กกท. ปี’62 ผลงานอื้อ – เดินหน้าพัฒนากีฬาไทยต่อเนื่อง

กกท. – เมื่อวันที่ 6 ม.ค. ที่โรงแรมโอเอซิส ดร.ก้องศักด ยอดมณี ผู้ว่าการการกีฬาแห่งประเทศไทย (กกท.) แถลงผลการดำเนินงานในปี 2562 โดยมี นายณัฐวุฒิ เรืองเวส รองผู้ว่าการฝ่ายกีฬาอาชีพและสิทธิประโยชน์ นายวิษณุ ไล่ชะพิษ รองผู้ว่าการฝ่ายบริหาร คณะผู้บริหาร กกท. และสื่อมวลชนทุกสาขา เข้าร่วม

ดร.ก้องศักด กล่าวว่า กกท. มีวิสัยทัศน์ในการพัฒนากีฬาเพื่อความเป็นเลิศสู่ระดับนานาชาติ ต่อยอดสู่ระดับอาชีพและสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจให้กับประเทศ ซึ่งในปี 2562 ที่ผ่านมา ได้ดำเนินการ ใน 2 หัวข้อหลัก ได้แก่ 1. การดำเนินงานตามยุทศาสตร์ กกท. ประกอบด้วย 1.1 การพัฒนากีฬาเพื่อความเป็นเลิศ อาทิ การเตรียมนักกีฬาเข้าแข่งขันมหกรรมต่างๆ ทั้งใน และต่างประเทศ เช่น ซีเกมส์, เอเชี่ยนพาราเกมส์, ยูธโอลิมปิกเกมส์, กีฬาแห่งชาติ “เจียงฮายเกมส์”, กีฬาคนพิการแห่งชาติ “น้ำกกเกมส์”, กีฬาเยาวชนแห่งชาติ “บุรีรัมย์เกมส์”, กีฬาอาวุโสแห่งชาติ “รมย์บุรีเกมส์” เป็นต้น

1.2 การบริหารจัดการกีฬาเพื่อการอาชีพ มีการจัดการแข่งขันทั้งหมด 13 ชนิดกีฬา 42 รายการ ซึ่งสามารถสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจกีฬาชีพได้มากถึง 20,000 ล้านบาท

1.3 การบริหารจัดการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา ยกระดับมาตรฐานศูนย์วิทยาศาสตร์การกีฬาทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาค จำนวนทั้งหมด 25 ศูนย์ และกำลังก่อสร้างเพิ่มขึ้นอีก 12 ศูนย์ รวมทั้งหมด 37 ศูนย์

1.4 การบริหารจัดการองค์กรและการบริการทางการกีฬา ซึ่ง กกท. มีการพัฒนาการบริหารจัดการองค์กรให้สามารถดำเนินงานให้บรรลุวิสัยทัศน์อย่างมีประสิทธิภาพ โดยนำเกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติ มาปรับใช้กับการบริหารจัดการองค์กร ให้สอดคล้องกับเกณฑ์การประเมินผลการดำเนินงานรัฐวิสาหกิจ นอกจากนี้ ยังมีการจัดกิจกรรม CSR ในปี 2562 ทั้งหมด 13 กิจกรรม รวมถึงจัดตั้งศูนย์สำหรับการออกกำลังกายทั้งหมด 28 ศูนย์ ทั่วประเทศไทย ซึ่งมีจำนวนผู้ใช้บริการรวมทั้งสิ้นประมาณ 16.9 ล้านคน เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมา 10 % (จากจำนวน 15.4 ล้านคนในปี 2561)

1.5 การส่งเสริมและสนับสนุนอุตสาหกรรมการกีฬา ซึ่ง กกท. มีเป้าหมายมูลค่าทางเศรษฐกิจจากอุตสาหกรรมกีฬาไม่น้อยกว่า 25,700 ล้านบาท อาทิ การจัดการแข่งขัน โมโต จีพี ไทยแลนด์กรังด์ปรีซ์ ซึ่งในปี 2561 ได้สร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจจากอุตสาหกรรมกีฬา 3,053.64 ล้านบาท และปี 2562 มีเป้าหมายในการสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจจากอุตสาหกรรมกีฬา 3,500 ล้านบาท เพิ่มขึ้นถึง 14.6%

2. การดำเนินการโครงการพิเศษเพื่อยกระดับการพัฒนากีฬาของชาติ ประกอบด้วย การยกระดับการให้บริการของ กกท. เพื่อจัดทำโครงการระดมทุนด้านกีฬาในเชิงพาณิชย์และสังคม, การยกระดับการบริการทางการแพทย์ ศูนย์วิทยาศาสตร์การกีฬาของ กกท., การพัฒนาข้อมูลดิจิทัลด้านการกีฬา, จัดกิจกรรม SPORTS ENTERTAINMENT ในการแข่งขันกีฬาแห่งชาติ และกีฬาเยาวชนแห่งชาติ,

โครงการการจัดตั้งเมืองกีฬา (SPORTS CITY) โดยในปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 ได้จัดตั้งเมืองกีฬา 10 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพมหานคร, จันทบุรี, เชียงราย, อุบลราชธานี, นครราชสีมา, พัทลุง, ตรัง, สงขลา, ยะลา และภูเก็ต ซึ่งในปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 จัดตั้งเมืองกีฬาได้สำเร็จ 6 จังหวัด ได้แก่ ชลบุรี, สุพรรณบุรี, บุรีรัมย์, อุดรธานี, ศรีสะเกษ และกระบี่

โครงการสนับสนุน ส่งเสริมกีฬาเอกลักษณ์ไทย – ส่งเสริมกิจกรรมกีฬา 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้, ยกระดับหน่วยงานด้านกฎหมายของ กกท. (SPORTS LAW) และสลากส่งเสริมคนรักกีฬา เพื่อการจัดหาเงินทุนหมุนเวียนในการส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนากีฬาของชาติ นอกเหนือระเบียบการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ

นอกจากนี้ เรายังมีรายการแข่งขันระดับนานาชาติที่ต้องเตรียมนักกีฬาเพื่อเข้าแข่งขันอย่างกีฬาอาเซียน พาราเกมส์ ครั้งที่ 10 ที่ฟิลิปปินส์ ที่เลื่อนการจัดการแข่งขันเป็น 20-28 มีนาคม และมีอีก 2 รายการใหญ่ที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขัน ฟุตบอลชิงแชมป์เอเชีย รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี รอบสุดท้ายปี 2020 ระหว่างวันที่ 8 – 26 มกราคม และการจัดการแข่งขันกีฬาคนพิการทางการเคลื่อนไหวชิงแชมป์โลก (ไอวาสเกมส์ 2020) ระหว่างวันที่ 20 – 28 กุมภาพันธ์ ที่จะถึงนี้ ณ จังหวัดนครราชสีมา

ส่วนในเดือนสิงหาคมเป็นรายการใหญ่การแข่งขันกีฬาโอลิมปิกเกมส์ 2020 ณ กรุงโตเกียว ซึ่งมีนักกีฬาได้โควต้าไปแข่งขันแล้ว 13 คน และยังมีลุ้นเพิ่มเติมอีก ซึ่งรายการต่างๆเหล่านี้ เป็นตัวบอกถึงเป้าหมายแห่งความสำเร็จที่ชัดเจนทั้งด้านกีฬาเพื่อความเป็นเลิศและการเป็นเจ้าภาพกีฬาในระดับอาเซียน ซึ่ง ทาง กกท. ต้องทำงานร่วมกับสมาคมกีฬา และโอลิมปิคไทย เพื่อเตรียมนักกีฬาให้มีโอกาสสูงสุดในการเข้าแข่งขันและประสบความสำเร็จให้ได้มากที่สุด

อ่านข่าว – เบอร์1ของโลก!ลิเวอร์พูล เฉือนต่อเวลาพิเศษ ซิวแชมป์สโมสรโลก

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน