อดีตครูฝึกตร.เปิดใจ เตือนรุ่นน้องคฝ.ปราบม็อบเกินกว่ากม. ระวังประชาชนเอาคืน นายคุ้มครองไม่ได้ ไม่อยากให้น้องๆ ถูกดำเนินคดี

เมื่อวันที่ 18 ส.ค.64 พ.ต.ท.ทรงศักดิ์ ธิติธารวัฒน์ อดีตรองผกก.ฝอ.บก.ภ.จว.พะเยา เปิดเผยถึงการปฎิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ควบคุมฝูงชนในการสลายชุมนุมว่า ในฐานะตำรวจเก่า อยากพูดถึงการปฎิบัติหน้าที่ของคฝ.ตอนนี้ว่ารุนแรงเกิดกว่าเหตุหรือไม่ ลชอยู่ที่ว่ามองกันคนละมิติ กล้องที่ถ่าย ถ่ายมาจากฝ่ายไหน ตนพยายามดูทุกมุม ชเป็นเรื่องธรรมดาเมื่อมีการปะทะกัน จะทำให้เกิดความรุนแรงได้ แล้วต้องดูด้วยว่าความรุนแรงนั้นเกิดจากมือที่ 3 หรือไม่ ปัญหาคือการควบคุมความรุนแรงให้ได้

พ.ต.ท.ทรงศักดิ์ เผยต่อว่า ถ้าเกิดสถานการณ์รุนแรงขึ้นมาจริงๆ เจ้าหน้าที่ต้องใช้มาตรการจากเบาไปหาหนัก แต่เจ้าหน้าที่เหมือนลัดขั้นตอน รัฐบาลไม่เคยเจรจากับกลุ่มผู้ชุมนุมเลย เพราะฝ่ายรัฐอาจจะมองว่าได้ประกาศให้ผู้ชุมนุมฟังแล้ว อย่างเช่นการประกาศว่า การชุมนุมนี้ผิดพ.ร.ก.ฉุกเฉิน การชุมนุมไม่ชอบด้วยกฎหมาย แต่การเจรจาจริงๆ ต้องมีทั้ง 2 ฝ่ายมานั่งคุยกัน คือฝ่ายผู้เรียกร้องและฝ่ายรัฐบาล เมื่อไม่มีการเจรจาจะเป็นการข้ามขั้นตอนไป

“อย่างรถฉีดน้ำแบบนี้ ยังไม่มีการดันกันเลย ระหว่างผู้ชุมนุมกับเจ้าหน้าที่ แต่ผู้ชุมนุมมาถึงระยะฉีด รถฉีดน้ำก็ฉีดน้ำไปแล้ว หรือมีกระสุนยางยิงไปก่อนก็มี โดยเฉพาะการชุมนุมเมื่อเร็วๆนี้ ยิงแก๊สน้ำตาจากที่สูง ซึ่งผิดหลัก ส่วนการจะยิงกระสุนยางจริงๆ ต้องมีหลัก 4 ข้อ คือ 1.เห็นชอบด้วยกฎหมาย 2.ผู้ที่จะผ่านการฝึก 3.ต้องก่อให้เกิดการประทุษร้ายต่อร่างกาย 4.จะยิงได้เฉพาะผู้ที่จะก่ออันตรายได้เท่านั้น จะยิงมั่วไม่ได้

“ผมอยากจะเตือนน้องคฝ.ที่ทำงานอยู่ว่า การปฎิบัติหน้าที่ของท่าน ถ้าไม่เป็นตามกรอบที่กฎหมายกำหนด แล้วทำให้เกิดความเสียหายทางร่างกาย ทรัพย์สินของผู้ชุมนุม ถึงแม้ตอนนี้จะมีพ.ร.ก.ฉุกเฉินคุ้มครองอยู่ แต่คดีทางแพ่งหนีไม่พ้น ถ้าผู้ได้รับความเสียหายจะฟ้องร้อง แล้วเจ้าหน้าที่คฝ.ส่วนใหญ่อายุไม่เกิน 45 ปี แน่นอนตอนนี้พวกคุณยังมีอายุราชการอีกนาน แต่นายที่สั่งก็จะเกษียณแล้ว อาจคุ้มครองเราไม่ได้ ถึงเวลานั้นอาจมีการเช็กบิลย้อนหลัง ระวังประชาชนจะเอาคืนและฟ้องร้อง ถ้าหากพวกคุณทำเกินกว่าที่กฎหมายให้อำนาจ อาจจะถูกดำเนินคดี ซึ่งผมไม่อยากให้น้องถูกดำเนินคดี “ พ.ต.ท.ทรงศักดิ์กล่าวปิดท้าย

 

 

 

 

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน