หลักฐาน! วัดไทรตีระฆัง ตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนปลาย ชนชั้นสูง เชื่อในพิธีกรรม

หลักฐาน! จากกรณี กระแสวิพากษ์วิจารณ์ผู้พักอาศัยในคอนโดย่านพระราม 3 ร้องเรียน วัดไทรตีระฆังกลายเป็นเสียงรบกวนเวลาพักผ่อนในตอนเช้า จนกลายเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวาง

โดยเว็บไซต์ วัดไทร ได้เปิดเผย ประวัติความเป็นมาว่า วัดไทรเป็นวัดราษฎร์ ตั้งอยู่เลขที่ 635 ซอยประดู่ 1 แขวงบางโคล่ เขตบางคอแหลม กรุงเทพมหานคร เนื้อที่ตั้งวัดประมาณ 12 ไร่เศษ เนื้อที่ตั้งวัดปัจจุบันมีถนนผ่านกลาง ริมถนนด้านทิศเหนือ เป็นที่ตั้งอาคารเรียนของโรงเรียนเทศบาลวัดไทร เนื้อที่ประมาณ 3 ไร่

วัดไทร ใครเป็นผู้สร้างและสร้างขึ้นในสมัยใด ไม่มีใครทราบ เพราะไม่มีหลักฐานการสร้างวัด มีแต่หลักฐานที่พอจะนำมาสันนิษฐานประกอบได้โดยดูจากองค์พระพุทธรูปที่มีอยู่ในวิหาร เป็นพุทธรูปประทับยืนปางห้ามญาติ จีวรเป็นดอกพิกุล หรือดูได้จากพระปรางค์หรือเจดีย์ สังเกตจากฝีมือช่างที่ทำการก่อสร้าง มาเปรียบเทียบจะใกล้เคียงกับช่างในสมัยอยุธยาตอนปลาย

ปัจจุบันพระปรางค์และเจดีย์ได้ชำรุด ปรักหักพังไปหมดแล้วเหลือแต่ฐานเป็นอิฐเสมอกับพื้นดิน เจดีย์บางองค์จะเขียนบอก ร.ศ.ไว้ ในปี ร.ศ.123 สร้างในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ วัดไทรได้รับพระราชทานวิสุงคาม เมื่อพ.ศ.2440 สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย

อ่าน มีเหตุผล! อ่านเลย-ทำไมพระต้องตีระฆังช่วงเข้าพรรษา แล้วหอระฆังทำไมต้องสร้างสูงๆ

อีกทั้ง Silapawattanatham – ศิลปวัฒนธรรม ได้อ้างอิงข้อมูลจาก หนังสือ “พุทธศาสนากับแนวคิดทางการเมืองในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก” โดย อาจารย์สายชล สัตยานุรักษ์ นักวิชาการด้านประวัติศาสตร์ ระบุตอนหนึ่ง ว่า ตามปกติแล้ว วัดที่มีจำนวนมากในอยุธยาเป็นสถานที่ซึ่งเปิดให้ชนชั้นสูงกับไพร่ได้สัมพันธ์กันอย่างมาก ทั้งจากการร่วมงานนักขัตฤกษ์ด้วยกัน มาตรฐาน ค่านิยม ความเชื่อของมูลนาย ต่างถูกปั้นหรือสลักเขียนในโบสถ์วิหาร

ความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคมในช่วงปลายอยุธยาส่งผลให้พุทธศาสนาแตกออกเป็นสองแนว คือพุทธศาสนาแบบมนุษยนิยม (เชื่อในปัญญาของมนุษย์ มองผลในชาตินี้สำคัญมากขึ้น และเห็นมนุษย์เสมอภาคกันมากขึ้น ) ในกลุ่มชนที่เริ่มมีลักษณะเป็นกระฎุมพี กับพุทธศาสนาแบบเน้นบุญฤทธิ์วิทยาคมซึ่งมีอิทธิพลสูงขึ้นเนื่องจากสภาพสังคมที่ปั่นป่วนจนคนต้องหันพึ่งพาอำนาจเหนือธรรมชาติมากขึ้น

แนวพุทธศาสนาแบบที่เน้นบุญฤทธิ์วิทยาคมมีอิทธิพลสูงในช่วงปลายอยุธยา และมีแนวโน้มมีอิทธิพลเหนือกลุ่มพุทธศาสนาแบบมนุษยนิยมด้วยซ้ำ ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากสภาพสังคมที่ปั่นป่วนอันเนื่องมาจากความเปลี่ยนแปลงหลายประการจากผลทั้งเรื่องการขยายตัวทางการค้า โครงสร้างชนชั้น และความขัดแย้งกันเองภายในชนชั้นมูลนาย และขัดแย้งระหว่างชนชั้นมูลนายกับไพร่

คนในสังคมไร้ที่พึ่ง จึงเริ่มหันเข้าหาศาสนาที่มีความเชื่อในอำนาจเหนือธรรมชาติและพิธีกรรมมากขึ้น สภาพการนับถือพุทธช่วงปลายอยุธยามีลักษณะเกี่ยวข้องกับพิธีกรรมมากทีเดียว (ทำบุญหรือให้ทานมีลักษณะเป็นพิธีกรรม)

พุทธศาสนิกชนทั้งชั้นผู้น้อย หรือแม้แต่ชนชั้นสูงที่เต็มไปด้วยความขัดแย้งก็ให้ความสำคัญกับพิธีกรรมมากขึ้น หันเข้าพึ่งอำนาจเหนือธรรมชาติช่วยดลให้เกิดผลที่ปรารถนา อิทธิพลของพุทธศาสนาแบบบุญฤทธิ์วิทยาคมมีสูงมาก

อ่านได้ที่

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน