สถานะทางการเมืองของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ในเดือนมกราคม 2565 แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิงกับสถานะทางการเมืองของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ในเดือนพฤษภาคม 2557

แม้จะดำรงอยู่ในตำแหน่ง “นายกรัฐมนตรี” ควบกับตำแหน่ง”รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม” ก็ตาม

เพียงเปิดบทเพลง”อย่ายอมแพ้”จากเสียงร้องของ อ้อม สุนาสา เปรียบเทียบกับบทเพลง”เราจะทำตามสัญญา ขอเวลาอีกไม่นาน แล้วแผ่นดินที่งดงาม จะคืนกลับมา”

ไม่เพียงแต่”น้ำเสียง”จะสะท้อนความแตกต่าง หากที่สำคัญเป็นอย่างยิ่งก็คือ บทเพลง”อย่ายอมแพ้”มีความใกล้เคียงเป็นอย่างยิ่งกับ”ถอยดีกว่า ไม่เอาดีกว่า”เป็นอย่างสูง

ความมุ่งมั่นเปี่ยมด้วยความหวังและความมั่นใจอย่างที่เคยสำแดงผ่าน “เราจะทำตามสัญญา ขอเวลาอีกไม่นาน แล้วแผ่นดินที่ งดงามจะคืนกลับมา”แทบไม่เหลืออยู่แล้ว

ไม่ว่าจะมองเปรียบเทียบกับเมื่อเดือนพฤษภาคม 2557 ไม่ว่าเมื่อมองสภาพความเป็นจริงที่ประสบในเดือนมกราคม 2565

เหมือนกับการเดินทางออกจากทำเนียบรัฐบาลไปยังบ้านมูลนิธิป่ารอยต่อ ณ กรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กรักษาพระองค์ จะเป็นการไปเพื่อปลอบใจ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ

หลัง พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ เผชิญสถานการณ์แตกแยกอันนำไปสู่การขับ ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่าและคณะออกจากพรรค

กระนั้น เมื่อนำเอารายละเอียดอันเกิดขึ้นไม่ว่าในที่ประชุมกรรม การบริหารพรรค ไม่ว่าในที่ประชุม”ร่วม”ระหว่างกรรมการบริหารพรรคกับ ส.ส.จำนวน 78 คนก็แทบจะเป็นเรื่องโอละพ่อ

ในเมื่อฝ่ายที่เสนอและเรียกร้องให้ขับออกกลับมาจากทางด้าน ของ ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า และก็ได้รับการสนองด้วยความอบอุ่น

ยิ่งจาก พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ

ถามว่าระหว่าง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา กับ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุ วรรณ ในสภาพความเป็นจริงทางการเมืองขณะนี้ใครสมควรจะได้รับการปลอบประโลมให้กำลังใจมากกว่า

สภาพการณ์นี้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เองก็รู้อยู่แก่ใจ

บทเพลง”อย่ายอมแพ้”ที่เปิดในห้วงแห่งการแถลงข่าวจึงไม่เพียงเป็นการปลอบใจพวกพ้องหากแต่เท่ากับปลอบใจตนเอง และยอมรับถึงความเป็นอนิจจังไม่เที่ยงในทางการเมือง

 

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน