นักการศึกษา ชี้ TCAS เงินสะพัด 2.5 หมื่นล้าน ไม่ทราบว่าไหลไปไหน ทวีปัญหาเหลื่อมล้ำ ตอบโจทย์องค์กรตัวเอง แต่ไม่ตอบโจทย์ประเทศ หรือตอบโจทย์นักเรียน อยากให้สำรวจและฟังความเห็นบ้าง

วันที่ 5 มิถุนายน หลังเกิดกระแสการโจมตีระบบสอบเข้ามหาวิทยาลัย ของปี พ.ศ.2561 หรือ TCAS 61 ที่เกิดปัญหากั๊กที่นั่ง ในรอบที่ 3 และประเด็นเกี่ยวกับค่าสมัคร และขั้นตอนที่ซับซ้อน
ข่าวสดจึงสอบถามไปยัง ดร.สมพงษ์ จิตระดับ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและพัฒนาด้านเด็กและเยาวชน คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ถึงเรื่องดังกล่าว

ดร.สมพงษ์ ให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับประเด็นนี้ว่า เป็นแค่การประมาณเบื้องต้น จากการเก็บข้อมูลบางส่วนของเด็กและผู้ปกครอง พบว่าผู้ปกครองส่วนใหญ่จะใช้จ่ายในเรื่องค่าสมัครสอบ 100 – 140 บาท ในแต่ละวิชา ตกคนละประมาณ 6,400 – 10,000 บาท แล้วแต่รอบและวิชาที่สมัคร ถ้าสมัคร TCAS ทั้ง 5 รอบ ก็ใช้เงินจำนวนมาก เมื่อสองปีที่แล้วตนได้คำนวน ค่าใช้จ่าย ทั้งค่ากวดวิชา ค่าสมัครสอบ ประมาณ 61,000 บาทต่อคน ในปีนี้พบว่า ค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นประมาณ 10,000 บาท ถ้านำจำนวนเด็กประมาร 300,000 คน มาคูณก็ตกเป็นเงินประมาณ 20,000 – 25,000 ล้านบาท อันนี้แค่รอบที่ 4 ส่วนรอบที่ 5 ต้องรอค่าใช้จ่ายออกมาให้แน่ชัดก่อน

ประเด็น คือ เงินที่อยู่ในระบบ TCAS ที่ผู้ปกครองเสียไปทั้งหมดอยู่ส่วนไหน ทปอ. และ มหาวิทยาลัย เอาไปใช้ หรือเอาไปทำอะไร เพราะเป็นเงินจำนวนมากสำหรับการสอบครั้งใหญ่ของประเทศ

แต่มีการยืนยันเกี่ยวกับเงินจำนวนนี้ต่ำมาก ยังไม่มีใครตั้งคำถามว่าเงินก้อนนี้ไปไหน เอาไปใช้ประโยชน์อะไร เป็นไปได้ไหมที่ค่าสมัครจะลดลง เช่น บางรายวิชา 100 – 140 บาท สอบเด็กจำนวนเป็นแสนคน ทำไมไม่ลดเป็นวิชาละ 50 – 75 บาท ถ้าจะบอกว่าลดเรื่องความเหลื่อมล้ำ เพราะ เด็กที่มีฐานะก็จะสอบได้ทุกรอบ แต่เด็กที่ฐานะไม่ค่อยดี ก็สอบได้สูงสุด 1-2 รอบ

ดร.สมพงษ์ เปิดเผยว่า เรื่องที่สำคัญที่สุดที่ตนเห็น คือ หลักการทั้งหมดนี้เกิดจากการที่ มหาวิทยาลัยต้องอยู่รอด TCAS เป็นการกระจายเด็กเข้าสู่มหาวิทยาลัย แต่เคยถามเด็กที่เข้าไปหรือไม่ ว่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นมากแค่ไหน พอเรียนจบออกมา ตลาดแรงงานมีเรื่องของการรองรับหรือไม่ เพราะเด็กที่จบออกมาว่างงาน 100,000 – 200,000 คนต่อปี เหมือนกับมหาวิทยาลัยตอบโจทย์องค์กรตัวเอง แต่ไม่ตอบโจทย์ประเทศ หรือตอบโจทย์เด็กเท่าที่ควร วิธีการคิด TCAS ก็เหมือนกับการให้มหาวิทยาลัยอยู่รอดในสังคมปัจจุบันที่เด็กเกิดน้อยลง

ดร.สมพงษ์ เปิดเผยว่า ระบบ TCAS เมื่อเอามาใช้ปีแรก ก็มีปัญหา อุปสรรคทุกขั้นตอน และมีค่าใช้จ่ายที่สูงมาก ตกลงช่วยลดปัญหา หรือทำให้ปัญกาเพิ่มมากขึ้น
1.เรื่องความทุกข์ ความกังวล ความเครียดสะสม ของตัวนักเรียนที่ลงสมัคร มันส่งผลให้ถึงเรื่องการคิด การมองภาพรวม เหมือนทำให้วุฒิภาวะทางอารมณ์น้อยลง ตนว่ามหาวิทยาลัยยังขาดความคิดเกี่ยวกับเรื่องพวกนี้

2.เรามองข้ามเรื่องค่าใช้จ่ายที่เพิ่มมากขึ้น มันเป็นวงการธุรกิจการศึกษา ในเรื่องการสอบเข้า การกวดวิชา ผลประโยชน์ตกไปอยู่กับใคร เราได้ประโยชน์อะไรจากการที่เราใช้ระบบสอบแบบต่อเนื่องยาวนานแบบนี้ เราควรตั้งคำถามว่าเราได้อะไหม มันคุ้มค่ารึป่าวกับสิ่งที่เราสูญเสีย

3.ระบบ TCAS พยายามใช้กิจกรรม หรือวิธีการวัดผลครั้งนี้มากน้อยแค่ไหน คือ พยายามสอบเยอะมาก 22 – 25 วิชา ในขณะที่โลกไปถึงเรื่องของทักษะ ค่านิยม ประเทศไทยกับเน้นเรื่องของรายวิชา เรากำลังทำให้ภาวะเรื่องของการศึกษาที่มันควรจะดียิ่งขึ้น กับกลายเป็นการแข่งขัน ทำให้เห็นว่าคุณภาพชีวิตของเด็กไทยแย่ลง ทำให้เห็นว่า TCAS ไม่ได้มีส่วนในการเข้าไปปรับชีวตของเยาวชนมากอย่างที่ควร

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน