โควิด: นักวิทย์ฝรั่งเศสทดลอง – วันที่ 14 เม.ย. เซาท์ไชน่ามอร์นิ่งโพสต์ รายงานว่า คณะนักวิจัยของมหาวิทยาลัยเอ็กซ์-มาร์แซย์ ของฝรั่งเศส เผยแพร่ผลการวิจัยสภาพแวดล้อมการทนความร้อนของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 ว่า ไวรัสดังกล่าวที่ก่อโรคโควิด-19 ยังหลงเหลือความสามารถแบ่งตัวเพื่อแพร่เชื้อระลอกใหม่ได้ หลังใช้ความร้อนสูง 60 องศาเซลเซียส 1 ชั่วโมงแล้วก็ตาม

ผลการวิจัยที่เผยแพร่ผ่านเว็บไซต์ไบโออาร์ซิฟเมื่อ 12 เม.ย. ว่า คณะนักวิจัยฉีดไวรัสที่ยังมีชีวิตที่ได้จากผู้ป่วยคนหนึ่งในกรุงเบอร์ลิน เยอรมนี ใส่เซลล์ไตของลิงแอฟริกัน ซึ่งเป็นสัตว์ทดลองตามมาตรฐานสำหรับการทดลองไวรัสที่มีชีวิต จากนั้น นำเซลล์ดังกล่าวที่ติดเชื้อไวรัสใส่หลอดทดลอง 2 หลอด ที่จำลองสภาพแวดล้อมจริง 2 แบบ ได้แก่ แบบสะอาด และแบบสกปรก เช่น ในช่องปากของมนุษย์

หลังผ่านการให้ความร้อนที่อุณหภูมิ 60 องศาเซลเซียส 1 ชั่วโมง เชื้อไวรัสในหลอดทดลองแบบสะอาดถูกกำจัดหมด ส่วนในหลอดทดลองแบบสกปรก เชื้อไวรัสยังมีชีวิต และสามารถเริ่มการแพร่เชื้อใหม่ได้ แม้ว่าฤทธิ์ของเชื้อจะลดลงอย่างสิ้นเชิงก็ตาม

ศาสตราจารย์เรมี ชาเรล หัวหน้าคณะนักวิจัย ระบุว่า ผลการวิจัยนี้เป็นการเตือนอันตรายของไวรัสต่อนักวิจัยที่ทำงานวิจัย หรือบุคลากรการแพทย์ ที่ทำงานที่เกี่ยวข้องกับไวรัส SARS-CoV-2 ที่ควรสวมชุดป้องกันอันตรายส่วนบุคคลเต็มรูปแบบทุกครั้งเมื่อทำงาน และเมื่อเสร็จสิ้นการวิจัยแต่ละขั้นตอน ต้องกำจัดเชื้ออย่างถูกต้องทั้งหมดก่อนเริ่มขั้นตอนต่อไป

ทั้งนี้ การให้ความร้อนที่อุณหภูมิ 60 องศาเซลเซียส 1 ชั่วโมง เป็นระเบียบวิธีการมาตรฐานในห้องปฏิบัติการที่สามารถยับยั้งไวรัสอันตรายได้หลายชนิด รวมถึงไวรัสอีโบลา แต่ไม่ได้ผลกับไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ ทำให้คณะนักวิจัยต้องเพิ่มความร้อนที่อุณหภูมิเป็น 92 องศาเซลเซียส หรือใกล้จุดเดือดของน้ำ ระยะเวลา 15 นาที จึงฆ่าไวรัสทั้งหมด

ข่าวที่เกี่ยวข้อง:

โควิด: ไวรัสกลายพันธุ์ 3 แบบ หวังเอาชนะระบบภูมิคุ้มกันมนุษย์

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน