานรูปเหมือนหลวงปู่ศุข เกสโร พระเกจิอาจารย์ชื่อดังวัดปากคลองมะขามเฒ่า อ.วัดสิงห์ จ.ชัยนาท และบูรณะเสนาสนะจัดสร้างวัตถุมงคล “เหรียญหลวงปู่ศุข หันข้างรุ่นแรก” เพื่อหารายได้สมทบทุน ลักษณะเป็นเหรียญกลมรูปไข่ หูห่วงตัน ด้านหน้ามีขอบรอบ ตรงกลางเป็นรูปนูนหลวงปู่ศุขครึ่งองค์ หันข้าง ใต้ขอบ ด้านบนมีอักษรไทย “หลวงปู่ศุข เกสโร” ด้านหลังเหรียญมีขอบรอบเช่นกัน ตรงกลางเป็นยันต์สาม กำกับด้วยอักษรขอม มีอักษรขอมล้อมรอบยันต์สามรอบภายในขอบมีอักษรไทย “วัดปากคลองมะขามเฒ่า อ.วัดสิงห์ จ.ชัยนาท ๒๕๕๙” ตอกโค้ดอักษรไทยคำว่า “รวย” และมีเลขไทยเป็นเลขลำดับองค์พระ “พระปิดตาหลวงพ่อทับ วัดสุวรรณาราม(วัดทอง)” หนึ่งในชุดเบญจภาคีพระปิดตามหาอุตม์เนื้อโลหะ ที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างสูง ส่วนใหญ่จะเป็นแบบลอยองค์ พระประธานนั่งขัดสมาธิเพชร พระหัตถ์ที่ล้วงปิดทวาร จะล้วงลงทางด้านใน ไม่ผ่านหน้าแข้ง จึงทำให้เห็นกิริยาขัดสมาธิเพชรได้เด่นชัด หรือที่เรียกกันว่า “โยงก้นด้านใน” ด้านข้างองค์พระไม่ปรากฏรอยตะเข็บ เนื่องจากสร้างโดยวิธีปั้นหุ่นด้วย เทียนขี้ผึ้งทีละองค์ แล้วจึงใช้ดินเหนียวประกอบด้านนอก จากนั้นจึงใช้โลหะที่หลอมละลายเทหยอดทางก้นหุ่น เนื้อโลหะที่ร้อนจัดจะทำให้เทียนละลายและสำรอกออกทางรูที่เจาะไว้ เหลือแต่เนื้อโลหะเป็นรูปองค์พระแทน การกำหนดเลข ยันต์ที่จะบรรจุลงบนพระนั้น จะเลือกอักขระที่เหมาะสม มีความหมาย มีอำนาจแห่งพุทธาคม บรรจุลงตามส่วนต่างๆ ขององค์พระ เว้นช่องไฟได้เหมาะเจาะสวยงาม องค์พระจึง ไม่เหมือนกันเลยทั้งรูปทรงและลวดลายของอักขระยันต์ จึงลอกเลียนได้ยากมาก อริยะ เผดียงธรรม [email protected]

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน