ขอย้ำอีกครั้ง ว่านี่ไม่ใช่เรื่องบังเอิญ! ฟังคำยืนยันจากปาก “จอห์น โวลันเธน หนึ่งในนักดำน้ำชาวอังกฤษ” เผยว่า เขาใช้ทักษะ ‘การดมกลิ่ม’ ภายในถ้ำ ที่มีความชื้นสูง และออกซิเจนต่ำ จนกระทั่งพบทั้ง13ชีวิต ในถ้ำหลวงจริงๆ!

หมูป่าอะคาเดมี – หลังจากปฏิบัติการช่วยเหลือทีมฟุตบอล หมูป่าอะคาเดมี ทั้ง 13 คน ผ่านพ้นไป จนสามารถนำทั้งหมดออกมาจากถ้ำหลวง ขุนน้ำ-นางนอน สำเร็จ ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการพักรักษาตัวที่โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ อ.เมืองเชียงราย จ.เชียงราย ซึ่งศาสตราจารย์ คลินิก เกียรติคุณ นายเเพทย์ ปิยะสกล สกลสัตยาทร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยว่า ทั้ง 13 คน มีสุขภาพร่างกาย และจิตใจที่แข็งแรง แต่ทางหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะติดตามผล และดูแลอย่างใกล้ชิดในระยะยาวต่อไป

ล่าสุด มีการเผยแพร่ วิดีโอสัมภาษณ์ฉบับเต็มของ “จอห์น โวลันเธน” ผ่านทางยูทูป ของ โจนาธาน เฮด ผู้สื่อข่าว BBC ซึ่งเขาบอกว่าที่พบทีมหมูป่า ทั้ง13ชีวิต เพราะเขาดมกลิ่นเจอ จะเห็นว่าการทำงานของเขาผ่านการวางแผนอย่างรอบคอบมาก และมีการทดลองช่วยเหลือเด็กในสระว่ายน้ำข้างนอกก่อนช่วยเด็กในถ้ำด้วย “ไม่ใช่โชคช่วย”

จอห์นกล่าวว่า ภาพจำลองการช่วยเหลือทีมหมูป่า จากถ้ำหลวง ในสื่อส่วนใหญ่ไม่ถูกต้อง เพราะในความจริงมีการใช้เทคนิคต่างๆ มากมายในแต่ละช่วงของการกู้ภัย ถ้าลงไปที่ต่ำมาก ต้องหนีบตัวเด็กไว้ข้างๆ ถ้าเป็นที่แคบๆ ต้องส่งเด็กเข้าไปก่อน จอห์นบอกว่ามีการฝึกกับเด็กในสระว่ายน้ำก่อน คือเอาเด็กแถวแม่สายไปสระน้ำ ใส่หน้ากากสกูบา และทดลองลงน้ำฝึกการช่วยเหลือ จะหนีบเด็กออกมาอย่างไร ต้องใช้เทคนิคอะไรบ้าง

จอห์น โวลันเธน หนึ่งในสองนักดำน้ำชาวอังกฤษ ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่กู้ภัยชุดแรก ที่พบเด็กๆ และโค้ชทีมฟุตบอลหมูป่าอะคาเดมี

เพื่อให้เห็นภาพ จอห์นบอกว่า เขา “หิ้ว” เด็กออกมา เหมือนกับหิ้ว “shopping bag” มีการทำ “หูหิ้ว” ไว้ข้างหลังเด็กที่ใส่หน้ากากออกซิเจน เด็กจะคว่ำหน้าลงน้ำเสมอ (เพื่อไม่ให้กระแทกกับเพดานถ้ำ) เพื่อไม่ให้น้ำเข้า เวลาเข้าที่แคบและลึกจะกอดเด็กไว้ที่หน้าอก ถ้าเป็นในที่กว้างและลึกจะหนีบไว้ข้างลำตัว โดยมีการผูกเชือกคล้องตัวเด็กไว้กับนักดำน้ำเสมอ เพื่อกันเด็กหาย

ตอนท้าย “จอห์น โวลันเธน” เขาแสดงความเสียใจกับการเสียชีวิตของจ่าเอกสมาน กุนัน และบอกว่าเมื่อกลับมาอังกฤษ ก็ต้องไปทำงานเลย ไม่มีวันพัก

บางคนอาจเห็นเป็นเรื่องตลกที่เขาบอกว่าดมกลิ่นเด็กจนเจอ แต่สำหรับนักดำน้ำในถ้ำ “cave divers” การฝึก “ทักษะ” อย่างอื่นนอกจาก “การมองเห็น” เป็นเรื่องสำคัญมากสำหรับการทำงานในสภาพที่ขุ่นมัว (เมื่ออยู่ในน้ำ) และสภาพที่มืดสนิท (pitch black) เมื่ออยู่ในที่โล่งของถ้ำ อันนี้อธิบายได้ว่าทำไม “cave divers” เหล่านี้จึงสามารถทำงานที่ #หน่วยซีล ทำไม่ได้

ที่สำคัญคือต้องมีการวางแผนอย่างรอบคอบ จอห์นถึงเคยให้สัมภาษณ์ว่า

“What we do is very calculating, very calm. It’s quite the opposite” of being a hero.”

ต้องวางเผน ต้องใจเย็น ไม่ใช่ทำเพราะอยากเป็นฮีโร่ รวมทั้งต้องมีการฝึกในสถานการณ์จำลองก่อน แบบที่เขาฝึกช่วยเหลือเด็กในสระว่ายน้ำ ก่อนจะลงไปช่วยเด็กในถ้ำจริง

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน