เมื่อเวลา 09.00 น. วันที่ 12 มกราคม ที่สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุกจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ผู้สื่อข่าวรายว่า นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ เลขาธิการแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ หรือ นปช. พร้อมด้วยทีมทนายความ และญาติผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์สลายการชุมนุมเมื่อปี 2553 เดินทางมายังคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ หรือ ป.ป.ช. เพื่อทวงถามความคืบหน้าในการขอให้เปิดเผยสำนวนกรณีการยกคำร้องนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ กับนายสุเทพ เทือกสุบรรณ คดีสลายกสลายการชุมนุมเมื่อปี 2553 นายณัฐวุฒิ กล่าวว่าแม้ว่าป.ป.ช.จะยกคำร้องนายอภิสิทธิ์ และนายสุเทพสั่งการสลายการชุมนุมเมื่อปี 2553 ไปแล้ว แต่ก็ยังมีช่องทางอื่นให้ดำเนินการได้ โดยเฉพาะการขอสำนวนการไต่สวนคดีที่ป.ป.ช.ยกคำร้องนายอภิสิทธิ์ และนายสุเทพ เพื่อนำมาเทียบเคียงกับคดีของนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ที่อัยการได้มีการยกคำร้อง แต่ป.ป.ช.มีการดำเนินการฟ้องเอง ซึ่งก่อนหน้านี้ได้มีการทวงถามสำนวนการยกคำร้องดังกล่าว แต่ก็ยังไม่ได้รับความชัดเจน ดังนั้นในวันนี้จึงหวังว่าจะได้รับทราบความคืบหน้าของคดี พร้อมกับได้นำหนังสือเรื่องคนตายมีใบหน้า คนถูกฆ่ามีชีวิต และหนังสือความจริงเพื่อความยุติธรรมมาให้ทางคณะกรรมการป.ปช.ได้ศึกษา โดยหวังว่าคณะกรมการป.ป.ช.ทั้ง 9 คนที่ปฏิบัติหน้าที่อยู่ในขณะนี้จะเป็นป.ป.ช.ตัวจริง เพราะสิ่งที่ต้องการคือกระบวนการยุติธรรมที่ไปถึงศาลยุติธรรม
“การที่ป.ป.ช.ยกคดีสลายชุมนุมนปช. ปี 53 แล้วจะถือว่ายุติในชั้นนี้ พวกตนไม่อาจยอมรับได้ อยากให้คดีที่มีคนเจ็บ คนตาย ถึงชั้นศาล ซึ่งเรายืนยันจะแสวงหาความจริง และความยุติธรรมอย่างถึงที่สุด จากนี้ หากป.ป.ช.ยังเพิกเฉย ไม่ส่งสำนวนคดีที่ยกฟ้องนายอภิสิทธิ์ และนายสุเทพ จะใช้สิทธิ์ตามพ.ร.บ.ข้อมูลข่าวสารทวงถามความคืบหน้าต่อไป” นายณัฐวุฒิ กล่าว
จากนั้นนายณัฐวุฒิ ทนาย และญาติผู้เสียชีวืตได้เข้าหารือกับนายจักรกฤช ตันเลิศ ผู้อำนวยการสำนักไต่สวนการทุจริตภาคการเมือง1 เพื่อติดตามความคืบหน้าในเรื่องดังกล่าวประมาณ 15 นาที
หลังจากนั้นนายณัฐวุฒิ เปิดเผยภายหลังจากการพูดคุยกับเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องอีกว่า หลังจากนี้ทางเจ้าหน้าที่จะดำเนินการทำหนังสือไปยังประธานคณะกรรมการป.ป.ช. ภายในสัปดาห์หน้า เพื่อให้พิจารณา เนื่องจากการเปิดเผยสำนวนการไต่สวนเป็นดุลยพินิจของประธานคณะกรรมการป.ป.ช.ว่าจะสามารถเปิดหรือไม่ ซึ่งประเด็นนี้นายณัฐวุฒิเห็นว่าการเปิดเผยสำนวนการยกคำร้องจะเป็นประโยชน์ต่อคดี อีกทั้งการทำสำนวนไม่ควรรวมกันเป็นสำนวนเดียว เพราะช่วงเวลา สถานที่ และการปฏิบัติการต่างกรรมต่างวาระกัน ซึ่งจากนี้จะรอติดตามความคืบหน้าจากป.ป.ช.ภายในสัปดาห์หน้าว่าผลจะออกมาเป็นอย่างไร

 

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน