พระพุทธรูปปางลีลา .กำแพงเพชร

คอลัมน์ – คติ-สัญลักษณ์ สถาปัตยกรรม

คติ-สัญลักษณ์ สถาปัตยกรรม – พระพุทธรูปปางลีลา วัดพระสี่อิริยาบถ .กำแพงเพชร หรือวัดพระยืนที่สร้างขึ้นราวพุทธศตวรรษที่ 20-22 เจดีย์ประธานของวัดมีลักษณะเป็นวิหารจัตุรมุข แต่ละด้านของวิหารประดิษฐานพระพุทธรูปปูนปั้นขนาดใหญ่

ทิศตะวันออกของพระพุทธรูปในอิริยาบถปางลีลา ทิศตะวันตกพระพุทธรูปประทับยืน ทิศเหนือพระพุทธรูปประทับนอน และทิศใต้พระพุทธรูปประทับนั่ง

คติของพระพุทธรูปปางลีลาของพระวิหารวัดนี้แตกต่างจากพระพุทธรูปปางลีลาที่พุทธมณฑล .นครปฐม ที่เป็นสัญลักษณ์ของการเจริญรุ่งเรืองของพุทธศาสนา และแสดงออกถึงความงดงามของสัญลักษณ์ของมหาบุรุษ

พระพุทธรูปปางลีลาของวัดสี่อิริยาบถนี้เป็นคติและสัญลักษณ์ร่วมกันของพระพุทธรูปปูนปั้นรอบพระวิหารที่หมายถึงคติธรรมของการปฏิบัติธรรมที่เรียกว่า มหาสติปัฏฐาน 4 ก็คือ

การตั้งสติ กำหนดพิจารณาสิ่งทั้งหลายในความเห็นตามความเป็นจริง ตามที่สิ่งนั้นมันเป็นของ มัน เป็นการตั้งสติพิจารณากายให้รู้เห็นตามความเป็นจริงว่าเป็นเพียงแต่งกาย ไม่ใช่สัตว์ไม่ใช่บุคคลตัวตน

วิธีปฏิบัติก็คือการรู้อิริยาบถทั้งสี่ ได้แก่ ยืน เดิน นอน นั่ง ว่าเป็นเพียงรูปที่ปรากฏและต้องมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา

เพื่อให้เข้าใจว่าสิ่งที่ปรากฏนั้น เป็นเพียงความรู้สึก หรือความระลึกได้

เมื่อรู้เช่นนั้นแล้ว ก็จะเกิดความเข้าใจแจ้งชัดว่า

ตัณหา และอุปาทาน” (ความยึดมั่น ถือมั่น ว่าเป็นตัวตน) “ก็ย่อมอาศัยมิได้ก็คือ มันเป็นเช่นนี้เอง

ซึ่งก็คือการปฏิบัติเพื่อการพ้นไปจากทุกข์โดยสิ้นเชิง อันเป็นสุดทางแห่งอุดมคติของการนับถือพุทธศาสนา

โดยชวพงศ์ ชำนิประศาสน์

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน